ต่างประเทศ
จีนเผยผลการสำรวจ คนทั่วโลก 70% มองประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ 'ป่วย'
โดย nattachat_c
18 มี.ค. 2567
90 views
ซีจีทีเอ็น บริษัทสื่อรายใหญ่ของจีน (China Global Television Network (CGTN) ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เรนมิน ยูนิเวอร์ซิตี้ เปิดผยผลการสำรวจทั่วโลก พบว่า 71.1% เชื่อว่า ระบบการเมืองสหรัฐฯ ขัดกับ 'แกนหลักที่แท้จริง' ของคำว่าประชาธิปไตย และอีก 70.4% มองว่า "ประชาธิปไตยแบบอเมริกันเป็นประชาธิปไตยที่ป่วย"
รายงาน ระบุว่า ในขณะที่สหรัฐฯ ยกย่องตนเองมาอย่างยาวนานว่าเป็น "นักศึกษาเกรดเอ " ในเรื่องประชาธิปไตย แต่จากการสำรวจ กลับพบว่า 'ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน' นั้น กำลังลดคุณค่าลงจนกลายเป็นเพียงเครื่องมือของ 'เงิน' เท่านั้น โดยสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่าตัวเองเป็น 'แสงสว่างแห่งประชาธิปไตย' นั้น กลับฉายแสงแห่งประชาธิปไตยให้กับกลุ่มคนร่ำรวย ที่มีอยู่จำนวนน้อยนิดเท่านั้น
โดยในการสำรวจ พบว่า ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 80% เห็นว่า ระบบการเลือกตั้งแบบ 'หนึ่งคน หนึ่งเสียง' นั้นเป็นคุณลักษณะสำคัญของ 'ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน' แต่ทว่า 72.5% พบว่า ความต้องการของประชาชนจะเป็นที่จดจำเฉพาะในช่วงหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่หลังจากการเลือกตั้ง นักการเมืองก็ลืมไปเสียหมดสิ้น
ผู้ตอบแบบสอบถาม 74.5% คนเชื่อว่า 'ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน' มีแนวโน้มที่จะรับใช้คนรวยเพียงไม่กี่คนมากกว่าประชาชนทั่วไป และอีก 68 % มองว่า 'ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน' เป็นเกมของเหล่าผู้ชายที่ร่ำรวยด้วย 'ทุน'
---------------
ในความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตยคือ
1. การรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิต (40.7%)
2. การรับประกันความเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน (29.3%)
3. การพัฒนาเศรษฐกิจ (29%)
4. ปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ (28.4%)
5. การรักษาเสถียรภาพทางสังคม และความสงบเรียบร้อยทางสังคม (25.6%)
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก 88.3% เชื่อว่า ประชาธิปไตยควรสะท้อนเจตจำนงของประชาชน รับใช้ประชาชน และควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประชาชน
และ 81.5% ชี้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยควรครอบคลุมทุกด้านของชีวิตประชาชน และ กิจการสาธารณะทั้งหมดสามารถแก้ไขได้ด้วยวิถีประชาธิปไตย
-------------
แท็กที่เกี่ยวข้อง จีน ,เรียกร้องประชาธิปไตย ,เจตจำนงประชาชน ,ประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ ,มหาวิทยาลัย เรนมิน ยูนิเวอร์ซิตี้ ,ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ,การรักษาเสถียรภาพทางสังคม ,ความสงบเรียบร้อยทางสังคม ,มาตรฐานการครองชีพ ,การพัฒนาเศรษฐกิจ ,การรับประกันความเท่าเทียมกัน ,การรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิต ,การเมืองสหรัฐ