อาชญากรรม

บุกทลายโกดังเครื่องสำอางแบรนด์ไทยหลากยี่ห้อ กระเป๋า-ยาสีฟันปลอม มูลค่ากว่า 14 ล้านบาท

โดย kanyapak_w

13 ก.พ. 2566

4.6K views

ตำรวจสอบสวนกลางโดย ปคบ. ร่วม อย. ทลายโกดังเครื่องสำอางแบรนด์ไทยปลอมหลากยี่ห้อ และยาสีฟันปลอมยี่ห้อดัง มูลค่าของกลางกว่า 14 ล้านบาท



วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,  เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ภาคภูมิ ศรีลาภะมาศ, พ.ต.อ.สำเริง  อำพรรทอง, พ.ต.อ.อนุวัฒน์  รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ  นากแก้ว, พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์  เกศะรักษ์,    พ.ต.อ.ปัญญา  กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., ว่าที่ พ.ต.อ.สุพจน์  พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ.,สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา,ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงานกรณีทลายเครือข่ายลักลอบนำเข้าเครื่องสำอางแบรนด์ไทยปลอมหลากยี่ห้อ และกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อดัง




โดยลวงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตรวจยึดของกลางกว่า 70 รายการ มูลค่าความเสียหายกว่า 14,000,000 บาท



สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบริษัท แห่งหนึ่งว่าพบผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรยี่ห้อหนึ่งของปลอม แพร่ระบาดในตลาดออนไลน์เป็นจำนวนมาก จึงทำการสืบสวนจนทราบว่า มีการจำหน่ายยาสีฟันสมุนไไทยปลอมบนแพลตฟอร์มช้อปปี้จริง และพบว่ากลุ่มเครือข่ายผู้กระทำความผิดมีการลักลอบนำสินค้าปลอมเข้ามาจากประเทศจีน จากนั้นนำมาเก็บไว้ที่โกดังเก็บสินค้าในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร



เพื่อรอการบรรจุแล้วส่งขายให้กับลูกค้า โดยกลุ่มผู้ต้องหามีลักษณะการกระทำความผิดคือ มักจะสับเปลี่ยนบัญชีที่รับโอนเงินค่าสินค้าและสถานที่จัดเก็บสินค้าอยู่ตลอด รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยในระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 - ธันวาคม 2565 เกินกว่า 10 ครั้ง และมีใช้รถขนส่งเอกชนในการจัดส่งสินค้าในลักษณะอำพราง ให้ตรวจสอบได้ยาก และพบหลักฐานความเชื่อมโยงว่ามีร้านค้าออนไลน์ที่เครือข่ายดังกล่าวใช้ที่อยู่หน้ากล่องสำหรับจัดส่งพัสดุสำหรับการขายสินค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์กว่า 18 ร้าน




ต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับ อย. นำหมายค้นของศาลอาญาพระโขนง เข้าค้นสถานที่เก็บสินค้าในพื้นที่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 จุด รายละเอียดดังนี้




1. บ้านหลังหนึ่งใน ซอยสุภาพงษ์ 1 แยก 12 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บ และแพ็คสินค้าปลอมส่งให้ลูกค้า ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาสีฟันปลอม จำนวน 36 หลอด และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางยี่ห้ออื่นๆ ที่ต้องสงสัยว่าปลอม จำนวน 21 รายการ



2. บ้านหลังหนึ่งใน ซอยอ่อนนุช 70/1 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องสงสัยว่าปลอม รวม 8 รายการ และกระเป๋าแบรนด์เนมปลอมพร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ รายละเอียดดังนี้




1.    กระเป๋าถือ ยี่ห้อ หลุยส์ วิตตอง จำนวน 30 ใบ

2.    กระเป๋าถือ ยี่ห้อ กุชชี่ จำนวน 35 ใบ

3.    กระเป๋าถือยี่ห้อ อีฟ แซง โรลองท์ จำนวน 2 ใบ




จากการสืบสวนขยายผลพบว่า สินค้าปลอมดังกล่าวส่งมาจากโกดังเก็บสินค้าในต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับ อย. นำหมายค้นของศาลอาญาพระโขนง เข้าค้นสถานที่เก็บสินค้าในพื้นที่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 จุด รายละเอียดดังนี้




