เศรษฐกิจ

ส.เอสเอ็มอีไทย ชี้แก้หนี้นอกระบบควรเป็นวาระแห่งชาติ เพราะไม่ใช่แค่เกษตรกรที่เป็นหนี้

โดย nattachat_c

23 พ.ย. 2566

82 views

วันที่ 20 พ.ย. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กระทรวง ว่า


ตนจะแถลงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ส่วนการแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ ในวันที่ 12 ธันวาคม 

-------------
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เตรียมแผนรองรับนโยบายแก้หนี้ของรัฐบาล โดยมอบหมายให้กว่า 20 อำเภอ เตรียมพร้อมรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบที่ประสงค์จะรับความช่วยเหลือ โดยมีไทม์ไลน์ ดังนี้ 


เดือนธันวาคม 2566

ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนผ่านคิวอาร์โค้ดตามที่มาของกรมประชาสัมพันธ์ หรือติดต่ออำเภอ หรือติดต่อทางช่องทางสายด่วน 1567


เดือนมกราคม และ เดือนกุมภาพันธ์ 2567

รับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ


เดือนมีนาคม 2567

รวบรวมข้อมูล และแยกประเภท


เดือนเมษายน - เดือนสิงหาคม 2567 

แก้ปัญหาของลูกหนี้นอกระบบที่ได้ลงทะเบียนไว้


เดือนกันยายน 2567 

ประเมินผลการดำเนินการ

-------------
นอกจากการวางไทม์ไลน์แล้ว ยังสังการให้เก็บข้อมมูลว่า ผู้ปล่อยกู้นอกระบบมีใครบ้าง ซึงตอนนี้ มีข้อมูลแล้วส่วนหนึ่ง

-------------
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวถึงนโยบายของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการแก้หนี้ทั้งระบบ ว่า


สมาพันธ์มีข้อเสนอการลดหนี้ทั้งระบบ ควรยกเป็นวาระแห่งชาติ  เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และแก้หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ที่เป็นอุปสรรค ควรมีกระบวนการอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ตั้งแต่...


1. ตรวจสอบรายละเอียดทุกด้านของระบบหนี้ของไทย โดย แยกเป็น 4 ส่วนคือ

- หนี้ในระบบสถาบันการเงิน

- หนี้ในกองทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีประชารัฐ // เงินกู้ตามสหกรณ์ //

- หนี้ฟิโกนาโน // นาโนไฟแนนซ์ // สถาบันการเงินที่ไม่ใช่แบงก์

- หนี้นอกระบบ


เพื่อให้รู้ว่าหนี้ทั้งระบบเป็นอย่างไร


2. จากนั้น ก็ให้ผู้เป็นหนี้นอกระบบขึ้นทะเบียน โดยรัฐบาลผลักดันกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ หรือจัดหาทนายช่วยไกล่เกลี่ย และประนอมหนี้ รวมถึง รัฐควรสร้างแรงจูงใจให้นายทุนปล่อยกู้ในท้องถิ่นด้วย


“ได้คุยกับเอสเอ็มอีในท้องถิ่น ที่ต้องกู้เงินนอกระบบในช่วงหลังเกิดโควิดระบาด ที่ประสบปัญหาขาดรายได้ ขาดสภาพคล่องการเงิน ไม่อาจเข้าถึงระบบกู้ในระบบได้ อยากให้มีระบบแสดงตนของหนี้นอกระบบ และเปิดไกล่เกลี่ยกับนายทุนปล่อยกู้ พร้อมกับปรับจากหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ ที่มีมาตรฐาน และลดการเหลื่อมล้ำ เช่น ตอนนี้ รายเล็กแม้เป็นหนี้ในระบบ ก็ถูกคิดดอกเบี้ยสูงกว่ารายใหญ่ และรายกลาง ที่มีช่องห่างกันถึง 7-8% ขณะที่ต่างประเทศ มีช่วงห่างไม่ถึง 4-5% ค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยของเอสเอ็มอีเกิน 10-15% หรืออาจถึง 20-22% แต่เอสเอ็มอีรับได้ไม่เกิน 8% ต่อปี แต่ผู้มีรายได้น้อย ฝากเงินได้ดอกเบี้ยแค่ 0.3-2.5% เราเห็นว่า จะแก้ปัญหาหนี้ในระยะยาว และไม่ก่อหนี้ ใหม่ คือ เจรจาให้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้ ที่ได้เงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องเสียเกิน 15%แล้ว ให้การผ่อนจากนี้ เหลือแต่เงินต้นคงค้างอย่างเดียว เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง และเติมเงินเข้าระบบโดยอัตโนมัติ เพิ่มโอกาสรอดของเอสเอ็มอี และรายย่อยทั่วไป เพราะคนเป็นหนี้นอกระบบไม่ใช่แค่เกษตรกร เอสเอ็มอี แต่ขยายวงไปถึงภาคแรงงาน ข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจด้วย” นายแสงชัยกล่าว


3. เมื่อไกล่เกลี่ยหนี้คงค้างได้แล้ว เพื่อลดการเป็นหนี้ใหม่ รัฐควรเน้นพัฒนาคน คือ รู้ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี รู้การจัดการบริหารการเงินรายวัน


4. ลดอุปสรรค เช่น ปรับระบบการค้า ทั้งเรื่องเครดิตเทอม ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการรายย่อย กว่าจะได้เงินต้องรอ 90 วัน จึงควรให้ชำระค่าสินค้าให้รายย่อยได้เร็วขึ้น ให้แพ็คเกจพิเศษ ลดภาระภาษีกับรายย่อย นำระบบภาษีมาจูงใจ เป็นต้น

-------------


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : 


คุณอาจสนใจ

Related News