เศรษฐกิจ

พิษรัสเซีย-ยูเครน! จีดีพีวูบ เงินเฟ้อพุ่ง คาดต้องรอครึ่งหลังปี 66 เศรษฐกิจจะกลับไปเหมือนก่อนโควิด

โดย thichaphat_d

19 เม.ย. 2565

87 views

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเงินเฟ้อว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 


นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. มีห่วงสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับสูง เป็นอันดับสองในเอเชีย เป็นรองเฉพาะเกาหลีใต้เท่านั้น และหนี้สินครัวเรือนสะสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง


ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้เสียคงมีการปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่เพิ่มในลักษณะก้าวกระโดด ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากกว่า 


การที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP หยุดเพิ่มขึ้นในระยะหลังนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ GDP มันเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณหนี้ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาหนี้ คือ การทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น และทำให้ประชาชนมีรายได้ เพื่อนำมาจ่ายคืนหนี้ได้


ด้าน นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวว่า ล่าสุด ได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 65 และ 66


โดยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 65 อยู่ที่ 3.2% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.4% และปี 66 อยู่ที่ 4.7% พร้อมทั้งปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ในปี 65 และ 66 เพิ่มเป็น 4.9% และ 1.7% ตามลำดับ ซึ่งการปรับ GDP ลดลงจากเดิมนั้นเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เป็นสำคัญ


โดยมองว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยที่ชะลอตัวลง รวมทั้งมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผ่านมายังต้นทุนสินค้า ค่าครองชีพ และกำลังซื้อในประเทศ โดยกระทบกับค่าครองชีพภาคครัวเรือน ต้นทุนภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และมีหนี้สูง


และยังกล่าวอีกว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นในระยะสั้น โดยปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐาน มาจาก

1. ปัญหา global supply disruption อาจรุนแรงกว่าที่คาด

2. ผลกระทบจากค่าครองชีพที่อาจสูงขึ้นมาก จนกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน

3. การระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

แต่ยังพอจะมีปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้สูงกว่ากรณีฐาน คือ การใช้จ่ายของภาคเอกชนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ชะลอการใช้จ่ายไปในช่วงก่อนหน้า


ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับไปขยายตัวได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของไวรัสโควิดได้ในราวครึ่งหลังของปี 66 เป็นต้นไป


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/y_uV_kog-oE

คุณอาจสนใจ

Related News