UNODC ร่วมตรวจสอบของกลาง 11.5 ตัน เป็นยาเคทั้งหมดหรือไม่

สังคม

UNODC ร่วมตรวจสอบของกลาง 11.5 ตัน เป็นยาเคทั้งหมดหรือไม่

โดย

22 พ.ย. 2563

1.4K views

สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.ส่งมอบตัวอย่างของกลางที่ตรวจสอบเบื้องต้นเป็น ยาเค หรือ สารเคตามีนแต่ผลในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พบว่าเป็นสารไตรโซเดียมฟอสเฟต ให้กับผู้แทน UNODC ไปตรวจสอบคู่ขนาน เพื่อความโปร่งใส โดยเลขาธิการ ป.ป.ส.ยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกลาง เชื่อว่าในจำนวนของกลาง 11.5 ตันอาจมีการซุกซ่อนยาเครวมอยู่ด้วย 
นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. นำ นายเจเรมี่ ดั้กลาส ผู้แทน สำนักงานป้องกันยาเพสติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC และ พลตำรวจโท มนตรี ยิ้มแย้ม ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ตรวจสอบของกลาง 11.5 ตัน ที่ตรวจยึดได้จากโกดัง ใน ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 12 พ.ย.63 ซึ่งผลการตรวจสอบสารตัวอย่างในวันเกิดเหตุเบื้องต้น มีสีม่วงเป็นสารคีตามีน แต่หลังจากนำตัวอย่างจาก 66 กระสอบ ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เป็นสารไตรโซเดียมฟอสเฟต ทำให้ต้องตรวจสอบของกลางที่เหลืออีก 406 กระสอบ ว่าจะมีสารคีตามีนหรือไม่ ซึ่งจากมาตรการในการเคลื่อนย้ายของกลางมาเก็บไว้ในห้องมั่นคง สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 1 อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีการปิดกุญแจแน่นหนา มีกล้องวงจรปิดติดตามตลอด 24 ชั่วโมง จึงยืนยันได้ว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกลาง หรือทำลายหลักฐานได้อย่างแน่นอน
ข้อสงสัยของสังคมที่ตั้งคำถามว่า ของกลางที่เคยตรวจพบเป็นยาเคแล้วเปลี่ยนเป็นสารไตรโซเดียมฟอสเฟท ที่ไม่ใช่ยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฏหมายนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอิทธิพลหรือไม่ จึงได้รับคำยืนยันทั้งจากเลขาธิการ ป.ป.ส.และผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติว่า ไม่พบนักการเมืองเกี่ยวข้องในคดีนี้ เนื่องจากที่มาของการตรวจยึดของกลาง 11.5 ตัน มาจากข้อมูลของทางการไต้หวัน ที่ตรวจยึดยาเคได้ 300 กิโลกรัม ซึ่งส่งทางเรือมาจากประเทศไทย จึงให้ไทยตรวจสอบที่มา จนมาพบโกดังที่เก็บของกลางเป็นกระสอบระบุชื่อเป็นสารไตรโซเดียมฟอสเฟต ตรงกับที่ไต้หวันตรวจพบ แต่ในส่วนของไต้หวัน พบว่า มีการบรรจุสารคีตามีน หรือยาเคในกระสอบ น้ำหนัก 25 กิโลกรัม จำนวน 12 กระสอบ แล้วนำมาปะปนกับสารอื่น ที่มีทั้งหมด 600 กระสอบ ซึ่งของกลางที่ไต้หวันตรวจยึดได้ยังมี สาร โบรโม - 4 เมทิลโพรพิโอ ฟีโนน ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิต ไอซ์ ซึ่งผิดกฏหมายของไต้หวัน ส่วนอีก 2 สาร เป็น โซเดียม คาร์บอเนต และ-ไตรโซเดียมฟอสเฟต ที่ไม่ผิดกฏหมาย 
