28 พ.ย. 2567
เปิดประวัติ 'กมลา แฮร์ริส' หญิงผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีคนใหม่ หลัง 'โจ ไบเดน' ถอนตัว
เปิดประวัติ 'กมลา แฮร์ริส' หลัง ‘โจ ไบเดน’ ถอนตัว เสนอชื่อขึ้นเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
หลังจากประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ แห่งสหรัฐอเมริกา ยืนกรานมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ว่า จะสู้ต่อและเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัย ในที่สุดเขาก็ต้องถอนตัวจากการชิงตำแหน่งดังกล่าว ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ โควิด-19 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พร้อมเสนอชื่อรองประธานาธิบดี ‘กมลา แฮร์ริส’ ขึ้นมาเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งแทน
'กมลา แฮร์ริส' เป็นใคร?
‘กมลา แฮร์ริส’ (Kamala Harris) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้หญิงผิวสีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย เธอถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในดาวรุ่งของพรรคเดโมแครต โดยขึ้นสู่อำนาจหลังจากได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ของรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2017 ก่อนที่จะมุ่งเป้าไปที่การเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2020 แต่การดีเบตนโยบายของเธอครั้งนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะเอาชนะและช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ แต่ ‘ไบเดน’ ก็เป็นผู้ที่ทำให้หญิงวัย 59 ปีผู้นี้กลับมาเป็นที่รู้จักในระดับประเทศอีกครั้ง ด้วยการลงสมัครเป็นรองประธานาธิบดีพรรคเดโมแครตในการแข่งขันครั้งเดียวกัน
หลังจากที่ไบเดนและแฮร์ริสชนะการเลือกตั้ง เธอได้มุ่งเน้นไปที่โครงการสำคัญหลายประการและมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของรัฐบาลไบเดน รวมถึงการเปิดตัวทัวร์ "Fight for Reproductive Freedoms" ทั่วประเทศ การเน้นย้ำถึงอันตรายและผลกระทบจากการห้ามทำแท้ง และเรียกร้องให้รัฐสภาฟื้นฟูกฎหมาย Roe v Wade อีกครั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิที่สามารถทำแท้งได้เหมือนกันทั่วประเทศ
'แฮร์ริส' เกิดเมื่อวัน 20 ตุลาคมปี 1964 ที่เมืองโอ็กแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรของนายดอนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชาวอเมริกันเชื้อสายจาเมกา กับนางชยามาลา โกปาลัน นักชีวการแพทย์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
ในฐานะบุตรสาวของผู้อพยพ เธอเติบโตมาท่ามกลางชุมชนที่หลากหลายและครอบครัวที่อบอุ่น เธอและมายา น้องสาว ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้เป็นแม่ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านมะเร็งเต้านม ที่ย้ายจากอินเดียมาสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 19 ปี และได้รับปริญญาเอกในปีเดียวกับที่ “กมลา แฮร์ริส” เกิด พ่อแม่ของเธอต่างก็มีบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง และ ปลูกฝังให้เธอต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของทุกคน เมื่อเธออายุได้ห้าขวบ พ่อแม่ของเธอหย่าร้างกัน หลังจากนั้นเธอก็ถูกเลี้ยงดูโดยแม่มาตลอด
กมลาเล่าว่า แม่ของเธอทำให้เธอและน้องสาว มายา ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนคนผิวดำในโอ๊กแลนด์อย่างเต็มที่
"แม่ของฉันเข้าใจดีว่าเธอกำลังเลี้ยงดูเด็กหญิงผิวดำสองคน" เธอเขียนในอัตชีวประวัติของเธอชื่อ 'The Truths We Hold' (แปลเป็นภาษาไทยว่า "ความจริงที่เรายึดถือ") เธอบอกต่อว่า "เธอรู้ว่าประเทศที่เป็นบ้านหลังใหม่จะมองมายาและฉันว่าเป็นเด็กหญิงผิวดำ และเธอตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำให้แน่ใจว่าเราจะเติบโตเป็นผู้หญิงผิวดำที่มั่นใจและภูมิใจในตัวเอง"
แฮร์ริส สำเร็จการศึกษาจากจาก Howard University ที่นั่นเธอได้มีส่วนร่วมในประเด็นทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้และความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา และ จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ฮาสติงส์ (University of California, Hastings) เธอทำงานในสำนักงานอัยการเขตหลายแห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นอัยการสูงสุดของรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2010 และ ได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2016
'กมลา' ทำอะไรบ้างในฐานะรองประธานาธิบดี?
ในฐานะรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เธอยังดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาสหรัฐฯ และมีสิทธิลงคะแนนชี้ขาดเมื่อการลงคะแนนเสียงในร่างกฎหมายเสมอกัน เธอได้สร้างสถิติด้วยการใช้สิทธินี้ถึง 32 ครั้ง มากกว่ารองประธานาธิบดีคนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
โจ ไบเดนได้กล่าวถึงบทบาทของเธอในฐานะรองประธานาธิบดีว่า: "กมลาจะเป็นเสียงสุดท้ายในห้อง ท้าทายสมมติฐาน และถามคำถามที่ยาก"
เธอมีชื่อเสียงมากขึ้นจากการเดินทางไปทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา เพื่อผลักดันปกป้องการทำแท้งและสิทธิสำหรับผู้หญิงต่างๆ หลังจากที่ศาลสูงสุดได้ยกเลิกคำพิพากษาคดี Roe v Wade
อย่างไรก็ตาม คะแนนความนิยมของเธอในฐานะรองประธานาธิบดีนั้นต่ำตลอดระยะเวลาที่เธอดำรงตำแหน่ง โดยเฉลี่ยมีคนอเมริกันถึง 51% ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของเธอ และมีเพียง 37% เท่านั้นที่เห็นด้วย ตามการสำรวจความคิดเห็นของ FiveThirtyEight โดยสาเหตุที่เป็นไปได้อาจมาจากภารกิจหลักที่ประธานาธิบดีไบเดนมอบหมายให้เธอในฐานะรองประธานาธิบดีคือ การลดการอพยพข้ามพรมแดนทางใต้ของสหรัฐฯ และส่วนใหญ่เธอล้มเหลวในการแก้ปัญหานี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อไบเดนลงจากผู้ท้าชิง และประกาศสนับสนุน ‘กมลา แฮร์ริส’ กระแสโจมตีแฮร์ริสก็พุ่งสูงทันที ในโลกอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยการกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับแฮร์ริส ถึงขั้นมีแฮชแท็ก “She's Indian” มาแรงในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยมีผู้ใช้บางคนกล่าวหาแฮร์ริสว่าเธอ “ไม่ใช่คนผิวดำ”.
ล่าสุด ‘กมลา แฮร์ริส’ ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ที่ไวท์เฮาส์ครั้งแรก โดยเธอกล่าวชื่นชม ‘โจ ไบเดน’ และขอบคุณเขาที่ได้ให้โอกาสเธอ และเธอภูมิใจที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง จากการเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคเดโมแครต ในฐานะลูกสาวของแคลิฟอร์เนีย เธอภูมิใจที่คณะผู้แทนของรัฐบ้านเกิดนี้ช่วยทำให้การรณรงค์ของเธอเหนือกว่า และเธอคาดว่าจะยอมรับการเสนอชื่ออย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
โดย paweena_c
23 ก.ค. 2567
574 views
EP อื่นๆ
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
หนุ่ยคุยออนไลน์ EP.571 หงส์แดงล้างอาถรรพ์ ดับราชันชุดขาว / รุด ใกล้เซ็นสัญญาคุมเลสเตอร์
thichaphat_d
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
'สพม.ขอนแก่น' สั่งสอบคลิป นักเรียนหญิง ม.2 ถูกรุมทำร้าย บังคับกราบเท้าในห้องเรียน
paweena_c
28 พ.ย. 2567
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งหนังสือ สั่ง ‘PTT - OR’ แจงกรณี DSI สอบปมซื้อขายไบโอดีเซลผิดปกติ
chutikan_o
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
28 พ.ย. 2567
จะเด้งหรือเอวา ก็ไม่มีสิทธิ์! ‘บีทีเอส’ แจ้งผู้โดยสารห้ามนำสัตว์ทุกชนิดขึ้นรถไฟฟ้า
JitrarutP
28 พ.ย. 2567
สาวลาวอินฟลูฯ ดัง ลั่นไกยิงตัวเองดับในบ้านพัก แฟนสุดช็อก เผยก่อนเกิดเหตุไลฟ์อยู่
chutikan_o
28 พ.ย. 2567
ดรามาซีรีส์ ‘ทิชา’ นักแสดงเด็กไข้สูง 40 องศา แต่ยังเข้าฉาก ชาวเน็ตวิจารณ์สมควรหรือไม่
nicharee_m
27 พ.ย. 2567