อาชญากรรม

ทลายแก๊งสวมรอยแบงก์ดัง ส่ง SMS หลอกดูดเงิน ใช้รถโมบายกระจายสัญญาณหาเหยื่อ 2 หมื่นคน/วัน

โดย petchpawee_k

26 พ.ค. 2566

961 views

ตร.ไซเบอร์ ทลายรังโจร สวมรอยแบงก์ส่ง SMS หลอกดูดเงินเหยื่อสุดล้ำ ใช้เครื่องมือเหมือน โมบายเคขื่อนที่ เดลิเวอรี่ หาเหยื่อวันละ 20,000 คน ตำรวจสาธิตเครื่องให้ดู ระบุ ไม่ต้องมีความรู้ก็ทำงานได้แต่กดปุ่ม


วานนี้มีการแถลงข่าวต้องเรียกว่าเป็นการจับกุมที่จับขบวนการที่หลอกลวงประชาชนโดยมีพลตำรวจเอกดำรงศักดิ์กิตติประภัสร์ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพร้อมด้วย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ตำรวจสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ สอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กสทช เจ้าหน้าที่ค่ายโทรศัพท์มือถือและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันแถลงข่าว ระดมกวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในการส่งข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงินชื่อดังหลอกดูดเงินผู้เสียหาย


พล.ต.อ ดำรงค์ศักดิ์ ระบุว่า กลุ่มอาจชญากรรมทางออนไลน์นั้นยังคงมีปรากฏอยู่เรื่อยซึ่งตำรวจก็มีการสกัดและมีการจับกุมอยู่บ่อยครั้งรวมไปถึงรับแจ้งความออนไลน์จาก ซึ่งตั้งแต่มีคดีเกี่ยวกับแอพหลอกลวงดูดเงินต่างๆนั้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม มีหลายคดี ความเสียหายประมาณ 200 ล้านบาท


ซึ่งการแถลงจับกุมวันนี้ก็เป็นกลุ่มคนร้ายที่เกี่ยวข้องกับแอพหลอกลวงดูดเงิน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเป็นฐานจำลองสถานีปลอมขึ้นมา คล้ายกับรถโมบายเคลื่อนที่ สามารถ ตรวจยึดมาได้ห้าเครื่องจับกุมผู้ต้องหาได้หกคนโดยเครื่องเหล่านี้กลุ่มคนร้ายก็ใช้นำไปหลอกลวงประชาชนโดยการส่งเอสเอ็มเอสจากหน่วยงานต่างๆทั้งธนาคารกสิกรไทยการไฟฟ้าและใช้ลิ้งค์ที่เป็นลักษณะคล้ายกับของต้นสังกัดทั้งธนาคารและการไฟฟ้าทำให้ประชาชนหลงเชื่อ กดลิงค์ดูดเงินจากแอพธนาคาร


โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช. ผู้บัญชาการ ตำรวจไซเบอร์ กล่าวว่า ตำรวจได้ข้อมูลมาว่ามีกลุ่มคนร้ายได้นำเครื่องดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาก่อเหตุ จึงสืบสวนและวิเคราะห์ข้อมูลกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อหาตัวกลุ่มขบวนการที่กระทำความผิด โดยพบว่าคนร้ายจะกระทำโดย


“นำเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถแล้วขับออกไปยังสถานที่ต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยหากรถแล่นผ่านไปทางใดก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แล้วส่งข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะลิงก์ปลอม”


อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน กรมสรรพากร  การไฟฟ้า เป็นต้น โดยหากประชาชนหลงเชื่อและกดลิงก์ดังกล่าว ก็จะถูกให้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นควบคุมเครื่องระยะไกล


“โดยสามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เครื่องโทรศัพท์นั้นติดตั้งแอพพลิเคชั่นประเภท Mobile Banking” ได้ภายในไม่เกิน 5 นาที


โดยเมื่อวันที่ 24 พ.ค. เวลาประมาณ 08.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ได้เข้าตรวจค้นจับกุมกลุ่ม ขบวนการดังกล่าว โดยจับกุม นายสุขสันต์ อายุ 40 ปี กับพวก รวม 6 คน ในข้อหา ร่วมกัน ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต 


โดยเข้าทำการจับกุมกลุ่มขบวนการในครั้งนี้ กระจายเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหาหลายจุด ได้แก่ บริเวณลานจอดรถหน้าร้านสะดวกซื้อในซอยบางแวก 33 บนถนนราชพฤกษ์ขณะที่รถกำลังแล่นออกไปเพื่อส่งสัญญาณ ตรวจยึดรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) จำนวน 4 คัน พร้อมอุปกรณ์ 4 ชุด


 จากนั้นได้เข้าตรวจค้นห้องพักของนายสุขสันต์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนจ่ายงาน และได้ตรวจยึดเครื่องจำลองสถานีฐาน (False Base Station) ที่ยังไม่ได้แกะออกมาใช้อีก 1 ชุด ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดย “ให้การรับสารภาพว่าได้รับการติดต่อว่าจ้างจากคนรู้จักที่ทำงานอยู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยจะได้ค่าจ้างสำหรับการวิ่งส่งสัญญาณเดือนละ 80,000 บาท”


ซึ่งเครื่องดังกล่าวนั้นสามารถส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้วันละ 20,000 หมายเลขต่อเครื่อง ทั้งนี้จะฝากถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ต่างๆ โดยหากพบรถที่มีอุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าว ให้ทำการตรวจคันจับกุม ให้ บซ.สอท.เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยต่างๆ


