อาชญากรรม

โฆษก DSI แจงกรณีรับคดี "ลุงเปี๊ยก" เป็นคดีพิเศษ เข้าข่ายพ.ร.บ.อุ้มหาย กำหนด 4 หน่วยงานสอบสวน

โดย kanyapak_w

26 ม.ค. 2567

76 views

พันตำรวจตรี วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ฐานะโฆษกดีเอสไอ เปิดเผยว่า กรณี ลุงเปี๊ยก ที่ถูกตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ทำร้ายเพื่อให้รับสารภาพคดีการเสียชีวิตของป้ากบ หลังจากที่ ดีเอสไอ รับกรณีของลุงเปี๊ยก เป็นคดีพิเศษ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ซึ่งคดึดังกล่าว เป็นการรับคดี โดยไม่ต้องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา



เนื่องจาก พ.ร.บ.อุ้มหายฯ มาตรา 31 ได้กำหนดให้หน่วยงาน 4 หน่วย คือ พนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุ, ฝ่ายปกครอง ,ดีเอสไอ และ พนักงานอัยการ ทำหน้าที่ในการสืบสวบสอบสวน และพ.ร.บ.ดังกล่าว หากพนักงานสอบสวนเข้าสอบสวนแล้วให้ถือว่าคดีนั้นเป็นคดีพิเศษ โดยคดีของลุงเปี๊ยก เมื่อวันที่ 22 ม.ค. มีญาติของลุงเปี๊ยกได้เข้ามาร้องกับดีเอสไอ ประกอบกับดีเอสไอ ซึ่งคดีนี้ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายโดยตรงมาร้อง เนื่องจากเป็นคดีที่สังคมให้ความสนใจ และดีเอสไอมีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้รักษาการอธิบดีดีเอสไอ ได้มีคำสั่งให้ทำการสืบสวนว่ามีเหตุรับไว้ทำการสอบสวนหรือไม่ จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานไว้ส่วนหนึ่งแล้ว



ส่วนการเริ่มดำเนินการหลังจากนี้ ดีเอสไอจะส่งหนังสือแจ้งให้พนักงานอัยการทราบเพื่อเข้าควบคุมการสอบสวน และอยู่ระหว่างการรอมอบหมายเข้าควบคุมการสอบสวน ทั้งนี้เพื่อให้การสอบสวนโปร่งใส และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจการสอบสวนทั้ง 4 หน่วย ผู้บริหารดีเอสไอจึงจะเชิญพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองมาร่วมสอบสวนคดีนี้ด้วยกันโดยเสนอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการ และจะดำเนินการให้เร็วที่สุด




และหลังจากนี้ ดีเอสไอจะมีหนังสือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สอบถามว่าความผิดฐานนี้ มีการดำเนินคดีกับบุคคลใดไปแล้วหรือไม่ ซึ่งหากสอบสวนดำเนินคดีแล้วก็จะเข้าสู่การโอนการสอบสวนมาอยู่ภารกิจของดีเอสไอก่อน




ส่วนการแสวงหาพยานหลักฐาน และการทำงาน เป็นรายละเอียดในสำนวน แต่ขณะนี้มีข้อมูลในชั้นสืบสวนชั้นต้นจากข้อมูลของลุงเปี๊ยก และจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงที่ปรากฎในสื่อสาธารณะก็มีการรวบรวมไว้บางส่วนแล้ว



ทั้งนี้การลงพื้นที่ไปตรวจสอบในที่เกิดเหตุ ก็เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงที่ต้องตรวจสอบอยู่แล้ว รวมถึงการสอบสวนปากคำพยาน และการตรวจสอบพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง




โดยกรอบระยะเวลาการทำงานนั้น ปกติคดีพิเศษไม่เกิน 1 ปี แต่ความเป็นจริงขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน ยิ่งเป็นการดำเนินการ 4 ฝ่ายก็จะยิ่งทำให้พยานหลักฐานครบถ้วน และทำให้การทำงานเร็วขึ้น




ส่วนกรณีที่ตำรวจได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริบมาแล้ว แต่พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอในการเข้าข่าย พ.ร.บ.อุ้มหาย รวมถึง จเรตำรวจแห่งชาติได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงขึ้นมาด้วยนั้น พ.ต.ต.วรณัน ระบุว่า ถ้าคณะพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการทำคดี และสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ ก็สามารถรวบรวมเข้ามาอยู่ในสำนวนได้




คุณอาจสนใจ

Related News