เศรษฐกิจ

'พิชัย' ชี้ 'แบงก์ชาติ' ไม่ใช่องค์กรอิสระ ต้องทำงานสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ลั่นต้องคุยถึงบทบาทที่ชัดเจน

โดย nattachat_c

9 พ.ค. 2567

56 views

วานนี้ (8 พ.ค. 67) กรรมกรข่าว คุยนอกจอ ได้คุยกับ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับรอยร้าวของรัฐบาลกับแบงก์ชาติ


นายพิชัย กล่าวว่า แบงก์ชาติ ไม่ใช่องค์กรอิสระ เป็นหน่วยงานรัฐ จะต้องทำงานสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ตัวนี้สำคัญมากซึ่งจะไปมีส่วนในเงินเฟ้อเงินฝืด เช่น ห้ามเกิน 3% ห้ามต่ำกว่า 1% ดังนั้น ผมมองว่ากรอบเงินเฟ้อที่ตกลงกับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ตอนนี้ต่ำกว่ากรอบ ดังนั้น ต้องคุยกันถึงบทบาทที่ชัดเจน 


ส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูง มาจาก GDP ที่ต่ำ บางคนต้องไปกู้ พอเงินกู้เต็มก็ต้องไปกู้หนี้นอกระบบ แล้วปัญหาจะตามมา 

--------------

วันที่ 7  พ.ค.ที่ผ่านมา  นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์หนี้บัตรเครดิตไทย โดยระบุว่า


“ข้อมูลไตรมาสที่ 1/2567 เกี่ยวกับสินเชื่อบัตรเครดิต จากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนของเครดิตบูโร โดยตั้งแต่ต้นปี 2567 การจ่ายชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิตจะต้องเริ่มต้นที่ 8%จากเดิมที่ผ่อนผันในช่วงการระบาด covid-19 ที่กำหนดไว้ 5%


โดยมีคำถามมาโดยตลอดว่า ถ้ากติกาใหม่ออกมาจะทำให้หนี้เสีย หรือ NPLs กระโดดมั้ย จะทำให้หนี้กำลังจะเสียหรือ SM กระโดดหรือไม่  โดยหากดูตัวเลข ณ มีนาคม 2567 ยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมด 24 ล้านใบ เป็นเงิน 5.5 แสนล้านบาท เติบโต 3.2% ช่วงเดียวกันปีก่อน ถ้าเทียบจากสิ้นปี 2566 หดตัว 5.1% จากไตรมาสก่อนหน้า ถือว่าไม่มีอะไรแปลกใจ


แต่หากดูตัวเลขบัญชี สินเชื่อบัตรเครดิตที่เป็น NPLs ค้างเกิน 90 วันจะมีจำนวนประมาณ 1 ล้านบัตรเศษ คิดเป็นยอดเงิน 6.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 14.6% จากปีก่อน อันนี้เริ่มไม่สบายใจแล้วครับ


ไม่เพียงเท่านั้น  หากมาดูยอดหนี้ที่เป็น SM หรือ หนี้ที่กำลังจะเสีย  พบว่ามีจำนวนบัตรที่ชำระหนี้ได้แบบตะกุกตะกัก ติดๆ ขัดๆ 1.9 แสนบัตร  จำนวนเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 32.4% จากปีก่อน มาถึงตรงนี้เริ่มตาโตแล้วครับว่า แค่สามเดือนแรกของการปรับเพิ่มยอดชำระขั้นต่ำ ทำไมมันเกิดการกระโดดใน SM

----------------

รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/qnu9MMdot0Y

คุณอาจสนใจ

Related News