ต่างประเทศ

นักวิจัยกัมพูชา แกะรอยต้นตอโควิด-19 ในค้างคาว

โดย thichaphat_d

20 ก.ย. 2564

87 views

ทีมนักวิจัยของกัมพูชา กำลังเก็บรวบรวมตัวอย่าง จากค้างคาวในพื้นที่ตอนเหนือของกัมพูชา เพื่อทำความเข้าใจ กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยกลับไปยังพื้นที่ที่พบเชื้อไวรัส ที่คล้ายคลึงกันในสัตว์ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว


โดย 2 ตัวอย่างจากค้างคาวเกือกม้าที่เก็บมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในจังหวัด สตึง แตรง (Stung Treng) ใกล้กับพรมแดน สปป. ลาว และเก็บไว้ในตู้แช่แข็ง ที่สถาบัน ปาสเตอร์แห่งกัมพูชา (Institut Pasteur du Cambodge) หรือ IPC ในกรุงพนมเปญ


จากผลการทดลองที่เสร็จสิ้นไปเมื่อปีที่แล้ว พบว่าเชื้อตัวอย่างดังกล่าว มีความเชื่อมโยงกับเชื้อโควิด-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปทั่วโลก กว่า 4.6 ล้านคน


ทีมนักวิจัย IPC ซึ่งมีสมาชิก 8 คน ได้เก็บตัวอย่างจาก ค้างคาว และบันทึกสายพันธุ์, เพศ, อายุ, รายละเอียดอื่นๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งเหมือนกับการวิจัย ที่กำลังจัดทำอยู่ที่ฟิลิปปินส์ ในขณะนี้


ผู้ประสานงานภาคสนามของการวิจัย เผยว่า เราหวังว่า ผลจากการศึกษา จะช่วยให้โลก เข้าใจเชื้อโควิด-19 มากขึ้น


สายพันธุ์ของสัตว์ที่เชื้อไวรัสใช้อาศัย เช่น ค้างคาว มักไม่แสดงอาการจากการติดเชื้อ แต่จะเป็นอันตราย ถ้าแพร่กระจายเชื้อสู่มนุษย์ หรือ สัตว์อื่นๆ


หัวหน้าทีมของนักไวรัสวิทยาของ IPC เผยว่า ทางสถาบันได้ลงพื้นที่ 4 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อหวังว่าจะหาเบาะแสต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในค้างคาว


ทั้งนี้ มีไวรัสร้ายแรงที่ต้นกำเนิดมาจากค้างคาวหลายตัว ซึ่งรวมถึง เชื้ออีโบลา และโคโรน่าไวรัส ตัวอื่นๆอีก เช่น ซาร์ส(SARS) และเมอร์ส (MERS) เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมของนักไวรัสวิทยาของ IPC ยังย้ำด้วยว่า มนุษย์ก็มีส่วนรับผิดชอบของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 เนื่องจากเข้าไปแทรกแซง หรือ ทำลายถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์

คุณอาจสนใจ

Related News