สังคม

จับเพจปลอมหลอกขายทุเรียนทิพย์ สัปดาห์เดียวพบกวาดเงินกว่า 1 ล้านบาท

โดย panwilai_c

2 พ.ย. 2566

66 views

มิจฉาชีพหลอกขายสินค้าออนไลน์ โดยสร้างเพจให้เหมือนเพจจริง และแนบเนียน ทำให้ลูกค้าหลงเชื่อ เพราะมีการซื้อเพจที่มียอดผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเฉพาะเพจขายทุเรียน ขายอาหารทะเล และอาหารแห้ง มีการพูดคุยกับลูกค้าให้มั่นใจว่าได้รับสินค้าจริง



ทำให้เพียงสัปดาห์เดียวมียอดลูกค้าสั่งซื้อถึง 500 ราย นับเป็นการฉ้อโกงทางออนไลน์ ที่มีประชาชนถูกหลอกมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง



การเข้าไปสั่งซื้อสินค้าจากการขายผ่านออนไลน์ เป็นที่นิยมของคนในยุคปัจจุบัน ทำให้มีผู้นิยมหันมาทำเพจโปรโมทขายสินค้ากันจำนวนมาก แต่กลายเป็นอีกช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาสวมรอยเพจจริง โดยมิจฉาชีพกลุ่มนี้จะเริ่มจาก การซื้อ เพจที่มียอดไลน์หลักหมื่นมา หลังจากนั้นจะสวมรอยเป็นเพจขายสินค้าตามฤดูกาล



เช่นการสวมรอยเป็นเพจสวนขายทุเรียน เมื่อไม่มีต้นทุน จึงจัดโปรโมท แบบลดแลกแจกแถม เพื่อให้คนสนใจสั่ง แต่ไม่เคยส่งของให้ลูกค้าจริง เพื่อความแนบเนียน จึงมีการจ้างแอดมิน ให้มาตอบคอมเมนต์ในเพจ ว่าสินค้าส่งเร็วทันใจ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ



เมื่อมีคนติดตามในเพจมาก เกิดความน่าเชื่อถือ ทำให้มีกำไรจากการขายทุเรียนทิพย์ สัปดาห์เดียวมีผู้สั่งซื้อร่วม 500 คน มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ซึ่งเพจเปิดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จึงน่าจะมีผู้เสียหายจำนวนมาก เมื่อฤดูกาลทุเรียน หมดลง ก็จะเปลี่ยนไป



สวมรอยเป็นเพจของร้านขายอาหารทะเลบ้าง ร้านขายหมูกรอบ ซึ่งแอบอ้างเพจของดารา บ้าง แต่ละเพจ จะมีผู้ติดตาม เกินกว่า 1 หมื่นคนไปจนถึง กว่า 2 หมื่น คน หากลูกค้าถามมาว่าจะส่งสินค้าเมื่อไร ก็จะตอบบ่ายเบี่ยง อ้างไปต่างๆนาๆ



ตำรวจปราบปราบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ใช้เวลาสืบสวน จนทราบว่ามีนายปุริม เป็นแอดมินเพจ ปลอม ร่วมกับนายกุลพล และนส.เสาวลักษณ์ ทำหน้าที่ ซื้อเฟสบุ๊ค และเพจที่มียอดผู้ติดตามเกินหมื่นคน



ว่าจ้างคนกดไลน์ และสนทนากับลูกค้า ซื้อแอดโฆษณา ยังมีผู้ที่ซื้อบัญชีม้า พร้อมซิมโทรศัพท์ และผู้ทำหน้าที่ถอนเงินจากบัญชีม้า ผู้ต้องหา 4 คนถูกจับได้ที่ จ.สงขลา และ จ.สุราษฎร์ธานี โดยเป็นคนครอบครัวเดียวกันและเพื่อน โดยคนร้ายได้ถอนเงินจากตู้เอทีัเอ็มหลายแห่ง มีการเปลี่ยนยานพาหนะทำให้จับได้ยาก



พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผู้บังคับการ กองบังคับการกการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่า การหลอกลวงซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ เป็นความเสียหายเป็นอันดับ 1 ของการหลอกทั้งหมด และเป็นความเดือดร้อนของประชาชน



ขณะที่ พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.กก.2 ปอท. ระบุว่า การซื้อของทางออนไลน์

มีความเสี่ยงที่จะเป็นเพจปลอม เลียนแบบ และทำได้น่าเชื่อถือ ก่อนโอนจะต้องตรวจสอบ ชื่อผู้อื่นก่อนว่าติดแบล็คลิส หรือเป็นมิจฉาชีพหรือไม่



หากประชาชนเคยถูกมิจฉาชีพ กลุ่มนี้แอบอ้างเพจชายสินค้า ให้แจ้งความทางออนไลน์ ได้ที่เว้บไซค์ Thaipoliceonline.com เพื่อเป็นการเพิ่มโทษให้กับผูู้ต้องหา ที่ทำผิดต่างกรรมต่างวาระเพื่อจะได้ไม่ทำผิดซ้ำซาก

คุณอาจสนใจ

Related News