อาชญากรรม

วันเดียว 2 รายซ้อน! คิดสั้นโดดสะพานภูมิพลดับ เปิดสถิติ 6 เดือน โดดแล้ว 23 คน ช่วยได้ 16 คน

โดย thichaphat_d

16 พ.ค. 2565

179 views

วานนี้ (15 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พระประแดง  ได้รับแจ้งมีผู้กระโดดสะพานภูมิพล 1 ทิศทางขึ้นจากถนนพระราม 3 มุ่งหน้าลงถนนสุขสวัสดิ์ จึงรุดไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ ทราบชื่อนาย พยุง คำนวนศิลป์ อายุ 41 ปี ชาวสมุทรปราการ มีอาชีพขับจักรยานยนต์รับจ้างในซอย ประชาอุทิศ 90

ได้ขับรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Yamaha สีขาวดำ จอดอยู่ติดราวสะพานด้านใน และด้านราวสะพานด้านนอก พบหมวกกันน็อกครึ่งใบสีเหลืองวางไว้อยู่ที่พื้น ตำรวจตรวจสอบไม่พบผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ จึงทำการตรวจสอบคนภายในรถ พบสิ่งของเอกสารประจำรถและบัตรประชาชนที่ระบุชื่อ จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว ไปเก็บรักษาที่ สภ.พระประแดง

นายสมโภชน์ เทียนหลง อายุ 40 ปี ผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า ตนได้ขับรถขึ้นมาบนสะพานทางถนนสุขสวัสดิ์ ตนก็ขับมาเรื่อยเรื่อยจนมาถึงจุดเกิดเหตุ ก็เห็นว่ามีวัยรุ่นและสายตรวจกำลังยืนมุงดูคล้ายว่ามีเหตุอะไรเกิดขึ้น ตนจึงลงไปถามดู กลุ่มวัยรุ่นก็บอกว่า มีผู้ชายกระโดดจากสะพานลงไป พอตนมองไปข้างล่าง ก็เห็นว่ามีมือโผล่ขึ้นมาจากน้ำแต่ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้

อีกรายพบชายขี่จักรยานยนต์มาโดดสะพาน ใกล้เคียงกับรายแรก ตรวจสอบเอกสารในรถ พบบัตรประชาชนระบุเป็นชายอายุ 22 ปี

ด้านพันตำรวจโท ธนกฤต รวยอารี รอง สส. สภ.พระประแดง  ได้ไปตรวจสอบกล้องวงจรปิด ศูนย์ควบคุม CCTV ของหมวดบำรุงทางชนบทวงแหวนอุตสาหกรรม เพื่อขอดูเหตุการณ์ซึ่งค่ำคืนที่ผ่านมา มีผู้กระโดดสะพานภูมิพล 1 จำนวน 2 ราย ในค่ำคืนเดียวกัน และจุดเกิดเหตุบริเวณที่เดียวกัน

และก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 11 พ.ค. ก็มีพนักงานชายไรเดอร์ส่งอาหาร ก่อเหตุกระโดดสะพานภูมิพลเช่นเดียวกัน จากนั้นวันรุ่งขึ้นพบร่างรออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่น่าสังเกตในช่วงนี้ มักมีเหตุกระโดดสะพานภูมิพลเพื่อฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านบริเวณนั้น คิดว่าน่าจะเป็นอาถรรพ์หรือเป็นความเฮี้ยนหรือไม่

นายพิทักษ์ ใจหลวง หมวดบำรุงทางชนบทวงแหวนอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากกรณีที่มีคนกระโดดสะพานภูมิพลอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งล่าสุดในคืนเดียวก็มีเหตุกระโดดสะพานถึง 2 และจากการดูกล้องวงจรปิดทั้งสองราย เขาขึ้นมาและรีบกระโดดเลย ทำให้รู้ว่าเขาขึ้นมาเพื่อตั้งใจที่จะกระโดด ทางเจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที

ส่วนเรื่องมาตรการที่ให้ติดแผ่นตาข่าย หรือเพิ่มแผ่นกันเสียงบริเวณกลางสะพาน ซึ่งไม่สามารถทำได้เพราะเป็นโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถ้าเอากำแพงหรืออะไรที่ไปต้านลมบนสะพาน จะทำให้มีปัญหากับโครงสร้างของสะพาน มันผิดกับทางวิศวกรรมโครงสร้างขนาดใหญ่ที่อยู่ที่สูงด้วย ซึ่งแรงลมทำให้มีผลต่อสะพานและแรงสวิงของสะพาน

