สังคม

เปิดมุมมอง 'แฟนคลับเกาหลี' กับความรู้สึกที่สังคมไม่เคยเข้าใจ

โดย

5 ธ.ค. 2562

2K views

นับว่าเป็นปีทองสุด ๆ ของอุตสาหกรรมเพลงเกาหลี K-Pop ที่ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ยาวจนถึงเดือนธันวาคม มีศิลปินเกาหลีทั้งบอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปมาทัวร์คอนเสิร์ตและแฟนมีตติ้งที่ประเทศไทย เอาใจแฟนคลับถึงที่ สร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับติ่งเกาหลีเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อมองกลับไป 5 ปีให้หลังมานี้ การที่ศิลปินเกาหลีจะมาทัวร์คอนเสิร์ตหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่แฟนคลับชาวไทยจะได้ใกล้ชิดกับพวกเขาแบบนี้

ขอบคุณภาพจากเพจ SM True

(ขอบคุณภาพจากเพจ SM True)

ในปี 2019 นอกจากวงการเคป็อบจะเข้ามาตีตลาดในไทยมากขึ้นแล้ว สิ่งที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นก็คือการที่สามารถขยายฐานแฟน ๆ ซึ่งจะสังเกตสิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ อย่างการที่ฝ่ายตลาดของบริษัทในประเทศไทยได้ลงทุนเงินจำนวนมหาศาลเพื่อซื้อตัวไอดอลเกาหลีในการมาเป็น Ambassador ให้กับสินค้าเพื่อดึงดูดและเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท แม้แต่องค์กรทางการเงินอย่างธนาคารที่ยุคก่อน ๆ ไม่จำเป็นจะต้องมี Brand Ambassador เพื่อช่วยในการโปรโมท ก็ยังดึงตัวเกิร์ลกรุ๊ปที่มาแรงที่สุดในตอนนี้อย่าง BLACKPINK ที่มีสมาชิกชาวไทยอย่างสาว ลิซ่า หรือ ลลิษา มโนบาล ที่กำลังโด่งดังมาก ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เข้ามาตีตลาดอีกด้วย

BLACKPINK (ขอบคุณภาพจากเพจ BLACKPINKOFFICIAL)

BLACKPINK (ขอบคุณภาพจากเพจ BLACKPINKOFFICIAL)

ลิซ่า BLACKPINK (ขอบคุณภาพจากเพจ BLACKPINKOFFICIAL)

ลิซ่า BLACKPINK (ขอบคุณภาพจากเพจ BLACKPINKOFFICIAL)

นอกจากนี้ก็ยังมีคนไทยที่ไปโด่งดังไกลถึงเกาหลีอย่าง นิชคุณ วง 2pm จากค่าย JYP Entertainmen คนไทยคนแรกที่ได้เบิกทางให้กับรุ่นน้องในฐานะศิลปินเกาหลี และรุ่นน้องจากค่ายเดียวกัน แบมแบม Got7หรือ กันต์พิมุกต์ ภูวกุล ก็ได้เดินตามทางอย่างรุ่นพี่นิชคุณไปอย่างสวยงาม ที่ขาดไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง เตนล์ WayV เด็กไทยคนแรกที่เดบิวต์เป็นศิลปินเกาหลี 1 ในค่ายยักษ์ใหญ่ SM Entertainment ซึ่งเป็นอีกคนที่น่าจับตามองมาก ๆ โดยทางค่ายเห็นความสามารถให้เขาได้ร่วมวงโปรเจกต์ใหม่ Super M ที่ได้ร่วมงานกับรุ่นพี่ระดับ Superstar อย่าง แทมิน SHINee แบคฮยอนและไค EXO ไปตีตลาดอเมริกาอีกด้วย นอกจากหนุ่ม ๆ แล้วก็ยังมีสาว ๆ จากค่าย Cube Entertainment สร CLC และ มินนี่ G-IDLE สาวไทยมากความสามารถที่ได้รับความนิยมสุด ๆ ในตอนนี้

นิชคุณ 2PM (ขอบคุณภาพจาก JYP Entertainment)

นิชคุณ 2PM (ขอบคุณภาพจาก JYP Entertainment)

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้การที่เราจะสามารถซื้อบัตรเพื่อเข้าไปชมคอนเสิร์ตของไอดอลได้ง่ายและมากขึ้น หรือแม้แต่การที่จะได้เห็นภาพของพวกเขาได้ตามผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ บนเคาท์เตอร์ร้านสะดวกซื้อ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้การันตีว่ายังมีคนไทยบางกลุ่มที่จะชื่นชอบศิลปินเกาหลีหรือยอมรับการเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลีของคนกลุ่ม ๆ หนึ่งได้

ยังถือว่าเป็นปัญหาสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลีที่แม้ว่าพวกเขาจะประกอบอาชีพอะไร อายุเท่าไหร่ เพศอะไร ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งกวนใจให้กับพวกเขา นั่นก็คือ “ทัศนคติต่อแฟนคลับศิลปินเกาหลี

แบมแบม GOT7 (ขอบคุณภาพจาก JYP Entertainment)

แบมแบม Got7 (ขอบคุณภาพจาก JYP Entertainment)

