สังคม

'วิโรจน์' หนุน 'สุทิน' แก้กฎหมายกลาโหม ชี้แต่ต้องแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว

โดย parichat_p

21 เม.ย. 2567

56 views

'วิโรจน์' เห็นด้วยในหลักการ หลัง 'สุทิน' เสนอแก้ 'กฎหมายกลาโหม' แต่ต้องแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว เหตุเป้าหมายสูงสุด คือทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ แนะ ควรปรับสัดส่วน 'สภากลาโหมง ให้เหลือแค่ 11 คน-มีทหารไม่เกินกึ่งหนึ่ง หวั่น สื่อสาร 'การแต่งตั้งข้าราชการระดับนายพล' ให้ ปชช.เข้าใจผิด ขออย่าโยง 'สถาบันฯ' ลงมาพัวพัน


21 เม.ย. 2567 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสนอให้สภากลาโหม รับทราบร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร ซึ่งได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีคำสั่งให้พักราชการทันที เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้าราชการทหารผู้ใด ที่ใช้กำลัง ทหาร เพื่อยึดหรือควบคุม อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากรัฐบาล หรือเพื่อก่อการกบฏ ว่า ตนเห็นด้วยในหลักการอยู่แล้ว แต่ควรแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว เพราะเป้าหมายสูงสุดในการแก้คือ ทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ หรือ รัฐซ้อนรัฐ และอำนาจการตัดสินใจของกองทัพจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลพลเรือน แต่ที่นายสุทินเสนอเป็นเพียงการแก้แค่องค์ประกอบเท่านั้น ยังไม่ถึงแก่น


นายวิโรจน์ มองว่า ควรปรับแก้อำนาจของสภากลาโหมด้วย ให้มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจใดๆ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรี ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลพลเรือน


ส่วนการให้สภากลาโหมมีอำนาจในการวีโต้หรือเห็นแย้งคำสั่งนั้น จะต้องเป็นสถานการณ์เฉพาะ เช่น ในภาวะศึกสงคราม เป็นต้น แต่ในภาวะทั่วไปถ้าสภากลาโหมมีอำนาจเหนือรัฐมนตรี คิดว่าไม่ถูกต้อง


ที่สำคัญ การแต่งตั้งทหารระดับนายพล ก็ควรอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และมี ระบบคุณธรรมกำกับ คือมีหลักเกณฑ์ชัดเจน ไม่มีระบบเส้นสายอุปถัมภ์ ไม่มีการวางเครือข่ายของตนเอง เพื่อมานั่งทับความผิดของอดีตผู้บังคับบัญชาของตนเอง และทั้งหมดนี้ ควรอยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งสภากลาโหมไม่ควรมาแทรกแซงได้


ส่วนจะทำให้เกิดการกลั่นแกล้งได้หรือไม่นั้น นายวิโรจน์ ระบุว่า มีกลไกของศาลปกครองอยู่แล้ว ทำไมต้องมีกระบวนการยุติธรรมเป็นของตนเอง ข้าราชการกระทรวงอื่นยังใช้กลไกของศาลปกครองได้ แต่ทำไมกระทรวงกลาโหมถึงใช้กลไกของสภากลาโหม


นายวิโรจน์ ยังกล่าวถึงสัดส่วนของสภากลาโหมด้วยว่า ในจำนวน 24 คน มีสัดส่วนของข้าราชการทหารถึง 19 คน ตนมองว่า หากปรับลดให้เหลือเพียง 11 คน แล้วให้มีข้าราชการทหาร 5 คน หรือจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่ง และให้อำนาจกับข้าราชการ หรือคนที่ทางรัฐบาลแต่งตั้งมา ซึ่งอาจเป็นนายทหารเดิมที่มีความเชี่ยวชาญสัก 6 คน ก็จะกำลังดี เพราะหากมีข้าราชการทหารจำนวน 19 คน จาก 24 คน สัดส่วนที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นมา ก็แทบจะไม่มีเลย


สำหรับกรณีที่นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า ’การแก้กฎหมายกลาโหม ให้ฝ่ายการเมืองโยกย้ายทหารได้ โดยไม่ต้องมีพระบรมราชโองการเป็นเรื่องมากไปแล้ว’ นั้น นายวิโรจน์ ย้ำว่า กลไกการแต่งตั้งทหารระดับนายพล ก็ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นปกติอยู่แล้ว


เพราะในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถิตสถาพรอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งนายทหารระดับสูง หรือการแต่งตั้งอธิบดีระดับกระทรวง ก็ควรอยู่ในระบบระเบียบเดียวกัน ทำไมกระทรวงกลาโหมถึงต้องแยกไปเป็นระบบที่แตกต่าง ถ้าการแต่งตั้งของกระทรวงกลาโหม ต้องโยงใยกับพระบรมราชโองการ แล้วจะไม่เกิดคำถาม กับการแต่งตั้งของข้าราชการกระทรวงอื่นๆ หรือ ตนมองว่า ระบบเดิม ที่มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เป็นเรื่องที่เหมาะสมอยู่แล้ว และทำอย่างนี้มาช้านาน ยืนยันว่า ที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ ไม่ได้ทรงแต่งตั้งนายทหารระดับนายพลด้วยพระองค์เองเลย เพราะเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย


ดังนั้น ตนเกรงว่า การสื่อสารในลักษณะแบบนี้ จะทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และเป็นการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับสูง เรื่องนี้ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และต้องย้ำว่า การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงในกระทรวงใดๆ หรือนายทหารระดับนายพล พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้พระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัย ในการแต่งตั้งเลย ต้องมีผู้รับสนองฯ ตามระบบระเบียบของระบอบประชาธิปไตย เพราะเราไม่ได้อยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์จะเข้ามาแทรกแซงได้


