เลือกตั้งและการเมือง

ส่องสื่อนอก มองการเมืองไทย หลังศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง 'พิธา' หยุดทำหน้าที่

โดย nut_p

20 ก.ค. 2566

220 views

จากกรณีที่เมื่อวันที่  19 ก.ค. ที่ผ่านมา  รัฐสภามีมติไม่ให้เสนอชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นผู้เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบที่ 2  และในวันเดียวกันศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำสั่งให้นายพิธา ยุติการปฏิบัติหน้าที่ จากกรณีถือหุ้นไอทีวี



โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจและนำเสนอจากสื่อต่างชาติเป็นจำนวนมาก



CNN https://edition.cnn.com/2023/07/19/asia/thai-court-suspend-pita-limjaroenrat-lawmaker-intl-hnk/index.html



โดย CNN ได้เสนอข่าวดังกล่าว โดยในรายงานระบุว่า  พรรคก้าวไกลมีนโยบายที่จะปฏิรูปโครงสร้างเชิงลึกของประเทศไทย  ทั้งเรื่องได้แก่เปลี่ยนการทหาร เศรษฐกิจ การกระจายอำนาจ รวมถึงการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112



พร้อมบอกด้วยว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญและรัฐสภาเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่เร่งความโกรธในใจของกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล ซึ่งจะนำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาทางพรรคได้รับความนิยมและได้ที่นั่งมากที่สุดในสภา





REUTERS https://www.reuters.com/world/asia-pacific/last-chance-thailands-pita-become-pm-parliament-votes-2023-07-19/

ขณะที่ รอยเตอร์ส ก็รายงานเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า

หัวหน้าพรรคก้าวไกล พรรคที่ชนะการเลือกตั้งของไทย เผชิญอุปสรรคในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เมื่อศาลรัฐธรรมนูญระงับหน้าที่ ส.ส. และฝ่ายตรงข้ามโหวตไม่ให้เสนอชื่อพิธาซ้ำ



การขัดขวางของพิธาก็แสดงชัดเจนในการโหวตครั้งแรกผ่าน ส.ว.  ซึ่งมาตามรัฐธรรมนูญมที่ถูกเขียนขึ้นหลังการรัฐประหารปี 2557



รอยเตอร์สบอกด้วยว่าพรรคก้าวไกลใช้โซเชียลมีเดียหาเสียงโปรโมทการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ จนชนะการเลือกตั้ง แต่แต่จุดยืนของก้าวไกลสร้างความขัดแย้งกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม จนนำมาสู่การดำเนินคดีต่อนายพิธาและพยายามให้สมาชิกสภาขัดขวางไม่ให้พิธาเป็นนายก





AP https://apnews.com/article/thailand-prime-minister-pita-parliament-abae8fb79aa4a1844d3195a6fcb14b63



เช่นเดียวกับ  AP  ได้นำเสนอความเห็นของเจค็อบ ริคส์ อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ Singapore Management University ที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกเขียนขึ้นเพื่อคงความอนุรักษ์นิยมไว้ในการเมืองไทย ชะตากรรมของพิธาหรือพรรคเสรีนิยมใดๆ ก็ตามถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง



ขณะที่เพตรา อัลเดอร์แมน นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ และนักเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร กล่าวว่า ปัญหาหลักของเรื่องนี้คือ พรรคอนุรักษ์นิยมไม่สามารถชนะการเลือกตั้ง และหลังการรัฐประหารก็สร้างระบอบการปกครองที่ไร้ซึ่งประชาธิปไตยและสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองที่ ‘ผิด’ ในสายตาของพรรคอนุรักษ์นิยมมาเป็นรัฐบาล



รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจ   กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  ให้สามารถการตัดสิทธิ์นักการเมืองหรือพรรคการเมืองได้ง่ายขึ้น





NBC https://www.nbcnews.com/news/world/thailand-parliament-vote-prime-minister-move-forward-rcna94535

ขณะที่ NBC  รายงานว่า โอกาสที่พิธาจะได้เป็นนายกมีน้อยมากๆ มี ส.ว. เลือกเพียง 13 คนเท่านั้น เนื่องจากพรรคก้าวไกลมีนโยบายจะแก้ ม.112



พร้อมมองด้วยว่า หลังจากเหตุการณ์  สื่อได้ให้ความสนใจไปที่ใครจะมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ แทนพิธา ซึ่งคาดว่าแคนดิเดตจะมาจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ที่นั่ง 141 ที่ในสภา น้อยกว่าพรรคก้าวไกลเพียง 10 ที่เท่านั้น



อย่างไรก็คามถ้าแคนดิเดตจากเพื่อไทยไม่ได้รับโหวตมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะถูกกดดันให้รวบรวมพรรคร่วมใหม่ และลดพรรคที่มีแนวคิดเสรีนิยมลง รวมถึงไม่รับพรรคก้าวไกลเข้าร่วมเพราะจุดยืนของก้าวไกลถูกมองเป็นอุปสรรคต่อการประนีประนอม



ขณะที่พรรคก้าวไกลได้แสดงจุดยืนว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกครองที่ทหารหนุนหลังนาน 9 ปี



ผศ.ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ความเห็นว่าพรรคก้าวไกลคงยินดีที่จะเดินออกมาเองและรู้สึกว่าพรรคได้ให้เกียรตินโยบายที่หาเสียงกับประชาชนไว้  และด้วยจุดยืนนี้  ‘ทำให้การเมืองเดินหน้าไปได้ยาก’






The New York Times https://www.nytimes.com/2023/07/19/world/asia/pita-limjaroenrat-prime-minister-thailand.html

ส่วน นิวยอร์ก ไทมส์  ได้รายงานถึงการประท้วง ที่มีขึ้นหลังพิธาถูกสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่และไม่ให้เสนอชื่อนายพิธาซ้ำ



และมองว่าจากนี้ แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยน่าจะเป็นเศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองน้อยนิด ซึ่งถ้าพรรคร่วมใหม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เศรษฐาอาจถูกโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และเศรษฐาจะแสดงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำรัฐประหารปี 2557



อีกทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือ เพื่อไทยจะให้อีกพรรคที่อยู่ฝั่งอนุรักษ์นิยมเสนอแคนดิเดตแทย ซึ่งอาจเป็นพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ



บทวิเคราะห์ของนิวยอร์ก ไทมส์ มองด้วยว่า ถ้านายเศรษฐา ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลายคนคงมองว่าเป็นชัยชนะสำหรับกระบวนการประชาธิปไตย นักลงทุนต่างชาติอาจมองว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลคงจะโกรธที่พรรคก้าวไกลถูกขัดขวางจัดตั้งรัฐบาล



ส่วนขนาดของการประท้วงขึ้นกับว่า นายกฯ คนใหม่จะเป็นใครหากเป็น “เศรษฐา”   การประท้วงคงจะไม่ใหญ่มาก แต่หากเป็น พล.อ.ประวิตร การประท้วงน่าจะตึงเครียด

คุณอาจสนใจ

Related News