เมื่อบางคนได้ยินหรือรับรู้ข่าวเกี่ยวกับ แฟนคลับศิลปินเกาหลี ก็จะมีความคิดเห็นที่แสดงออกถึงความไม่ชอบหรือพูดแต่ถึงในด้านลบออกมาด้วยความรู้สึกรังเกียจ หรือหาว่า ติ่งเกาหลี เป็นพวกชังชาติ ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นเกิดจากทัศนคติเชิงลบต่อความชื่นชอบของคนอื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่า สังคมไทยยังมีการเหยียด หรือว่าการ Bully ความชอบของผู้อื่นอยู่ ซึ่งหากลองเปิดมุมมองหรือโลกของคนที่เป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี ว่าพวกเขามีพฤติกรรมหรือความคิดเช่นไรกับสิ่งที่ถูกมองเป็นอย่างที่ตามความคิดเห็นเช่นนั้นหรือไม่

จากผลสำรวจการเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลีพบว่า เป็นเพศหญิงสูงถึง 94.9% และเพศชาย 5.1% อยู่ในช่วงอายุ 15 – 25 ปี สูงถึง 78.3% , ช่วงอายุ 25 – 30 ปี 13.3% , ช่วงอายุมากกว่า 30 ปี 6.7% ซึ่งอยู่ในอาชีพนักเรียน - นักศึกษา สูงถึง 66.7% , พนักงานบริษัท 13.3% และข้าราชการ 8.3% เห็นได้ว่าไม่ได้มีเพียงแต่เด็กนักเรียนที่เป็นติ่งเกาหลีเท่านั้น แต่ยังมีบุคลากรจากอาชีพต่าง ๆ แม้แต่ข้าราชการ, แพทย์, นักกีฬา ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ก็ยังชื่นชอบศิลปินเกาหลีเช่นเดียวกัน

เตนล์ WayV (ขอบคุณภาพจากเพจ SM True)

เตนล์ WayV (ขอบคุณภาพจากเพจ SM True)

ซึ่งการเริ่มเป็นกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีนั้น ส่วนมากมาจากการที่ได้ดูรายการวาไรตี้ต่าง ๆ การดู Musicvideo และการที่เพื่อนชวนให้ติดตามศิลปินเกาหลี โดยผลสำรวจการติดตามเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี พบว่าช่วงระยะการติดตาม 1 - 2 ปี มี 10% , 2 - 3 ปี มี 26.7% , 3 - 4 ปี มี 18.3% , 4 - 5 ปี มี 10% , 5 - 6 ปี มี 6.7% , มากกว่า 6 ปี มี 25% และระยะเวลาที่นานที่สุดก็คือ 12 ปี มีถึง 3.3%

โดยสิ่งที่ลงทุนมากที่สุดในการเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี คือ การดูคอนเสิร์ตเกาหลี 52.5%, การสะสมอัลบั้ม 25.4% และการซื้อของ Official 10.2%

สร CLC (ขอบคุณภาพจากเพจ CLC.UnitedCube)

สร CLC (ขอบคุณภาพจากเพจ CLC.UnitedCube)

ทั้งนี้จากการสอบถามว่า คิดเห็นอย่างไรกับสังคมไทยที่มักจะแสดงความคิดเห็นด้านลบของติ่งเกาหลี ซึ่งแฟนคลับส่วนใหญ่จะมองว่า “ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวแฟนคลับเอง จากหลายสิ่งที่บางคนทำลงไปแล้วมันดูไม่ดี เช่นการไปรอรับศิลปินที่สนามบิน มัวแต่ตามถ่ายศิลปินจนไปรบกวนผู้อื่นและรบกวนศิลปินด้วย อีกส่วนก็มาจากความอคติ ไม่ยอมเปิดใจยอมรับ ไม่จำเป็นต้องชอบแต่ก็ไม่ควรมาว่าร้ายรุนแรงกับคนที่เป็นติ่ง หรืออาจจะมาจากแนวเพลงที่ไม่ถูกใจคนไทยบางกลุ่มก็คิดว่าที่เราเป็นติ่งเพียงเพราะผู้ชายหล่อ ซึ่งมันไม่ใช่ เราก็ดูสิ่งอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่แค่หน้าตา

มินนี่ G-IDLE (ขอบคุณภาพจากเพจ G.I.DLE.CUBE)

มินนี่ G-Idle (ขอบคุณภาพจากเพจ G.I.DLE.CUBE)

อีกทั้ง จากการสอบถามถึงผลกระทบต่อการเป็นแฟนคลับของกลุ่มศิลปินเกาหลีนั้น พวกเขากล่าวว่า “หากมีการจัดการตัวเองที่ดี มีขอบเขตในการเป็นแฟนคลับ รวมไปถึงการมีสติ มันก็จะไม่ส่งผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศ แต่แฟนคลับอีกส่วนหนึ่งก็กล่าวว่า “หากมีผลกระทบก็เป็นเรื่อง-ของเงิน แต่ก็จะกระทบแค่ตัวเอง จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนรอบข้าง”

สุดท้ายทางแฟนคลับได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “อยากให้เคารพในความชอบของบุคคลอื่นบ้าง การที่เราชื่นชอบศิลปินไอดอลเกาหลี ก็คล้ายกับการที่ท่านมีความชอบในเรื่องอื่นที่แตกต่างจากพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นการชอบฟุตบอล การ์ตูน ดาราไทย หรืออื่น ๆ อาจจะมีแฟนคัลบบางพวกที่ทำตัวไม่ถูกกาลเทศะไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ก็มีที่เหลืออีกเยอะแยะมากมาย ที่ไม่ได้ทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้สังคมวุ่นวาย ขอให้เข้าใจในจุดนี้ด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