รูปแบบของสะพานภูมิพล ไม่ได้สร้างมาเพื่อให้จักรยานยนต์ขึ้นไปขับขี่บนสะพาน เพราะระหว่างระดับน้ำทะเลกับสะพานภูมิพล มีความสูงห่างกันถึง 50 เมตร จึงทำให้แรงลมมีค่อยข้างเยอะ ทางวิศวกรรมมองแล้วว่าถ้าจักรยานยนต์ขึ้นมาขับขี่บนสะพานอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงทางอุบัติเหตุได้สูง

ซึ่งจะเห็นได้ตามสื่อทางโทรทัศน์และทางโซเชียลว่า มีเหตุจักรยานยนต์ขับขึ้นไปบนสะพานภูมิพลแล้วเกิดอุบัติเหตุและพลัดตกลงมา หรือขับขี่ขึ้นไปด้วยความเร็วจนเข้าโค้งพลิกเสียหลักชนแท่นแบริเออร์ แล้วกระเด็นตกลงมาข้างล่างสะพานก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

หรือมีจักรยานยนต์ที่ขับล้มเอง เพราะด้วยแรงลมหรือมีรถขนาดใหญ่ ทางเราก็ได้รับแจ้งจากผู้ใช้ถนนและชาวบ้านว่าให้เพิ่มแบริเออร์ให้สูงขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วการออกแบบ ทางวิศวกรรมคิดมาตั้งแต่เริ่ม วิเคราะห์มาแล้วว่า ถ้าเป็นรถขนาดใหญ่หรือรถยนต์ที่ใช้บนสะพาน ก็ไม่ค่อยมีความเสี่ยงที่จะพลิกตกลงมา

อยากจะประชาสัมพันธ์ถึงผู้ใช้รถใช้ถนนใช้สะพานว่า ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ ก็ไม่อยากให้ขี่จักรยานยนต์ขึ้นมาบนสะพานเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เอง ส่วนเรื่องมาตรการ ป้องกันคนกระโดดสะพาน ก็อาจจะเพิ่มยามเฝ้าสะพานให้เดินตรวจถี่ขึ้น หรือช่วงที่มีโอกาสที่คนจะมากระโดดสะพาน ตอนช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00 น. หรือ ช่วงรุ่งสาง ซึ่งเวลาช่วงนี้ทางคนที่จะมากระโดดอาจจะมีปัญหากับครอบครัวหรือสามีภรรยาทะเลาะกันและอื่นๆ ก็จะเป็นช่วงที่คนมากระโดดบ่อยครั้ง

จากสถิติที่มีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 มีคนมากระโดดทั้งหมด 23 ราย ก็มี 7 รายที่กระโดดแล้วเสียชีวิต ส่วนที่เหลือก็สามารถช่วยเหลือได้ทัน ที่ช่วยเหลือได้ทันก็เพราะรับแจ้งจากผู้ใช้บนสะพาน และ รปภ.บนสะพาน และจากกล้อง CCTV ที่สามารถจับภาพได้จึงได้แจ้งประสานกับรปภบนสะพานให้เข้าไปช่วยเกลี้ยกล่อม

ด้าน พันตำรวจเอก ประเสริฐ เฮงสุวรรณ ผกก.สภ.พระประแดง ได้กล่าวว่า จากปัญหาที่มีคนกระโดดสะพานภูมิพลขึ้นบ่อยครั้งนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้รับแจ้งเหตุได้รับแจ้งเหตุก็รีบเดินทางไปตรวจสอบโดยเร็วเพื่อป้องกันการสูญเสีย แก้ปัญหาหรือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ต้องปล่อยให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นหน่วยงานที่คอยสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดซ้ำ

ตนได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ผู้บัญชาที่ ปฏิบัติหน้าที่หากได้รับแจ้งเหตุ บนสะพานภูมิพลหรือเหตุที่มีคนที่พยายามทำร้ายตัวเองโดยการโดดสะพาน ให้เร่งรัดเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุโดยเร็ว เพื่อเป็นการยับยั้งมิให้เกิดความเสียหายร่างกายและชีวิตต่อผู้ ที่จะลงมือก่อเหตุ และในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ต่อผู้ที่จะก่อเหตุและเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วยเหลือ



คุณอาจสนใจ

Related News