ข่าวโซเชียล

หนุ่มดองเหล้าบ๊วย 10 ลิตร จนท.ไม่เชื่อกินคนเดียวหมด ถูกตีเจตนาทำไว้ขาย โดนปรับ 1 หมื่นบาท

โดย thichaphat_d

12 เม.ย. 2565

431 views

ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนของทุกปี เป็นฤดูเก็บเกี่ยวผลบ๊วยทั้งในประเทศไทยรวมถึงต่างประเทศ คนที่ชอบดื่มเหล้า จะใช้ผลบ๊วยมาดองเหล้าไว้กินเอง แต่ในประเทศไทยกลับมีประเด็นที่ถูกพูดถึงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะเพจ Surathai (สุราไทย) โพสต์เนื้อหาที่มีชายคนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตบุกจับถึงบ้าน หลังดองเหล้าบ๊วย 10 ลิตร

โดยเมื่อวันที่ 10 เมษายน แอดมินเพจ Surathai (สุราไทย)  ได้ไลฟ์พูดคุยกับนายเทพ ชายขายเหล้าที่ถูกเจ้าหน้าที่ปรับ ในไลฟ์เขาได้เล่าเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่เข้าไปจับกุม ว่าช่วงแรกเจ้าหน้าที่ได้ขอดูใบอนุญาต จึงให้ดูใบอนุญาต ซึ่งเป็นเรื่องปกติตามขั้นตอนของการลงพื้นที่ ว่าได้ต่อใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่

เมื่อเจ้าหน้าที่เปิดประตูเข้าไป ปรากฎว่าไปเจอโถขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 16 ลิตร วางอยู่ จึงถามว่าอันนี้คืออะไร ขอเปิดดมได้ไหม เขาก็ตอบไปว่าเป็นเหล้าบ๊วย เจ้าหน้าที่จึงเปิดดมดู ประเด็นที่เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจหลังตรวจค้นคือ การดองเหล้าของนายเทพ เป็นการผลิตเพื่อการขายหรือไม่ หรือผลิตในครัวเรือนเพื่อครอบครอง ซึ่งจะมีความผิดต่างกัน  

ซึ่งนายเทพยืนยันว่าบ๊วยดองเหล้า ไม่ได้ทำเพื่อการขาย พร้อมให้ดูเมนูในร้านว่าไม่มีเมนูนี้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อ เพราะมองว่าการดองเหล้าในขวดโหลขนาด 12 ลิตร นายเทพไม่สามารถกินเองได้คนเดียว


จึงดำเนินคดีกับนายเทพ 2 ข้อหานี้ คือ "เปลี่ยนแปลงน้ำสุราเพื่อการค้า" เพราะว่าทำอยู่ในร้านขายสุรา ไม่ว่าจะขายหรือไม่ ก็ตีเจตนาว่าทำเพื่อขายเอาไว้ก่อน ปรับตามมาตรา 196 ไม่เกิน 5,000 บาท (ปรับเต็มอัตรา) นอกจากนั้นการนำสุรามาเทใส่โหลดอง จึงโดนข้อหา "เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อการค้า" ตามมาตรา 157 และมีโทษปรับตามมาตรา 196 ไม่เกิน 5,000 บาทเช่นกัน จึงเสียค่าปรับรวม 10,000 บาท

เมื่อดูกฎหมายสรรพสามิต ระบุอัตราโทษในความผิดต่างๆเกี่ยวกับการผลิตสุราไว้ชัดเจน โดยฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงที่สุดคือ ฐานผลิตสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ปรับ 100,000 บาท / ขายสุราเถื่อน ปรับ 5 หมื่นบาท / ซื้อสุราเถื่อน หรือมีไว้ในครอบครอง ปรับ 1 หมื่นบาท  

ด้านนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ฤดูบ๊วย หรือ ฤดูไถตัง ต้มเหล้ากินเอง ผิดกฎหมาย ? ดองเหล้ากินเอง ผิดกฎหมาย ? ผลิตเพื่อขายในร้าน ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี ? ผลิตเหล้ากลั่น ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 9 หมื่นลิตรต่อวัน ?