1. บ้านหลังหนึ่งในซอยสุภาพงษ์ 1 แยก 12 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บ และแพ็คสินค้าปลอมส่งให้ลูกค้า ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาสีฟันปลอม จำนวน 36 หลอด และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางยี่ห้ออื่นๆ ที่ต้องสงสัยว่าปลอม จำนวน 21 รายการ

2. บ้านหลังหนึ่งในซอยอ่อนนุช 70/1 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องสงสัยว่าปลอม รวม 8 รายการ และกระเป๋าแบรนด์เนมปลอมพร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ รายละเอียดดังนี้




1.    กระเป๋าถือ ยี่ห้อ หลุยส์ วิตตอง จำนวน 30 ใบ

2.    กระเป๋าถือ ยี่ห้อ กุชชี่ จำนวน 35 ใบ

3.    กระเป๋าถือยี่ห้อ อีฟ แซง โรลองท์ จำนวน 2 ใบ




จากการสืบสวนขยายผลพบว่า สินค้าปลอมดังกล่าวส่งมาจากโกดังเก็บสินค้าในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จึงได้ร่วมกับ อย. นำหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการ เข้าตรวจค้น




บริษัท โลจิสติกส์แห่งหนึ่ง  ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องสงสัยว่าปลอม รวม 16 รายการ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 14 รายการ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 1 รายการ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 1 รายการ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สมุนไพร พ.ศ.2562 จำนวน 2 รายการ  



รวมตรวจค้นทั้งสิ้น 3 จุด ตรวจยึด 1. ยาสีฟันปลอม 36 หลอด, 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่นที่ต้องสงสัยว่าปลอม ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 จำนวน 45 รายการ  (กว่า 37 ยี่ห้อ), 3.ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 14 รายการ, 4. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 จำนวน 1 รายการ, 5. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 1 รายการ, 6. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สมุนไพร พ.ศ.2562 จำนวน 2 รายการ และกระเป๋าถือแบรนด์เนม 67 ใบ รวมของกลางกว่า 67,430 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 14,000,000 บาท ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดอื่นฯ อยู่ระหว่างติดต่อตัวแทนของแต่ละบริษัทเพื่อมายืนยันเพิ่มเติม




จากการตรวจสอบเครือข่ายดังกล่าวพบว่ามี Mr.Zhong หรือนายจง (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้ดูแล เบื้องต้นพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้แจ้งข้อ




กล่าวหา นายจง ฯ ในความผิดฐาน “ขายเครื่องสำอางปลอมตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534” โดยนายจงฯ ให้การปฏิเสธ แต่รับว่าตนมีหน้าที่นำสินค้าปลอมมาแพ็ค และจัดส่งให้ลูกค้าตามออเดอร์โดยมีนายทุนชาวจีนเป็นผู้สั่งการ โดยได้รับค่าจ้างออเดอร์ละ 7-8 บาท เฉลี่ยวันละ 500-1,000 ออเดอร์ โดยนายจง ฯ  รับว่าทำมาแล้วประมาณ 3 เดือน ในส่วนผู้ต้องหารายอื่นอยู่ระหว่างสืบสวนขยายผลต่อไป  




เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม




1.    พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558  ฐาน “ขายเครื่องสำอางปลอม” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.    พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ฐาน “มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมฯ” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.)ที่สืบสวนขยายผลจนสามารถจับกุมผู้ค้าตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้จำนวนมาก




ในส่วนของพี่น้องประชาชนขอย้ำเตือนว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนจำหน่าย โดยสามารถดูได้ที่ฉลากผลิตภัณฑ์ หรือที่บรรจุภัณฑ์ ควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน กรณีซื้อออนไลน์ให้ซื้อจาก ร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์เรียบร้อยแล้วโดยเฉพาะยาไม่สามารถซื้อออนไลน์ได้ ต้องซื้อจากร้านยาหรือได้รับการตรวจวินิจฉัยและจ่ายจากแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนเท่านั้น



ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ






คุณอาจสนใจ

Related News