นายกฯแจงสภา ยันจำเป็นต้องจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หลังฝ่ายค้านชำแหละ 'งบลวงพราง'

เลือกตั้งและการเมือง

นายกฯแจงสภา ยันจำเป็นต้องจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หลังฝ่ายค้านชำแหละ 'งบลวงพราง'

โดย

2 ก.ค. 2563

15.8K views

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2564 วงเงิน 3,300,000 ล้านบาท (3.3 ล้านล้าน)

นายรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้แจงหลัง ส.ส.พรรคก้าวไกล นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ขอให้ปรับลดงบประมาณในการจัดซื้อ อาวุธยุทโธป กรณ์  มองว่าขณะนี้ประเทศต้องเจอกับภัยคุกคามรูปแบบจากโรคระบาดโควิด-19 ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหาร ตั้งข้อสังเกตการจัดสรรงบของกระทรวงกลาโหมว่าเป็น 'งบลวงพราง' ลวงว่าลดแต่ไม่ได้ลด

ด้านนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นงบผูกพันข้ามปี เพราะต้องใช้เวลาในการผลิต ที่ผ่านมากองทัพไม่ได้รับการสนับสนุนให้จัดซื้ออาวุธใหม่เลย ทำให้ที่มีอยู่กว่า 70 -80% เป็นของเก่า จึงจำเป็นต้องจัดหามาทดแทน เพื่อไม่ให้ สูญเสียงบประมาณในการซ่อมบำรุง ยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการป้องกันอธิปไตย ต้องมีการเตรียมพร้อมไม่ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม หากอาวุธยุทโธปกรณ์ ไม่ทันสมัย ก็จะเป็นปัญหาในอนาคต

ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม แจงในประเด็นโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นโครงการปี 2563 แต่ต้องชะลอไว้ เพื่อโอนงบเข้าสู่งบกลางเพื่อนำไปช่วยโควิด จึงต้องมาดำเนินการในปี 2564 แทน ยืนยัน ความมั่นคงเศรษฐกิจทางทะเลของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ประเทศในภูมิภาคให้ความสำคัญในการเพิ่มดุลอำนาจทางทะเล โดยมีถึง 4 ประเทศอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ

ซึ่งการจัดซื้อแต่ละครั้งมีระยะเวลาในการดำเนินการ ซื้อปีนี้กว่าจะเสร็จเข้าประจำการณ์ได้ใช้เวลาอีก 6-7 ปี หากเริ่มโครงการในปีงบประมาณ 2564 จะได้เรือในปี 2569 เลยทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้เราเสียเปรียบดุลทางทะเลกับประเทศอาเซียนถึง 8-10 ปี

พล.อ.ชัยชาญ กล่าวว่า  แม้ว่าจะไม่ได้เอาไปรบกับใคร แต่เป็นการรักษาความมั่นคงทางทะเล เป็นยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศที่มีสูงถึง 24 ล้านล้านบาท

ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/ioOF7ebTXbM

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