ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว 'ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์' สำหรับเด็ก แก้ปัญหาเด็กแหวะยา

สังคม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว 'ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์' สำหรับเด็ก แก้ปัญหาเด็กแหวะยา

โดย panwilai_c

5 ส.ค. 2564

37 views

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คิดค้นสูตร ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ต้านเชื้อไวรัสสำหรับสำหรับเด็กและผู้ป่วย ที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย เตรียมให้สถานพยาบาลลงทะเบียนขอรับยาหรือนำไปผลิตเอง 6 สิงหาคมนี้


ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกันแถลงข่าว การพัฒนาและคิดค้นสูตร “ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” ต้านเชื้อไวรัสสำหรับสำหรับเด็กและผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด สำหรับใช้ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตำรับแรกในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันเด็กมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 12 ของผู้ป่วยในประเทศไทย ในส่วนของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีผู้ป่วยเด็กติดโควิด-19 คิดเป็นร้อยละ 10 การ หากให้ยาต้านไวรัสผู้ป่วย ภายใน 4 วันหลังมีอาการ จะช่วยลดการป่วยหนักและลดการเสียชีวิตได้


ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่าผู้ป่วยเด็กทั้งหมดมีจำนวน 1 ใน 3 ที่จำเป็นต้องใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ แต่การให้ยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็ก ขณะนี้ต้องใช้วิธีการบดยาละลายน้ำ มีข้อจำกัดยามีตะกอน ปริมาณยาที่ได้รับไม่แน่นอน มีรสขม ติดลิ้น ทำให้เด็กกลืนยาก แต่สำหรับยาน้ำเชื่อมที่ผลิตขึ้น สามารถใช้ได้เลย ปริมาณยาคงที่และกินง่าย


การให้ยาจะให้วันละ 2 ครั้ง ห่างครั้งละ 12 ชั่วโมง ส่วนปริมาณที่ให้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเด็ก และเฉลี่ยการใช้ยาจะอยู่ที่ 5 - 10 วัน ตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา ดังนั้นโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ผลิตยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับใช้ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยต้องรับประทานให้หมดภายใน 30 วัน เก็บรักษาในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียล


หากหน่วยงานใดจะนำตำรับยาไปผลิตในโรงพยาบาลอื่นๆ ราชวิทยาลัยยินดีช่วยควบคุมมาตรฐาน เพราะสถานการณ์ระบาดแบบนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้ยาเร็วที่สุด


พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า การให้ยาในโรงพยาบาลไม่มีปัญหา เพราะในผู้ป่วยเด็กหรือผู้สูงอายุ ไม่สามารถกินอาหารเองได้ ต้องตรวจเชื้อโควิดด้วยแอนติเจน เทสต์คิท ก่อน หากเป็นบวกก็ให้ยา จากนั้นค่อยตรวจซ้ำ ด้วยการตรวจแบบ RT-PCR


ในส่วนคนไข้อื่นที่ไม่ใช่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้วางแผนว่า จะหาหน่วยบริการอื่นๆมาร่วมมือ ทั้งการให้ยา ติดตามคนไข้ และอนาคตจะให้ร่วมผลิตในโรงพยาบาลเพราะสามารถผลิตได้ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยินดีช่วยควบคุมมาตรฐาน สำหรับการจอง ต้องเป็นหน่วยงาน โรงพยาบาล หรือแพทย์ ที่ต้องการยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์เท่านั้น จะเปิดให้ขอยารับยาได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม ผ่านเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/O-bl-WobkCg

คุณอาจสนใจ