การบินไทยหั่นเงินเดือน พนง.ต่ออีก 3 เดือน อดีตปธ.สหภาพฯ ชี้ผิดกฎหมาย อาจทำแผนฟื้นฟูล่ม

เศรษฐกิจ

การบินไทยหั่นเงินเดือน พนง.ต่ออีก 3 เดือน อดีตปธ.สหภาพฯ ชี้ผิดกฎหมาย อาจทำแผนฟื้นฟูล่ม

โดย

1 มิ.ย. 2563

4K views

มีรายงานว่าการบินไทย ประกาศหั่นเงินเดือนพนักงานตั้งแต่ 10-60% ต่อไปอีก 3 เดือนระหว่าง มิ.ย.-ส.ค.2563 โดยอ้างเหตุผลกำลังเข้าสู่การฟื้นฟูและผลกระทบโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดบินขาดรายได้ โดยจะเตรียมออกเอกสารให้พนักงานเซ็นยินยอมภายใน 15 มิ.ย.นี้

ด้านนายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า จากข่าวการขยายเวลาการลดเงินเดือนต่ออีก ขณะนี้ยังไม่มีการออกเอกสารทางการแจ้งมายังพนักงาน ว่าจะมีการขยายเวลาการปรับลดเงินเดือน

แต่หากบอร์ดใหม่มีมติขยายเวลาลดเงินเดือน จะมีปัญหาข้อกฎหมายตามมาแน่นอน เพราะเมื่อบริษัทเป็นเอกชน บอร์ดไม่สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 13(2) ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 มาลดเงินเดือนพนักงานได้

อำนาจบอร์ดในการลดเงินเดือนหมดไปด้วย ใครจะกล้าลงนามเพราะผิดกฎหมาย จึงอาจทำให้ไม่มีการออกจดหมายแจ้งมติบอร์ดเป็นทางการ รวมทั้งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี คนปัจจุบัน นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ยังมีหลายสถานะมาก อาจมีปัญตามมาถ้าพนักงานฟ้องศาล สถานะของดีดี ซึ่งเป็นผู้ลงนามออกประกาศ มีความทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่อยู่หลายตำแหน่ง คือ

1.รักษาการดีดี ถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดตามโครงสร้างการบริหารงานตามระเบียบบริษัท

2.รักษาการดีดี เป็นบอร์ดบริหารงานในคณะกรรมการบริหารของบริษัทซึ่งเป็นผู้ชงเสนอเรื่องการปรับลดเงินเดือนพนักงาน ให้บอร์ดบริหารมีมติอนุมัติการขยายเวลาการลดเงินเดือนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา

3.สถานะภาพของรักษาการดีดี ที่เป็นหนึ่งในบริหารที่ร่วมกับคณะกรรมการบริษัท พิจารณาอนุมัติในการขยายเวลาปรับลดเงินเดือนพนักงาน

4.สถานะดีดีถูกเสนอชื่อไปยังศาลล้มละลายกลาง ให้เป็นหนึ่งในผู้บริหารแผนฟื้นฟู

5.สถานะรักษาการดีดี ในฐานะรองปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทการบินไทย

ประเด็นข้อกฎหมายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจจะส่งผลให้แผนฟื้นฟูถึงกับล่ม ถ้ารักษาการดีดีใช้อำนาจหน้าที่ไปแบบผิดกฎหมาย ในการลงนามประกาศการขยายเวลาปรับลดเงินเดือนพนักงาน เพราะใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 หรือ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 นายจ้างประกาศลดเงินเดือนหรือลดสิทธิสภาพการจ้างพนักงานโดยฝ่ายเดียวมิได้ ต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อน แต่ตอนนี้การบินไทยไม่มีสหภาพแล้ว ไม่มีฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายลูกจ้างก็ยังไม่ได้ยินยอม

ดังนั้นก่อนที่รักษาการดีดีจะลงนามในประกาศลดงินเดือน ต้องพิจารณา ประเด็นข้อขัดแย้งในตำแหน่งหน้าที่ และประเด็นความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายด้วย เพราะหากมีจดหมายแจ้งทางการเรื่องขยายเวลาลดเงินเดือนเมื่อไหร่ ผมจะใช้อำนาจส่วนบุคคลตามกฎหมายฟ้องศาลแน่นอน ในข้อหาละเมิดสิทธิ์สภาพการจ้างงาน หากพนักงานคนไหนอยากฟ้องสามารถมอบอำนาจให้ผมเป็นคนฟ้องได้ และผลของการฟ้องร้องศาลจะคุ้มครองไปถึงพนักงานทุกคน

ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/UuMdzxgqhqg

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