เศรษฐกิจ

'สภาพัฒน์-สภาอุตฯ' ประสานเสียง 'แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ' ทำ 'หนี้ครัวเรือน' ต่ำสุดรอบ 3 ปีครึ่ง

โดย nattachat_c

12 ชั่วโมงที่แล้ว

57 views

วานนี้ (25 พ.ย. 67) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 พบว่า หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 2 ตัวชะลอลง และสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 89.6% ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำกว่าสัดส่วน 90% ต่อ GDP เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่ง แต่ทั้งนี้ การที่หนี้สินครัวเรือนลดลงนั้น มากจากการที่ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยสินเชื่อลดลง 

ทั้งนี้ สภาพัฒน์รายงานสภาวะสังคมไทย ดังนี้ 

หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 2/2567 มีมูลค่า 1.632 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3% ลดลงจาก จาก 2.3% ของไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 1/2567) 

ทำให้ หนี้ครัวเรือน/GDP ไตรมาส 2/2567 เป็น 89.6% เป็นการลดลงต่ำกว่าสัดส่วน 90% ต่อ GDP เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่ง (ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3/2563) 

โดยหนี้ครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัวยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง ประกอบกับคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ สะท้อนจากเงินให้กู้แก่ภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 หรือ 38.5% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด มีการหดตัวเป็นครั้งแรก

ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วัน (NPLs) ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรมีมูลค่า 1.16 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 8.48% เพิ่มขึ้นจาก 8.01% ของไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นในสินเชื่อทุกวัตถุประสงค์

สินเชื่อที่ค้าง 30-90 วัน ที่เรียกว่า (SMLs)  มีมูลค่า 5 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อ 3.66% ลดลงจาก 4.72% ของไตรมาสก่อน แต่ว่า สินเชื่อรถเป็นสินเชื่อเดียว ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

โดยหนี้สินครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัวยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง ประกอบกับคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ สะท้อนจากเงินให้กู้แก่ภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์

ส่วนแนวทางการลดอัตราเงินนำส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ลง 0.23% เพื่อช่วยจ่ายดอกเบี้ยในการพักชำระหนี้ 3 ปี ให้ลูกหนี้นั้น ต้องรอรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง เพราะมีผลผูกพันการแก้หนี้ครัวเรือน และยังเป็นการลดภาระใช้งบประมาณ

นายดนุชา พิชยนันท์ กล่าวว่า การที่สถาบันการเงิน (FIDF) ลง 0.23% เพื่อช่วยจ่ายดอกเบี้ยในการพักชำระหนี้ 3 ปี ให้ลูกหนี้นั้น ถือว่าเป็นการนำทรัพยากรทางการเงินมาใช้ แม้ไม่ใช้งบประมาณ ต่อต้องดูกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะช่วยสำเร็จเป็นหลัก


ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ในปีนี้ลงอีกครั้ง จาก 1.7 ล้านคัน เหลือ 1.5 ล้านคัน หรือ ลดลงอีก 200,000 คัน ต่ำสุดในรอบ 4 ปี โดยปรับการผลิตเพื่อขายในประเทศ ลดลงจาก 550,000 คัน เหลือ 450,000 คัน และการผลิตเพื่อส่งออก ลดลงจาก 1.15 ล้านคัน เหลือ 1.05 ล้านคัน

ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรับเป้าการผลิตเพื่อขายในประเทศ ลดลงมาแล้ว 200,000 คัน เท่ากับทั้งปี การผลิตเพื่อขายในประเทศ ลดลงถึง 3 แสนคัน เนื่องจากยอดขายทรุดหนัก โดยล่าสุดยอดขายในประเทศเดือนตุลาคม ทำได้แค่ 37,691 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 36.08% ต่ำสุดในรอบ 54 เดือน จากการเข้มงวดในการให้กู้ซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินเป็นหลัก


ไปต่อไม่ไหว! หั่นเป้าผลิตรถรอบสอง อีก 2 แสนคัน หลือ 1.5 ล้านคัน หลังตัวเลขยอดขายทั้งในประเทศและยอดส่งออกทรุดหนัก

ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนตุลาคม ส่งออกได้ 84,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 5.08 แต่ลดลงจากเดือนตุลาคมปี 66 ร้อยละ 20.23 ซึ่งลดลงทุกตลาด ละที่ต้องติดตามแบบไม่กระพริบตา คือ สงครามยูเครนกับรัสเซียที่อาจขยายวงและกระทบกับเศรษฐกิจโลก


นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนตุลาคม 2567 ที่มีการปรับลดเป้าผลิตรถยนต์ลงอีก 2 แสนคัน เดือนตุลาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 118,842 คัน ลดลงร้อยละ 25.13 ขาย 37,691 คัน ลดลงร้อยละ 36.06 ส่งออก 84,334 คัน ลดลงร้อยละ 20.23 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 688 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34,300 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 3,717 คัน ลดลงร้อยละ 49.73

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ยอดผลิตที่ลดลงกระทบเป็นซัพพลายเชนเพิ่มขึ้นจากเดิมลดเวลาการทำงานเหลือ 3 วัน/สัปดาห์ อาจลดเหลือ 2 วัน/สัปดาห์

ส่วนเอสเอ็มอีที่สายป่านไม่ยาวก็อาจจะถึงขั้นหยุดกิจการชั่วคราวเหมือนเช่นที่ผ่านมา และอีกประเด็นที่ต้องจับตาดูงานมอเตอร์โชว์ที่ใกล้จะถึง โดยยอดจองยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ปีที่ผ่านมามีสัดส่วนเกือบ 40% ของจองในงาน ซึ่งต้องดูว่าปีนี้จะมากกว่าหรือไม่

รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อกลุ่มผู้ใช้รถกระบะที่ยอดผลิตลดลง 40% มากสุดในกลุ่ม ที่ส่วนใหญ่ใช้ชิ้นส่วนในไทยถึง 80-90% หากมีมาตรการสนับสนุนที่ดีจะทำให้กลุ่มนี้ต้องการรถมาทำมาหากินมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน รัฐเก็บภาษีเพิ่ม ทำให้สัดส่วน GDP เพิ่มมากขึ้น หนี้ครัวเรือนจะได้ลดลงอย่างยั่งยืน


ด้าน นายสุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ออร์เดอร์ยอดขายชิ้นส่วนลดลง 30% ตั้งแต่ต้นปี โดยการลดกำลังการผลิตกระทบการทำงานล่วงเวลา (โอที) โดยบางบริษัทยกเลิกโอทีและบางบริษัทเพิ่มวันหยุดจาก 2 วันเป็น 3 วันต่อสัปดาห์

บางบริษัทลดเวลาทำงานและเริ่มโครงการจ่ายเงินเดือน 75% ของเงินเดือนทั้งหมด ซึ่งกลับไปเหมือนช่วงวิกฤติโควิด และน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่กระทบภาคการผลิต แต่สิ่งที่น่ากังวลอยู่ที่ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ เพราะช่วงโควิดและน้ำท่วมเป็น Short term อีกทั้งภาครัฐสนับสนุนเยียวยาแต่เหตุการณ์นี้ไม่มี


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/k7HtLHfjOYQ


คุณอาจสนใจ

Related News