เศรษฐกิจ

'จุลพันธ์' แจงยิบเงื่อนไข รับ-ใช้ 'เงินดิจิทัล' ให้นิยามร้านขนาดเล็ก รวมเซเว่นฯ

โดย panwilai_c

10 เม.ย. 2567

742 views

รัฐมนตรีจุลพันธ์ ได้แถลงรายละเอียดเงื่อนไขในการรับ - การใช้ - ไปจนถึงการเบิกเงินดิจิทัลออกมา รวมถึงเรื่องร้านค้าที่จะมาลงทะเบียนเข้าโครงการ ที่น่าสนใจ คือ ร้านสะดวกซื้อ ซึ่งรวมถึงร้านเซเว่นก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้



ประเด็นแรก เงื่อนไขผู้ที่จะรับเงินหมื่นในโครงการนี้ได้ ซึ่งตามเป้าหมายจะมีประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน​ คือ

-ผู้มีอายุเกิน 16 ปี

-ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี หรือ มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันทางการเงินเฉพาะกิจ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท



สำหรับเงินได้ 840,000 บาท นายจุลพันธ์ ยืนยันว่าก็เป็นไปตามเงื่อนไขเดิม คือ รายได้ไม่เกิน 7 หมื่นบาทต่อเดือน เมื่อคูณ 12 เดือน ก็เป็น 840,000 บาทต่อปี



ส่วนเงินฝาก 5 แสนบาทในบัญชี ก็มีคำถามว่าจะเริ่มนับตั้งแต่เมื่อไหร่ ทีมข่าวการเมืองได้ตรวจสอบกับ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้คำตอบว่า ยังไม่บอกว่าจะเริ่มนับเมื่อไหร่ เพราะเกรงว่าจะทำให้มีการไปโยกเงินจนเกิดปั่นป่วน แต่จะมีการประกาศภายหลัง ซึ่งก็จะมีผลย้อนหลังแน่นอน



ส่วนเรื่องการใช้เงินดิจิทัล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก​ คือการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า​ ซึ่งประชาชนสามารถใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ลงทะเบียนไว้ในระดับอำเภอเท่านั้น (ซึ่งทั้งร้านค้าและประชาชนต้องมาลงทะเบียนในช่วงไตรมาส 3 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567) ไม่สามารถใช้จ่ายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ห้างสรรพสินค้าได้



ประเด็นนี้ ในช่วงเปิดให้ผู้สื่อข่าวถาม ก็มีการถามถึงนิยามของ "ร้านขนาดเล็ก" ด้วย ว่าหมายถึงห้างค้าปลีก หรือร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นหรือไม่ คำตอบคือ รวมเซเว่นด้วย



กลุ่มที่ 2 ในการใช้เงินดิจิทัล คือ การใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า กรณีจะไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่​ และและสามารถใช้จ่ายเงินได้หลายรอบ อาจจะเป็นการซื้อขายกันระหว่างร้านเล็กกับร้านเล็ก หรือ ร้านเล็กไปซื้อสินค้าในห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ หรือ ห้างสรรพสินค้าได้



ทั้งนี้เงินดิจิทัลสามารถใช้ซื้อสินค้าทุกประเภท​ ยกเว้นสินค้าอบายมุข​ น้ำมัน​ บริการ​ และออนไลน์ รวมถึงสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดขึ้น



ส่วนเรื่องการถอนเป็นเงินสดออกมาจากการใช้จ่ายเงินดิจิทัล (ประชาชนไม่สามารถทำได้) จะต้องโครงการ จะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้น ซึ่งก็มีทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม / ภาษีเงินได้นิติบุคคล​ / หรือ ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา​ และร้านที่จะถอนเงินสดได้ จะต้องมีการใช้จ่ายตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต



ส่วนการใช้จ่ายเงินดิจิทัลในโครงการนี้จะใช้ผ่านแอพอะไร นายจุลพันธ์ ระบุว่า จะใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเอง โดยหน่วยงานของภาครัฐได้แก่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล ด้วยการใช้งานจะต้องให้ใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆในลักษณะ Open loop จะมีความ​สำ​คัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดความรอบครอบ​ โครงสร้างและสามารถตอบสนองตรวจสอบได้


https://youtu.be/GFbBWyaBi9M

คุณอาจสนใจ

Related News