เศรษฐกิจ
คลังเล็งฟื้นเก็บ 'ภาษีลาภลอย' ราคาที่ดินพุ่งใกล้โครงการรัฐ ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐ
โดย thichaphat_d
20 มิ.ย. 2565
1.1K views
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายภาษีลาภลอย (Windfall tax) ที่กระทรวงการคลังได้เคยเสนอไปก่อนหน้านี้ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
โดย 'ภาษีลาภลอย' นั้นหมายถึง กรณีที่มีผู้ได้รับประโยชน์ในโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ ส่งผลให้ราคา 'ที่ดินในรัศมีโครงการ' ปรับราคาสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ทางด่วน เป็นต้น เมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น ควรแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งมาให้กับรัฐ
ร่างกฎหมายลาภลอย ได้ผ่านอนุมัติจาก ครม. เมื่อปี 2561 แต่ยังไม่ได้รับการสานต่อเพื่อนำมาใช้จริง
ร่าง พ.ร.บ. ภาษีลาภลอย (ที่ผ่านมา ปี 2561)
- กำหนดเพดานภาษี ไม่เกิน 5% ของมูลค่าที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล ที่มีที่ดินตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กม. จากตัวโครงการ
- เก็บเฉพาะตัวในส่วนราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้น และหักมูลค่าออกไป
การจัดเก็บ 'ภาษีลาภลอย'
ช่วงแรก : ตั้งแต่ 'วันลงนาม' ในสัญญาก่อสร้าง - วัน 'ตรวจรับมอบ' ของโครงการสาธารณูปโภคนั้น
- การซื้อขายที่ดินในช่วงนี้ จะถูกเก็บภาษีลาภลอยในทุกครั้ง ที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ
ช่วงที่ 2 : ช่วงที่ก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ
- จะเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว (ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่เปลี่ยนมือ)
หมายเหตุ เก็บภาษีจากมูลค่าที่ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะที่ดินหรือห้องชุด เฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ที่มูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/DyUNSb8bs0Y