นายเจเรมี่ ดั้กลาส ผู้แทนสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC มาร่วมเป็นสักขีพยาน ในการตรวจสอบครั้งที่ 2 โดยในครั้งแรกที่ตรวจพบโกดังเก็บของกลาง Mr.Jeremy ได้ไปร่วมตรวจสอบด้วย ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่ผลตรวจสารเบื้องต้น จะไม่ตรงกับห้องแล็บ ซึ่งเคยพบลักษณะแบบนี้ ทาง UNODC จึงจะนำสารตัวอย่างไปด้วยสอบคู่ขนานให้กับทาง ป.ป.ส.ด้วย โดยทางนักวิทยาศาสตร์ ของ ป.ป.ส.และ ศูนย์พิสิจน์หลักฐาน บช.ปส.ได้เก็บตัวอย่างสารในกระสอบของกลางให้ทาง UNODC และ เป็นครั้งแรกที่ทาง UNODC พบการใช้สารไตรโซเดียมฟอสเฟท อำพราง ส่งออกยาเค
พล.ต.ท.มนตรี ยิ้มแยม ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เปิดเผยว่า คดีถือเป็นคดีข้ามชาติ ที่ในวันพรุ่งนี้ ทาง ป.ป.ส.จะไปแจ้งความร้องทุกข์ กับ พนักงานสอบสวน บช.ปส.เพื่อยื่นเรื่องต่อ สำนักงานอัยการสูงสุด ในการตั้งพนักงานสอบสวนร่วม เพื่อขยายผลติดตามตัวผู้เกี่ยวข้องกับเครือข่ายค้ายาเคข้ามชาติกลุ่มนี้
เลขาธิการ ป.ป.ส.ยอมรับว่า คดีนี้มีข้อมูลจับกุมมาจากไต้หวัน จับกุมของกลางที่ขนส่งผ่านเรื่อบันทุกสินค้า 600 กระสอบ น้ำหนัก 16 ตัน มียาเค 300 กิโลกรัม ซุกซ่อนไปด้วย จึงอาจเป็นไปได้ ที่ยาเคของกลาง 475 กระสอบ น้ำหนัก 11.5 ตัน ที่พบในไทย จะมียาเคซุกซ่อนในบางกระสอบ เนื่องจากในวันจับกุม พบอุปกรณ์ในการเย็บกระสอบอยู่ในโกดังด้วย หรือหากไม่มีเลย คดีนี้ก็จะต้องขยายผลหาตัวผู้กระทำผิดให้ได้ และถือเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบการใช้สารไตรโซเดียมฟอสเฟทในไทย และขบวนการค้ายาเสพติดนำมาใช้อำพรางในการขนส่ง ซึ่งเบื้องต้นไม่พบว่าเจ้าของโกดังเกี่ยวข้อง เพราะทำหน้าที่ให้เช่า แต่พบว่า ผู้เช่าได้ขอเช่าเพื่อเก็บเฟอร์นิเจอร์ แต่กลับใช้เก็บสารไตรโซเดียมฟสเฟท ซึ่งพบผู้เช่าเป็นคนไทย จึงมั่นใจว่าจะขยายผลติดตามเครือข่าย จากแหล่งผลิต การขนส่งเข้าประเทศไทย และส่งออกไปไต้หวัน
สำหรับสารไตรโซเดียมเฟส และโซเดียมคาร์บอเนต มีราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ลงนามโดย นายไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดคุณภาพมาตรฐานของคลอริเนเต็ด ไตรโซเดียมฟอสเฟท เป็นสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือ ฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร หรือสารที่ใช้เป็นสารสำคัญหรือสรออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ประเมินความปลอดภัยและพิจารณาอนุญาตตามคำแนะนำของคณะกรรมการอาหารว่าด่วยวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งเป็นผลึกหรือผงสีขาว ซึ่งในการผลิตทางการค้าอาจมีการเติมสาร ที่เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณคลอรีนอิสระที่ทำให้ผลึกเป็นผงสีอื่นได้ ในกรณีที่มีการใช้น้ำยาตรวจสารเสพติดแล้วพบเป็นสีม่วงเป็นคีตามีน และต่างจากห้องแล็บ ทางป.ป.ส.จะมีเอกสารยืนยันเป็นทางการอีกครั้ง และต้องรอผลตรวจสอบของกลางทั้งหมดด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