เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'บ้านเรือนสมัยรัตนโกสินทร์'

ไลฟ์สไตล์

เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'บ้านเรือนสมัยรัตนโกสินทร์'

โดย

20 มี.ค. 2563

2K views

ณ ห้องสง่าศรีสถาปัตยกรรม ภายในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งห้องนี้บอกเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับแบบแผนบ้านเรือนของคนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ 
อย่างเช่น ในยุคสมัย รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓ ยังคงนิยมสร้างเป็นเรือนไม้ อยู่กันคล้ายกลับสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังเมื่องถึง รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศไทยติดต่อกับชาวตะวันตกมากขึ้น ทำให้ได้รับแบบอย่าง และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาปัตยกรรม
'เรือนเครื่องสับ' หรือ 'เรือนฝากระดาน' เป็นเรือนแบบไทยยกพื้นสูง สร้างขึ้นโดยใช้ไม้เนื้อแข็ง ที่ถาวรคงทนเป็นโครงสร้างทั้งหลัง ตกแต่งหน้าจั่วด้วยปั้นลม
'เรือนเครื่องผูก' เป็นเรือนของคนงานรับจ้าง ไพร่สม และทาส ใช้วัสดุที่ไม่คงทนถาวรมาผูก เป็นเรือน เช่นไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลานและหวาย 
'เรือนแพร' เป็นเรือนที่ตั้งอยู่บนแพรไม้ไผ่ ผูกเสาจอดลอยอยู่ในน้ำ ตัวเรือนมีทั้ง 'เรือนเครื่องสับ' และ 'เรือนเครื่องผูก'
บ้านเรือนในสมัยรัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕ นิยมสร้างแบบก่ออิฐ ถือปูน เป็นเรือนตึกแบบชวาและสิงคโปร์ เรียกว่าตึก 'กะหลาป๋า' มีหน้ามุก ใช้เป็นหน้ารับแขก ส่วนตึกของหลวงที่สร้างไว้รับรองชางต่างประเทศ จะเป็นหลังคาทรงปั้นหยา
สมัยรัชกาลที่ ๖ มีคฤหาสน์สำหรับขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์สูง เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ส่ววประชาชนทั่วไปสร้างเรือนไม้ มีมุกอย่างน้อย ๑  แห่ง หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์รูปขนมเปียกปูน เรียกว่า 'กระเบื้องว่าว'
ชมผ่านยูทูปได้ที่นี่ : youtu.be/gXyygZ4hILw

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