หลายประเทศระงับเที่ยวบิน 6 ชาติแอฟริกา สกัด "โอไมครอน" โควิดพันธุ์ใหม่

สังคม

หลายประเทศระงับเที่ยวบิน 6 ชาติแอฟริกา สกัด "โอไมครอน" โควิดพันธุ์ใหม่

โดย pattraporn_a

27 พ.ย. 2564

19 views

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มระงับการเดินทางจากประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้มากขึ้น สกัด "โอไมครอน" โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ไม่ให้เข้ามาระบาด


หลังจากที่องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ว่า "โอไมครอน" หรือ "ออมิครอน" ซึ่งเป็นอักษรกรีกตัวที่ 15 และจัดประเภทให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล หรือ แวเรี่ยน ออฟ คอนเซิร์น (variant of concern) ทำให้ตอนนี้มีหลายประเทศเริ่มทะยอยประกาศระงับการเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 8 ประเทศในแอฟริกาตอนใต้ และกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดง ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวาน่า ซิมบับเว นามิเบีย เลโซโท เอสวาตินี่ โมซัมบิค และมาลาวี


ซึ่งหลายประเทศก็เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนผู้ติดเชื้อโอไมครอนตอนนี้พบแล้วใน 5 ประเทศคือ แอฟริกาใต้ บอตสวาน่า ฮ่องกง อิสราเอลและเบลเยี่ยม ขณะที่ประเทศที่ประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินของประเทศกลุ่มเสี่ยง นอกจากสหราชอาณาจักร อิสราเอล และสหภาพยุโรป ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อิหร่าน บราซิล แคนาดา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทยก็ประกาศตามมาแล้ว(ภาพ for HEALTH CORONAVIRUS VARIANT NETHERLANDS AIRPORT


ที่เนเธอร์แลนด์ เมื่อเช้าที่ผ่านมา สาธารณสุขเผยว่า พบนักเดินทางจากแอฟริกาใต้ที่เดินทางถึงสนามบินนานาชาติสคิปโฮลในกรุงอัมสเตอร์ดัม ติดเชื้อโควิด นายน์ทีนแล้ว 61 คน ตอนนี้กำลังตรวจสอบว่า เป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่"โอไมครอน" หรือไม่ (ภาพ สธ.แอฟริกาใต้) ขณะที่นายโจ ฟาห์ลา (Joe Phaahla) รัฐมนตรีสาธารณสุขแอฟริกาใต้ ออกมาวิพากาษ์วิจารณ์ประเทศต่างๆที่แห่ประกาศห้ามการเดินทางว่า ไม่ยุติธรรมและขัดต่อมาตรการของอนามัยโลก เพราะและจนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า โควิดโอไมครอน จะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว-ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกก็ออกมาเตือนประเทศต่างๆอย่าเพิ่งเร่งรีบออกมาตรการควบคุมการเดินทาง ขอเวลาในการประเมินความเสี่ยงและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก่อนตัดสินใจ


ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ในทันทีว่า "โอไมครอน" จะแพร่ระบาดรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า วัคซีนที่มีอยู่จะมีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการต้านทานไวรัสหรือไม่ ซึ่งอนามัยโลก และผู้เชี่ยวชาญอังกฤษ ระบุว่า ต้องใช้เวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์ เพื่อศึกษาเชื้อกลายพันธุ์นี้อย่างละเอียด ด้วยข้อมูลตอนนี้พบการกลายพันธุ์ของโอไมครอนมากกว่า 30 ตำแหน่ง ทำให้ อนามัยโลกจัดให้เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลตัวที่ 5 ต่อจาก อัลฟา เบต้า แกมม่า และเดลต้า


จากหลักฐานต่างๆบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอน หรือชื่อทางวิทยาศาสาตร์ว่า B.1.1.529 นี้มีความเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตราย พบการกลายพันธุ์มากกว่า 30 ตำแหน่ง มากกว่าโควิดเดลต้า ถึง 2 เท่า ทำให้นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า การกลายพันธุ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เชื้อไวรัสมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ นั่นหมายความว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบันที่จะต้านทานไวรัส อาจลดน้อยลง

คุณอาจสนใจ

Related News