ม็อบไม่ถอย นายกฯ ไม่ออก ประเทศไทยจะไปทางไหนต่อ?

เศรษฐกิจ

ม็อบไม่ถอย นายกฯ ไม่ออก ประเทศไทยจะไปทางไหนต่อ?

โดย

29 ต.ค. 2563

582 views

จากการอภิปรายการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อระดมสมองหารือวิกฤติการชุมนุมทางการเมืองของประเทศ 
ในวันแรกหลายคนมองว่าการอภิปรายส่วนใหญ่เป็นการตอบโต้ ระหว่าง ส.ส. ฝ่ายค้าน กับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างเสียเวลาไปกับการโต้เถียงกัน
โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ขอเปิดประชุม และกำหนดการไว้ 3 เรื่องสำคัญ ดังนี้
1.สถานการณ์ที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาด COVID-19 และเหตุที่มีการนัดหมายชุมนุมทางการเมืองในหลายพื้นที่
2.การขัดขวางขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2563 กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพฯ
3.การสลายการชุมนุม บริเวณสี่แยกปทุมวัน เมื่อคืนวันที่ 16 ต.ค. ด้วยการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง 
ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. หลายท่าน มีความพยายามพูดในเรื่องที่ต้องการพูด แม้จะเสี่ยงต่อการถูกประท้วง หลายท่านจึงพูดถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น การลาออก ของนายกรัฐมนตรี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนการปฏิรูปสถาบันเป็นเรื่องต้องห้าม เพราะผิดข้อบังคับการประชุม 
รวมไปถึงข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้ชัดเจนจะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วน โดยไม่มีการเตะถ่วงเวลาหรือเล่นปาหี่
ส.ส.ฝ่ายค้านหลายคนเรียกร้อง ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ขณะที่ ส.ว.ยืนกรานว่า นายกรัฐมนตรีไม่ต้องลาออก และยังมีส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐ ลุกขึ้นอภิปราย พร้อมถามกลับว่า “ท่านนายกฯ ทำความผิดอะไร ท่านทุจริตคอรัปชั่นตรงไหน บริหารบ้านเมืองล้มเหลวอย่างไร” 
มีสมาชิกบางท่านอย่างนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ออกเสียงประชามติ ถามผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั่วประเทศ 50 ล้านคนว่า เห็นด้วยกับการชุมนุมหรือไม่ เพื่อที่จะได้ข้อยุติซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตยทางตรง ไม่ใช่คนหลักหมื่นมาอ้างเสียงของประชาชนทั้งประเทศ
เศรษฐกิจไทย ทรุดหนักมาก วิเคราะห์ลึก เมื่อไหร่จะฟื้น?
ส่วนแง่มุมของเศรษฐกิจไทย ทางรายการได้รับเกียรติจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มาพูดคุยหามุมมองในเรื่องของเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่ต้องใช้คำว่า ค่อนข้างวิกฤตทีเดียว ซึ่งจะมีหนทางหาทางออกได้อย่างไร 
- ระดับของเศรษฐกิจไทยตอนนี้อยู่ในวิกฤตไหน 
ดร.นิพนธ์ : วิกฤตหนักมาก เพราะว่ามันหนักกว่าปี 2540 - 2541 ซึ่งมีผลติดลบมากกว่า ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนพยากรณ์ แต่ว่าตอนนี้อยู่ระหว่างติดลบ 8% หรือ 10% ค่อนข้างหนัก และที่หนักมากก็คือจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ 
และทั้งนี้ คนที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ว่างงาน รายได้ลดลง หรือหยุดทำงานชั่วคราว ประมาณ 20 กว่าล้าน ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีการศึกษาต่ำ ไม่เกินมัธยม ระดับรากฐาน ไม่เหมือนกับวิกฤต 40 ที่ผู้ได้รับผลกระทบส่วนมากเป็นนักธุรกิจ ซึ่งมองแล้วคิดว่าหนักกว่าทุกครั้ง 
- คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณเท่าใด เศรษฐกิจไทยจึงจะฟื้นตัว  
ดร.นิพนธ์ : ไม่มีใครรู้ แต่มีคนคาดกันโดยยึดเอาการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยสมาคมท่องเที่ยวต่างประเทศของสากล ได้คาดคะเนว่า ไม่ต่ำกว่า 3 ปี เพราะการท่องเที่ยวบ้านเราใหญ่มาก โดยเฉพาะต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวประเทศไทยเมื่อปี 62 ก็มีจำนวน 40 ล้านคน ในแง่ของรายได้คิดเป็น 18% ของ GDP ประเทศไทย 
แม้ว่าวัคซีนที่ใช้รักษาโควิด-19จะสามารถใช้งานได้ แต่คนก็ไม่แน่ใจ ทำให้ไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาสู่ปกติได้เมื่อไหร่ ถึงแม้จะมีวัคซีน อย่างที่สหรัฐอเมริการ ดร. ฟลาวซีน ได้บอกว่า วัคซีนน่าจะเริ่มพัฒนาจริงจังคือ ช่วงธันวาคมที่จะถึง แต่ก็จำกัดในคนของวงการสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก 
- หากลองเสี่ยงเปิดประเทศ สถานการณ์จะเป็นประมาณไหน? 
ดร.นิพนธ์ : ส่วนตัวผมเองที่เขียนบทความเรื่อง เปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวจีน โดยไม่กักตัว ซึ่งทำไมต้องเขียน เพราะ 1. เรารู้ว่าประเทศจีนตอนนี้ค่อนข้างปลอดภัยมากกว่าไทย และเขาก็ใช้การท่องเที่ยวในประเทศจีนกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งได้ผลเพราะประเทศจีนใหญ่มาก และมีจำนวนประชากรเยอะมาก 
นอกจากนี้ เราก็รู้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ตกงาน มาจากภาคบริการ ภาคท่องเที่ยว หรือภาคขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้า ซึ่งไม่มีงาน และยังโชคดีว่าคนบางส่วนกลับไปภาคเกษตร ทว่าก็มีโชคร้ายตรงที่ครัวเรือนเกษตรมีรายได้น้อยมาก ทำให้ต้องกู้ยืมเงิน ซึ่งปัจจุบันสภาพการกู้หนี้ยืมสินของครัวไทยแย่มาก อยู่ระดับ 80% และมีแนวโน้มเลวร้ายลง อีกทั้งหากไม่มีรายได้ไปใช้หนี้ อาจทำให้เกิดการสูญเสียที่ดิน 
- สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ชัดเจน และม็อบหลายฝ่ายยกระดับการชุมนุมขึ้นทุกขณะ ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด
รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/l8SZJLBE7jo

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