นอกจากนี้ในการแถลงข่าวตำรวจได้ทดลองใช้เครื่องดังกล่าวส่งเอสเอ็มเอสหาผู้สื่อข่าวโดยวิธีการเหมือนกันกับที่กลุ่มคนร้ายทำปรากฏว่าสามารถส่ง SMS ได้จริงโดยทีมข่าวของเราก็ได้รับ SMS เตือนทันทีที่เจ้าหน้าที่กดคลิกปุ่มทำงาน มีข้อความว่า “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอนด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์”


พลตำรวจตรี วิวัฒน์คำชํานาญ รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผย วิธีการใช้เครื่องมือนี้ มี 4 ตัว ประกอบด้วย


1. แบตเตอรี่ (กล่องดำ)

2. เครื่องดึงสัญญาณจากระบบสัญญาณมือถือ (เป็นตัวกล่องสีขาว) ปกติกล่องนี้จะอยู่ตามเสาสัญญาณมือถือ 

3. ตัวนี้ นี้สำคัญ เรียกว่าเครื่อง MISI-catcher หรือ เรียกว่าปชากระเบน (เครื่องสีดำคล้ายแอม) ตัวนี้ เป็น เครื่องจับสัญญาณ ปกติเวลาใช้มือถือ แต่ละจุด จะมีเสาสัญญาณ โทรศัพท์มือถือ แต่พอมีเครื่องนี้สัญญาณ มันจะไม่จะจับเสามือถือแล้ว มันมาที่เครื่องนี้ จึงใช้ได้ทุกเครือข่ายไม่ โดยที่เจ้าของเครือข่ายมือถือก็ไม่รู้ตัว

4. แล็ปท็อป เป็นตัวคลิกข้อมูลและดูเบอร์มือถือสัญญาณ


เมื่อมีอุปกรณ์ทั้ง 4 อย่างนี้ก็สามารถกลายเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนได้ โดยพฤติกรรมของมิจฉาชีพจะนำเครื่องดังกล่าวนี้ใส่ในรถแล้วตระเวนขับไปตามจุดต่างๆทั้งใจกลางกรุงเทพมหานคร  นนทบุรี  สมุทรปราการ และหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมาจะได้รับเอสเอ็มเอสในลักษณะแจ้งเตือนจากทางธนาคารและเมื่อระยะหลังก็จะได้รับการแจ้งเตือนจากการไฟฟ้าโดยมีลิ้งค์ที่เป็นลักษณะเหมือนกับลิ้งค์ของตัวจริงของธนาคารหรือการไฟฟ้าที่ถูกแอบอ้าง


เรียกง่ายๆว่านี่คือรถโมบายของมิจฉาชีพ เคลื่อนไปที่ใดก็จะจับสัญญาณของโทรศัพท์มือถือประชาชนได้ไม่ว่าจะค่ายใดจากนั้นก็จะส่งเอสเอ็มเอสเข้าไปในแต่ละวันสามารถส่งเอสเอ็มเอสได้ทั้งหมด 20,000 เบอร์  


ขณะที่ 1 ในผู้เสียหาย เล่าว่า เธอได้รับข้อความมือถือว่า "บัญชีของคุณกำลังมีผู้พยายามทำธุรกรรม" พร้อมแนบลิ้งค์มาใน SMS พอกดไปที่ลิ้งค์ ระบบจะให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ และเปลี่ยนชื่อลิ้งค์เป็น K Connect  

จากนั้นมีเจ้าหน้าที่ทักมาสอบถามชื่อ และข้อมูลการใช้งาน ว่าทำธุรกรรมอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ เมื่อปฏิเสธ  คนร้ายก็จะบอกข้อมูลส่วนตัวของเธอ และยังรู้ด้วยว่าเธอมีบัญชีธนาคารกี่บัญชี เมื่อหลงเชื่อ ก็จะส่งแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า "เค ซีเคียวริตี้" มาให้โหลด โดยอ้างว่าเพื่อตรวจสอบว่าใครเข้าบัญชีของเธอ แต่ในความเป็นจริงการกดเข้าไป คือ การรีโมทโทรศัพท์ของเธอ ทำให้เธอไม่สามารถทำอะไรกับมือถือได้ หน้าจอมือถือขึ้นภาพกำลังอัพเดท ใช้เวลาเพียงครึ่ชั่วโมง ก็พบว่าเงินได้ถูกโอนออกไปแล้วจากทั้งหมด 4 บัญชี ราว 3 แสนกว่าบาท รวมถึงบัตรเครดิตก็ถูกเปลี่ยนเป็นเงินสด กดออกไปเช่นกัน


รองผู้บัญชาการตำรวจ สอท.ยังระบุอีกว่า เครื่องนี้มีใช้ในต่างประเทศมานานแล้วใช้ในระบบของการตรวจสอบเรื่องความมั่นคงและจับกุมคนร้ายแต่เครื่องนี้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ผ่านมาทางชายแดนประเทศเพื่อนบ้านโดยนำเข้ามาเพื่อที่จะมาก่อเหตุหลอกลวงประชาชน


ดังนั้นการจับกุมครั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการขยายผลว่ามีการนำเข้าเครื่องลักษณะนี้มาก่อเหตุอีกหรือไม่รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ ที่ร่วมก่อเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกหลอก


 ทั้งนี้รองผู้บัญชาการสอท. ระบุว่ากรณีที่ประชาชนเกิดเผลอ กดเข้าไปดูในลิ้งดังกล่าววิธีแก้ไขโดยด่วน“คือให้ถอดซิมออกจากโทรศัพท์ ทันทีเพื่อเป็นการตัดวงจรไม่ให้คนร้ายสามารถเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์และไม่สามารถเข้าไปในระบบโมบายแบงค์กิ้งได้ เป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยตนเอง เซฟเงินและตัดวงจร มิจฉาชีพ ให้รวดเร็วที่สุด” จากนั้นจึงแจ้งในส่วนของธนาคารต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/T9OEVL_OZwY

คุณอาจสนใจ

Related News