กฎหมายเรานี้แปลก ๆ ไหมครับ ซึ่งในตอนนี้วินาทีนี้มีผู้คนที่โดนกฎหมายตัวนี้เล่นงานจำนวนมาก  เริ่มจาก #ประเทศไทยเมืองศิวิไลซ์ มีการตรวจจับทุกหย่อมหญ้า ครั้งนี้ก็อีกรายกำลังนั่งดองอยู่ในร้าน ผ่านมายี่สิบนาทีถูก #กองปราบปราม พาขึ้นท้ายกระบะ ด้วยเหตุผลที่ว่าดองเหล้าบ๊วย 10 ลิตร  

พวกเราทุกคนเข้าใจดีถึงจุดประสงค์ของกฎหมายนี้นะครับ แต่จะให้ผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านต้องไปอยู่บนท้องถนนอีกหรือเพียงเพราะสินค้าล้นตลาดอย่างงั้นหรือ ไม่อยากให้ประชาชนตาดำ ๆ เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้หรือ นี้มันมัดมือชกกันเกินไปจริง ๆ ห้ามทุกอย่างไม่ให้ลืมต้าอ้าปาก ไม่ให้หาทางออกให้กับชีวิตกันเลย

เอาจริง ๆ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงปลายหน้าบ๊วยพอดี เหล่าคนที่ปลูกบ๊วยมักทะยอยเอาผลผลิตออกมาขายกันเยอะกว่าปกติเพราะ บ๊วยจะเก็บผลผลิตได้แค่ “ปีละครั้ง” เท่านั้นคืออช่วงปลายเดือน #กุมภาพันธ์ และจะหมดตอนช่วงปลาย #มีนาคน ต้น #เมษายน หลายคนอาจจะคิดว่า “บ๊วย" ทำดอง ทำตากแห้งอย่างเดียว แต่มีหลาย ๆ คนที่นำบ๊วยมาทำเป็น Umeshu หรือเหล้าบ๊วยกัน

นายเท่าพิภพ ยังอธิบายกระบวนการผลิตเหล้าบ๊วย ที่ต้องเน้นเรื่องความสะอาด เพราะการทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าหากกคุณทำไม่สะอาดมันจะไม่สามารถกินมันได้หรือออกมาดีได้เลย ผมจึงพยายามบอกกับทุกคนว่า คนที่พยายามทำเครื่องดื่มของตนเองทุกคนล้วนมีความตั้งใจสูงมาก ๆ และพยายามล้างเช็ดให้เครื่องดื่มของตัวเองสะอาดอยู่เสมอ ในต่างประเทศบางครอบครัวเค้ามักจะสอนให้ลูกต้มเบียร์เหตุเพราะจะได้ให้ลูกเรียนรู้ถึงความรอบคอบและความสะอาดในการทำอาหาร

แต่ในประเทศนี้เจ้าหน้าที่ดันบอกว่าสิ่งที่พวกเขาสร้าง #มันไม่สะอาด มันไม่ได้มาตรฐาน ผมไม่เถียงในเรื่องนี้ก็ได้ แต่อยากให้หาวิธีการบังคับ การตรวจคุณภาพสินค้าให้เป็นระบบไปเลย อย่ามาพูดลอย ๆ สร้างวิธีการตรวจที่มีคุณภาพและแบบแผนวิธีการผลิตให้ถูกต้องไปเลย ผมเชื่อว่าถ้าวิธีการมันเหมาะสมเมื่อไหร่ เหล่าผู้ผลิตจะสู้เพื่อให้บริษัทตนเองมีมาตรฐานระดับประเทศอยู่แล้ว หรือแม้กระทั้งคนธรรมดาทุกคนก็คงอยากทราบอยู่แล้วว่า "ลูกของเราที่เราผลิตออกมาเนี่ย มันถูกต้องตามมาตรฐานรึเปล่า"


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/AJvnXKOVKYU

คุณอาจสนใจ

Related News