สังคม

กอนช. เตือนพายุ 2 ลูก จ่อเข้าไทยต้น ต.ค. เร่งเตรียมแผนรับมือ ลดพื้นที่น้ำท่วม

โดย panwilai_c

21 ก.ย. 2565

123 views

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประเมินสถานการณ์น้ำในช่วงปลายเดือน กันยายน ถึง ตุลาคม พบว่ามีแนวโน้มมีพายุ 2 ลูก ขอใหัทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีการทำงานประสานกันมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ



นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ประเมินสถานการณ์น้ำ โดยรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ พบว่ามีแนวโน้มของพายุ จำนวน 1-2 ลูก ที่จะเข้ามาทางประเทศไทย โดยคาดว่าจะเข้ามาในช่วงต้นเดือน ตุลาคมนึ้ จึงต้องมีการติดตามประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง



ส่วยปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการไหลประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ในขณะที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำในอัตราประมาณ 1,980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที กรณีหากมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 2,500 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที จะบริหารจัดการน้ำลงมายังท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และระบายออกทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะพิจารณาปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักที่จะไหลเข้ามาสมทบด้วย



เบื้องต้นกำหนดให้มีปริมาณน้ำ ณ สถานี อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมซึ่งอยู่ในอัตรา 3,500 ลบ.ม. ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ลำน้ำเจ้าพระยามีศักยภาพในการระบายน้ำได้ดีพ



สำหรับการผันน้ำเข้าทุ่ง และทางจังหวัดจะเป็นผู้ประกาศเกณฑ์การรับน้ำเข้าทุ่งให้ประชาชนได้รับทราบล่วงหน้า ปัจจุบันทุ่งรับน้ำดำเนินการเก็บเกี่ยวไปแล้วกว่า 90% โดยการเก็บเกี่ยวจะสิ้นสุดประมาณช่วงปลายเดือน ก.ย. นี้ และจะมีการรับน้ำเข้าทุ่งในปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชน



กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์ของประเทศไทยว่าอยู่ในช่วงลานีญา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 20% ของค่าปกติ จึงได้มีการเตรียมพร่องน้ำในเขื่อนต่าง ๆโดยสถานการณ์ปริมาณน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ยังสามารถรองรับน้ำได้มาก โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ทางภาคเหนือ จึงสามารถรองรับน้ำได้หากมีพายุจรเข้ามา รวมทั้งสามารถกักเก็บไว้ใช้น้ำต้นทุนสำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้ด้วย



เลขาธิการ สทนช.เปิดเผยด้วยว่า ได้มีการหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งสถานีสูบน้ำ คลองต่าง ๆ เพื่อรับมือฝนที่มีปริมาณมากด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News