อาชญากรรม

รวบ 4 กรรมการบริษัททิพย์ ออกใบกำกับภาษีปลอม จำนวน 105 ฉบับ

โดย kanyapak_w

12 ต.ค. 2567

583 views

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) รวบ 4 กรรมการบริษัททิพย์ ออกใบกำกับภาษีปลอม จำนวน 105 ฉบับ รัฐเสียหายกว่า 17 ล้านบาท

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เจ้าหน้าที่ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับทั้งหมด  4 ราย ดังนี้


1.    นาย อาชว์ฯ อายุ 50 ปี  ผู้ต้องหาตามหมายจับ 828/2567 ลงวันที่ 2 กันยายน 2567  ในความผิดฐาน “ร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร” สถานที่จับกุม บริเวณหน้าบ้านหลังหนึ่งใน หมู่ 2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี


2.    นางสาวกษมลฯ อายุ 62 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 826/2567 ลงวันที่ 2 กันยายน 2567  ในความผิดฐาน “ร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร” สถานที่จับกุม บริเวณริมถนนเลียบคลอง หมู่ที่ 4 ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

3.    นายนิรุตฯ  อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 829/2567 ลงวันที่ 2 กันยายน 2567  ในความผิดฐาน “ร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร”

สถานที่จับกุม บริเวณหน้าตึกกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

4.    นายสิทธิโชค หรือนายนิรันดร์ฯ อายุ 48 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 827/2567 ลงวันที่ 2 กันยายน 2567   ในความผิดฐาน “ร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร”

สถานที่จับกุม บริเวณหน้าตึกกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

พฤติการณ์  เนื่องด้วยกรมสรรพากรได้มาร้องทุกข์ ที่ กก.2 บก.ปอศ. ให้พิจารณาดำเนินคดีอาญาความผิดกับ บริษัทแห่งหนึ่ง และอดีตกรรมการบริษัททั้งสิ้น 4 ราย  คือ 1. นายนิรุตฯ 2.นายนิรันดร์ฯ

3.นายอาชว์ฯ 4.นางสาวกษมลฯ ซึ่งเป็นกรรมการร่วมกันในขณะความผิดเกิด ในข้อหา “ร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4 (3)” แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ ช่วงเดือน มีนาคม 2557  บริษัท มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับประกอบธุรกิจการขายวัสดุก่อสร้าง แต่เจ้าพนักงานกรมสรรพากร ตรวจสอบพบว่า บริษัท ดังกล่าว ไม่มีการประกอบกิจการ ณ สถานประกอบการดังกล่าวจริง โดยสถานที่ตั้งบริษัท มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ สามชั้นครึ่ง สภาพเก่า ไม่พบการประกอบกิจการของบริษัทฯ สอบถามผู้อาศัยข้างเคียงให้การว่า บริษัท


ได้ยกเลิกการเช่าอาคารดังกล่าว เมื่อปลายเดือนกันยายน 2559 และไม่ทราบว่าย้ายสถานประกอบการไปที่ใด ไม่สามารถติดต่อได้ กรมสรรพากรจึงเชื่อว่าบริษัทดังกล่าว มีการออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาไม่ได้มีเจตนาที่จะประกอบกิจการจริง ประกอบกับบริษัทดังกล่าวไม่ส่งมอบเอกสารให้เจ้าพนักงานกรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบแต่อย่างใด


แต่บริษัทดังกล่าวได้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกช่วงเดือนภาษีมิถุนายน 2557 ถึงเดือนภาษีสิงหาคม 2559  ให้กับผู้ประกอบการรายอื่น นอกจากนี้กรมสรรพากรได้รับแจ้งจาก สำนักงานสรรพากรพื้นที่ต่าง ๆ พบว่า มีใบกำกับภาษีขายที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ออกโดย บริษัทดังกล่าว ไปยังผู้ประกอบเพื่อใช้ยื่นขอเครดิตภาษี(ขอคืน)



ต่อกรมสรรพากรรวมใบกำกับภาษีจำนวน 105 ฉบับ ซึ่งใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นเท็จทั้งสิ้นและไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริง รวมมูลค่าสินค้ากว่า 16 ล้านบาท คิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) กว่า 1 ล้านบาท รวมเป็นเงินจำนวนกว่า 17.9 ล้านบาท



จึงเชื่อได้ว่า การออกใบกำกับภาษีดังกล่าวเป็นการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นความผิด ตามมาตรา 90/4 (3)



แห่งประมวลรัษฎากร จากนั้นพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปอศ. ได้อออกหมายเรียกเพื่อติดต่อตัวกรรมการทั้ง 4 ราย มาทราบข้อกล่าวหา แต่ก็ไม่มีกรรมการคนใดมาพบพนักงานสบอสวนตามที่ออกหมายเรียกไป จึงเชื่อได้ว่ามีพฤติการณ์หลบหนี พนักงานสอบสวนจึงได้ขออนุญาตศาลเพื่อออกหมายจับเพื่อนำตัวกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


หลังจากที่ศาลได้อนุมัติหมายจับกรรมการทั้ง 4 ราย แล้วนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอศ.  เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ได้ทำการสืบสวนจนทราบว่า นาย อาชว์ฯ และ นางสาวกษมลฯ ผู้ต้องหาที่ 1 และ 2 จะมาปรากฏตัวในบริเวณที่จับกุม เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจับกุมจึงได้เดินทางไปเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณดังกล่าว และในวันเวลาที่จับกุม เมื่อผู้ต้องหาปรากฏตัว เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้เข้าแสดงตัวขอตรวจสอบดูและพบว่าเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับจริง จึงดำเนินการจับกุมบริเวณดังกล่าว และนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน กก.๒ บก.ปอศ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


จากนั้น นายนิรุตฯ และนายสิทธิโชค หรือนายนิรันดร์ฯ ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอศ. เพื่อขอมอบตัวและนำตัวได้ผู้ต้องหาทั้งสอง ส่งพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปอศ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และมีการให้รายละเอียดคำให้การในลักษณะตรงกันว่าตนไม่รู้จักบริษัทดังกล่าว แต่อย่างใด  แต่ผู้ต้องหาที่ 3 และ 4 ให้การเพียง เมื่อปี พ.ศ.2557 เคยมีคนขอบัตรประจำตัวประชาชนไปใช้เกี่ยวกับการตัวแทนขายสินค้าให้รูปแบบขายตรงเท่านั้น


คุณอาจสนใจ

Related News