ต่างประเทศ

นักวิทย์อังกฤษศึกษาท่าทางทารก อาจบ่งบอกเป็นออทิสติก – ชีวิตบั้นปลายจะเป็นอย่างไร

โดย nattachat_c

11 ก.ค. 2567

69 views

นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัย ซัสเซกส์ ในอังกฤษ กำลังพยายามเลียนแบบการดิ้นอันซับซ้อนของเด็กทารก เพื่อศึกษาการทำงานของระบบประสาทของทารก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การค้นพบว่า เด็กทารกคนนั้นมีการเติบโตของระบบประสาทอย่างไร ซึ่งอาจจะบ่งบอกได้ว่า เด็กทารกเหล่านั้นมีอาการผิดปกติ เช่น ออทิสติก 

การทดลองนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวของทารกซับซ้อนเพียงใด ซึ่งกล้องจะตรวจจับ และบันทึกท่าทางของเด็ก ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็จะคัดลอกการเคลื่อนไหวของแขนและขาที่บิดตัวของทารก ที่เห็นบนหน้าจอ

การศึกษานี้มีชื่อว่า 'เบบี้ โกรว์' โดยเปรียบเทียบการเคลื่อนไหว เช่น การดิ้น การนั่ง และการคลาน กับทักษะทางสังคม และการสื่อสารของทารก ในช่วง 18 เดือน แรกของพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของทารก จากวิดีโอ และการเคลื่อนไหวในเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ใน 'ชุดอัจฉริยะ' ของทารกที่กำลังเติบโต ซึ่งจะสวมใส่ไว้ให้กับทารกที่เข้าร่วมโครงการ

ไอวอร์ ซิมป์สัน อาจารย์อาวุโส ของมหาวิทยาลัย ซัสเซ็กซ์ กล่าวว่า การทดลองนี้ทำเพื่อ ทำความเข้าใจว่าทารกเคลื่อนไหวอย่างไร ทำความเข้าใจรูปแบบการเคลื่อนไหวของทารก ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท เช่น ออทิสติกได้อย่างไรด้วย

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทราบถึงว่า การเคลื่อนไหวของทารกแบบใด สามารถบ่งบอกถึงการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาท ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้  

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเคลื่อนไหวในช่วงแรกของพัฒนาการของเด็กนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยสมัครใจ แต่เป็นการสะท้อนกลับ โดยทารกจะทดสอบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อของตนเอง โดยใช้การเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน ทำให้พวกเขาเริ่มสำรวจโลกทางสังคม และกายภาพรอบตัว ได้

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การเฝ้าสังเกตทารกในช่วงดังกล่าว อาจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินว่า ชีวิตบั้นปลายของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

----------------

คุณอาจสนใจ

Related News