ภัยเงียบ ‘ความดันสูง’ หากไม่รักษา ไม่กินยาสม่ำเสมอ เสี่ยงอัลไซเมอร์เพิ่ม 42%

สำนักข่าว CNN ได้อ้างอิงข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งระบุว่า 46% ของผู้ใหญ่ 1.28 พันล้านคนทั่วโลก มีความดันโลหิตสูงโดนไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคนี้

ซึ่งการวิเคราะห์แบบ meta analysis พบว่า ผู้ที่ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้ทำการรักษา หรือทานยา อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างมากในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ การวิเคราะห์ล่าสุด พบว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง

ส่วนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 42%เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง

ดร.แมทธิว เลนนอน (Dr. Matthew Lennon) ผู้เขียนอาวุโส นักวิจัยจากศูนย์สมองสุขภาพดี University of New South Wales กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าคุณจะมีอายุ 70 ปี หรือ 80 ปี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากได้รับการรักษาความดันโลหิตสูง

ดร.แมทธิว กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ได้รับยา ยังมีความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม (ที่ไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์) ประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้นถึง 69% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง ในขณะที่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 33%

อย่างไรก็ตาม หากควบคุมความดันโลหิตด้วยยา ก็ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมที่ไม่ใช่อัลไซเมอร์ เช่น โรคหลอดเลือด หลอดเลือดส่วนหน้า

น่าเสียดายที่คนจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถรับประทานยาเป็นประจำ หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาได้ ซึ่งตามข้อมูลของ WHO ระบุว่า มีผู้ใหญ่เพียงประมาณ 1 ใน 5 เท่านั้น ที่มีอาการอยู่ภายใต้การควบคุม

ดร.แอนดรูว์ ฟรีแมน (Dr.Andrew Freeman) ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและสุขภาพที่ National Jewish Health ในเดนเวอร์ กล่าวว่า สถิติความดันโลหิตนั้นน่ากลัว

โดยเฉลี่ยทุก ๆ 20 คะแนน ที่มีคนมีค่าซิสโตลิก (ค่าความดันโลหิตตัวบน) เกิน 120 (ค่าความดันโลหิตสูงสุดที่อ่านได้) จะความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นสองเท่า มันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีศักยภาพสูงที่คนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจ หรือจัดการอย่างเหมาะสมเพียงพอ

และ หากผู้คนคิดว่าความดันโลหิตสูงจะผลกระทบแค่หัวใจ เป็นความคิดที่ผิด เพราะว่าความดันสูงยังส่งผลต่อร่างกายอีกหลายประการ

โดย ดร.แอนดรูว์ กล่าวว่า หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ร่างกายของคุณจะได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย รวมถึงในสมอง และรอบนอกด้วย

ดร. ริชาร์ด ไอแซคสัน นักประสาทวิทยาเชิงป้องกัน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของสถาบันเพื่อการเสื่อมของระบบประสาท ในรัฐฟลอริดา กล่าวว่า ในความเป็นจริง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นมากสำหรับโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะสมองเสื่อมโดยรวม รวมไปถึงโรคหัวใจ

ดร. ริชาร์ด กล่าวอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับหลอดเลือดที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ แต่จะช่วยเร่งพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ และเพิ่มความเสี่ยง

ทั้งนี้ การวิเคราะห์แบบ meta analysis ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันพุธ ในวารสาร Neurology ได้วิเคราะห์ข้อมูล 4 ปี ของคนมากกว่า 31,000 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 72 ปี จาก 14 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี ไนจีเรีย และ สาธารณรัฐคองโก สเปน สวีเดน และสหรัฐอเมริกา

การศึกษาไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างเพศ หรือกลุ่มเชื้อชาติในการควบคุมความดันโลหิต และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับโรคอัลไซเมอร์

ดร.ริชาร์ด กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้างต้น ถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะทำให้การดูแลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกลุ่มหนึ่งจะคล้ายคลึงกับกลุ่มอื่น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บป่วยเรื้อรังในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งแม้ว่าผู้คนในประเทศนั้นจะมีความเจ็บป่วยเรื้อรังน้อยที่สุด แต่…ก็เป็นที่ที่ผู้ป่วยสมองเสื่อมรายใหม่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในทศวรรษต่อ ๆ ไป

ดร.ริชาร์ด กล่าวเพิ่มว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงสูงต่อ ‘ภาวะสมองเสื่อมจากหลอดเลือด’ ถึง 110% ซึ่งเป็นรูปแบบของโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงสูงกว่า 71% เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับการรักษาความดันโลหิตสูง แต่เนื่องจากขนาดตัวอย่างที่เล็ก ผลลัพธ์เหล่านั้น จึงไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อการศึกษาได้รับการปรับให้เข้ากับปัจจัยที่ทำให้เกิดการวิเคราะห์ที่อาจเปลี่ยนไปได้

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมายที่แสดงให้เห็นว่า ความดันโลหิตสูงทำลายหลอดเลือดขนาดเล็ก และลดการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง  ซึ่งเป็นไปได้ว่า การวิเคราะห์แบบ meta analysis นี้ อาจไม่ได้ติดตามผู้คนนานพอที่จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์

ดร.ริชาร์ด ยังได้กล่าวอีกว่า การวิเคราะห์แบบ meta analysis แสดงให้เห็นความสัมพันธ์รูปตัวยูระหว่างโรคอัลไซเมอร์และความดันโลหิตสูงซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ ซึ่งทำให้การรักษาภาวะนี้เป็นเรื่องยากสำหรับทุกคน

โดย nattachat_c

23 ส.ค. 2567

363 views

EP อื่นๆ