นายวิโรจน์ ยังย้ำด้วยว่า การสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่า การแต่งตั้งข้าราชการทหารระดับสูง เป็นการใช้พระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัย ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมาก เพราะหากนายทหารระดับสูงคนนั้น ไปกระทำเรื่องไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไปรังแกเอาเปรียบกดขี่ประชาชน ก็ย่อมระคายเคืองเบื้องพระยุคคลบาทโดยไม่สมควร


เรื่องนี้ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกมธ.การทหาร สภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ตนเห็นด้วยในหลักการอยู่แล้ว แต่ควรแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว เพราะเป้าหมายสูงสุดในการแก้คือ ทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ หรือ รัฐซ้อนรัฐ และอำนาจการตัดสินใจของกองทัพจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลพลเรือน แต่ที่นายสุทินเสนอเป็นเพียงการแก้แค่องค์ประกอบเท่านั้น ยังไม่ถึงแก่น


นอกจากนี้ ยังควรปรับแก้อำนาจของสภากลาโหมด้วย ให้มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เท่านั้น ส่วนการตัดสินใจใดๆ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรี ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลพลเรือน ส่วนอำนาจ วีโต้ หรือเห็นแย้งคำสั่ง จะต้องเป็นสถานการณ์เฉพาะ เช่น ในภาวะศึกสงคราม แต่ในภาวะทั่วไป ถ้าสภากลาโหม มีอำนาจเหนือรัฐมนตรี นายวิโรจน์ ชี้ว่า ไม่ถูกต้อง


นายวิโรจน์ ยังชำแหละสัดส่วนของสภากลาโหม จำนวน 24 คน มีสัดส่วนของข้าราชการทหาร ถึง 19 นาย ตนมองว่า หากปรับลดให้เหลือเพียง 11 คน แล้วให้มีข้าราชการทหาร 5 นาย หรือจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่ง และให้อำนาจกับข้าราชการ หรือคนที่ทางรัฐบาลแต่งตั้งมา ซึ่งอาจเป็นนายทหารเดิมที่มีความเชี่ยวชาญสัก 6 คน ก็จะกำลังดี เพราะหากมีข้าราชการทหารจำนวน 19 นาย จาก 24 คน สัดส่วนที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นมา ก็แทบจะไม่มีเลย


ส่วนการแต่งตั้งทหารระดับนายพล นายวิโรจน์ เห็นว่าควรอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และมี ระบบคุณธรรมกำกับ คือมีหลักเกณฑ์ชัดเจน ไม่มีระบบเส้นสายอุปถัมภ์ ไม่มีการวางเครือข่ายของตนเอง เพื่อมานั่งทับความผิดของอดีตผู้บังคับบัญชาของตนเอง และทั้งหมดนี้ ควรอยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งสภากลาโหมไม่ควรมาแทรกแซงได้


ส่วนจะเกิดการกลั่นแกล้งหรือไม่นั้น ก็มีกลไกของศาลปกครองอยู่แล้ว นายวิโรจน์ ทิ้งท้ายว่า เหตุใดทหารต้องมีกระบวนการยุติธรรมเป็นของตนเอง ข้าราชการกระทรวงอื่น ยังใช้กลไกของศาลปกครองได้ แต่ทำไมกระทรวงกลาโหม ถึงต้องใช้กลไกของสภากลาโหม


"ตนเห็นด้วยในหลักการอยู่แล้ว แต่ควรแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว เพราะเป้าหมายสูงสุดในการแก้คือ ทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ หรือ รัฐซ้อนรัฐ และอำนาจการตัดสินใจของกองทัพจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลพลเรือน แต่ที่นายสุทินเสนอเป็นเพียงการแก้แค่องค์ประกอบเท่านั้น ยังไม่ถึงแก่น"


นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม  และร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ว่ายังไม่เห็นรายละเอียดทั้งของเดิมและของใหม่จึงยังพูดไม่ได้ แต่คิดว่าการปรับปรุงพ.ร.บ.กลาโหมเป็นเรื่องที่ดี เพราะ พ.ร.บ.กลาโหมฉบับที่ใช้ปัจจุบัน ออกตั้งแต่สมัยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติรัฐประหาร


ส่วนการแก้ไขคุณสมบัตินายพลจะสามารถป้องกันการรัฐประหารได้หรือไม่นั้น นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่าไม่ขอก้าว ลึกไปขนาดนั้นเพราะไม่ทราบในรายละเอียด


สำหรับเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ยืนยันไปแล้วว่าไม่มีการเปลี่ยน แต่หากมีการเสนอสูตรใหม่เพิ่มเก้าอี้ครม.ให้พรรคประชาชาติจะทบทวนหรือไม่นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จบแล้วเพราะการปรับตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นเรื่องของนายกฯ เราไม่เข้าไปยุ่ง แต่ประธานและรองประธานสภาฯ เป็นเรื่องของสภาฯไม่เกี่ยวโยงกัน


เมื่อถามย้ำว่า หากมีการเสนอเก้าอี้รองนายกฯ เพื่อให้ไปดูแลพื้นที่ภาคใต้ แลกกับเก้าอี้ประธานสภาฯ จะพิจารณาทบทวนหรือไม่นายวันมูหะมัดนอร์ ไม่ตอบคำถามและเดินออกจากวงสัมภาษณ์ทันที

คุณอาจสนใจ

Related News