เศรษฐกิจ

ความเสี่ยงทางการคลังสูง! ชงทบทวนยกเลิก 'ลดหย่อน-ยกเว้นภาษี' หารายได้ให้ภาครัฐเพิ่ม

โดย nattachat_c

3 ต.ค. 2565

348 views

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนมาตรการยกเว้นภาษี และมาตรการลดหย่อนต่างๆ เพื่อให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น


สาเหตุมาจาก ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ เมื่อเดือนสิงหาคม 65 พบว่า ภาครัฐมีความเสี่ยงทางการคลัง เป็นผลจากสัดส่วนรายได้สุทธิต่อจีดีพี ลดลงต่อเนื่อง จาก 14.64% (ปี 64) เหลือ 13.31% (ปี 65)


การทบทวนมาตรการยกเว้นภาษี และมาตรการลดหย่อนต่างๆ ควบคู่ไปกับการผลักดันการเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บรายได้ ให้มีผลทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ การขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงขยายการจัดเก็บให้ครอบคลุมฐานภาษีใหม่ๆ มีเหตุผลคือ 

  • เพื่อรักษาวินัยและเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
  • รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการปรับลดสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพีให้อยู่ระดับที่ไม่เกิน 3% ซึ่งเป็นระดับที่เอื้อต่อการควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีให้ลดลงได้


ตอนนี้ รัฐบาลมีภาระรายจ่ายสวัสดิการในระดับสูง โดยปีงบประมาณปี 64

  • สวัสดิการของข้าราชการ อยู่ที่ 449,000 ล้านบาท คิดเป็น 13.68% ของงบประมาณรายจ่าย
  • สวัสดิการที่รัฐจัดให้กับประชาชนอยู่ที่ 401,000 ล้านบาท คิดเป็น 12.22% ของงบประมาณรายจ่าย


อีกทั้ง รัฐบาลยังมีความเสี่ยงทางการคลังในอนาคตจากปัญหาของกองทุนประกันสังคม จากเหตุผล ดังต่อไปนี้ 

  • ช่วงวิกฤติโควิด รัฐบาลได้ให้สมาชิกลดเงินนำส่งเข้ากองทุน
  • มีภาระค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 60,000 ล้านบาท


นอกจากนี้ 

  • รัฐบาลยังมีภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ภาระผูกพันจากการดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งปีงบประมาณปี 65 มีภาระผูกพันอยู่ที่ 953,000 ล้านบาท



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/xhO6ezTcHeQ

คุณอาจสนใจ