สังคม

กรมประมงแจ้งความเอาผิด 3 บริษัทนำเข้าหมู-เนื้อ ปลอมแปลงเอกสาร อ้างเป็นหัวปลาแซลมอน

โดย parichat_p

25 มี.ค. 2567

97 views

กรมประมงแจ้งความเอาผิดบริษัทผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ 3 ราย ที่ปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และสำแดงเท็จ อ้างว่านำเข้าหัวปลาแซลมอนแช่แข็งจากบราซิล แต่แท้จริงเป็นเนื้อหมูและเนื้อวัว ลักลอบนำเข้าประเทศ โดยแ สร้างความเสียหายรวมกว่า 3 พันล้านบาท โดยกรณนีนี้เชื่อมโยงกับคดีลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน ที่ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษอยู่ด้วย


ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเจ้าหน้าที่กรมประมง/ กรมปศุสัตว์/ ตำรวจ ปบค. /เจ้าหน้าที่ ปปง.และชุดเฉพาะกิจพญานาคราช แถลงความคืบหน้าการคลี่คลายคดีการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์เถื่อจากต่างประเทศ โดยวิธีสำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามและเลี่ยงภาษีอากร


ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่าหลังจากชุดเฉพาะกิจปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรและสุ่มตรวจตู้คอนเทนเนอร์ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อเดือนธันวาคม 2566 พบการซุกซ่อนชิ้นส่วนเนื้อสุกรปะปนมากับสินค้าประเภทประมง และขยายผลจนทราบบริษัทผู้เกี่ยวข้อง


จากนั้นได้ตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ จนพบว่ามีการทำเอกสารปลอมขึ้น จึงแจ้งความต่อตำรวจสอบสวนกลาง ให้เอาผิดผู้เกี่ยวข้อง รวมกว่า 220 คดี อธิบดีกรมประมงชี้แจงว่า วันที่ 18 มกราคม ได้แจ้งความผิด 3 บริษัท จำนวน 20 คดี แยกเป็นบริษัทศิขัณทิน เทรดดิ้ง 9 คดี บริษัท สมายด์ ท็อป เค เอนเตอร์ไพร์ส 9 คดี และบริษัทบริบูรณ์ เทรดดิ้ง 2 คดี รวมเป็น 20 คดี


จากนั้นวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ได้แจ้งความเอาผิดบริษัทศิขัณทิน เพิ่มอีก 200 คดี รวมคดีของทั้ง 3 บริษัทนี้จำนวน 220 คดี ข้อกล่าวหาคือปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารที่ปลอมแปลงขึ้นเพื่อเพื่อสำแดงการนำเข้า สำแดงข้อมูลการนำเข้าเป็นเท็จ และข้อหานำข้อความเท็จข้อสู่ระบบคอมพิวเตอร์


นายบัญชา ระบุว่าพฤติกรรมของบริษัทผู้ถูกกล่าวหาคือปลอมแปลงใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบขออนุญาตนำเข้าต่อด่านตรวจประมงชลบุรี เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากบราซิลแล้วพบว่าเป็นเอกสารปลอม


นายบัญชาได้แจ้งข้อกล่าวหาเพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำหลักฐานมาชี้แจง ขณะที่ตำรวจสอบสวนกลางระบุว่าทั้ง 3 บริษัทดังกล่าววขอเลื่อนให้การในภายหลัง เนื่องจากต้องเตรียมเอกสารมาชี้แจง


ขณะที่ร้อยเอกธรรมนัส ระบุว่าการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าวที่อ้างว่านำเข้าปลาแซลมอนและปลาจวดนั้น แท้จริงเป็นเนื้อหมูเถื่อนมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนกิโลกรัม และเนื้อวัวเถื่อนอีกกว่า 4 ล้านกิโลกรัม สร้างความเสียหายต่อรายได้กว่า 1400 ล้านบาท และในกรณีที่บางบริษัท ปลอมแปลงเอกสารเพิ่มเป็น 2 เท่า ก็ทำให้ความเสียหายเพิ่มเป็นกว่า 3 พันล้านบาท พร้อมกันนี้ ยังกำชับว่าหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้อง กับการทำเอกสารปลอม หรือใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นก็ต้องถูกดำเนินคดีด้วย


มีรายงานงานเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงที่พบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารนำเข้าลักษณะนี้อีก ที่อาจจะมากว่า 400 คดี


สำหรับบริษัทศิขันทิณ บริษัทสมายด์ ทอปเค เอนเตอร์ไพร์ส และบริษัทบริบูรณ์ เทรดดิ้ง รวม 3 บริษัทนี้ ต่างก็มีชื่อเป็นผู้เข้าสินค้าจากต่างประเทศ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังดำเนินคดีอยู่เช่นกัน แต่ในกรณนี้กรมประมงพบว่ามีการใช้เอกสารแสดงสุขภาพสัตว์น้ำเป็นเท็จ จึงแจ้งความที่ตำรวจสอบสวนกลางไว้ โดยข่าว 3 มิติ ตรวจสอบพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะถูกโอนไปให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไปดำเนินการต่อเนื่องจากเกี่ยวโยงถึงกัน


นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า นายกรินทร์ ปิยพรไพบูลย์ ผู้ต้องหาในคดีลักลอบสวมสิทธิ์ส่งตีนไก่ไปประเทศจีน ที่มีหมายจับศาลอาญา จะเดินทางจากต่างประเทศ เข้ามอบตัวที่ดีเอสไอในเช้าวันพรุ่งนี้ด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News