สังคม

กรมชลฯ เดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยชัยภูมิ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก

โดย panwilai_c

15 ก.ย. 2565

188 views

ต้นน้ำลุ่มน้ำชี ที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นหนึ่งพื้นที่ได้รับคำเตือนให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองที่มีสภาพเป็นแอ่งกระทะน้ำท่วมขังได้เร็ว ขณะเดียวกัน กรมชลประทาน ก็หวังแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากด้วยโครงการแก้ปัญหาอุทยภัยเมืองชัยภูมิระยะที่ 1 ซึ่งมีทั้งการขุดลอกคลองใหม่ ขยายคลองเดิมและเพิ่มประตูระบายน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำจากลำปะทาว ให้ผ่านตัวเมืองชัยภูมิน้อยลง ตอนนี้โครงการฯระยะที่ 1 คืบหน้าไปกว่าร้อยละ 25



น้ำท่วมใหญ่ในตัวเมืองชัยภูมิ อย่างน้อย 3 ครั้งปีใน 2553, 2560 และล่าสุด 2564 ที่ผ่านมา สร้างความกังวลใจให้ชาวชัยภูมิไม่น้อยเพราะไม่ต้องการเผชิญปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และแต่ละปีก็นับวันระดับน้ำท่วมจะสูงขึ้น ทั้งจากสภาพอากาศและการขยายตัวของเมือง และแม้ว่าสาเหตุน้ำหลากท่วมจะมาจากหลายทิศทาง แต่ต้นทางน้ำที่ไหลบ่ามาจากลำปะทาว เป็นหนึงในสาเหตุหลัก ที่มาเติมให้น้ำท่วมในตัวเมืองจากลำน้ำอื่นๆ ต้องวิกฤตเพิ่มขึ้นอีก



กรมชลประทานศึกษาพบว่าน้ำที่ไหลป่าจากต้นน้ำลำปะทาวมีราว 325 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่ตัวเมืองชัยภูมิระบายน้ำได้ราว 145 ลูกบากศืเมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำที่มากกว่าศัยภาพการระบาย จึงน้ำท่วมขังเร็วและนาน ที่ผ่านมาจึงมีพื้นที่ถึง 3 หมื่นไร่ หรือร้อยละ 90 ของพื้นที่อ.เมืองชัยภูมิที่ถูกน้ำท่วม



ตอนนี้กรมชลประทานได้เร่งโครงการบรรเทาอุทกภัยในระยะที่ 1 คือการขุดขยายคลองผันน้ำลำปะทาว ถึงสระเทวดา ที่เป็นแก้มลิงเก็บน้ำ ยาวประมาณ 8,400 เมตร ซึ่งจะระบายน้ำได้ราว 150 ลบม.ต่อวินาที และจากนั้นก็ ขุดขยายคลองเชื่อมระหว่างลำปะทาวกับห้วยดินแดง ยาว 1,300 เมตร ระบายน้ำได้ราว 50 ลบม.ต่อวินาที เมื่อรวม 2 คลองนี้จะระบายน้ำได้ราว 200 ลบม.ต่อวินาที จึงเหลือน้ำที่จะผ่านเข้าเมืองช้ยภูมิราว 125 ลบม.ต่อวินาที ไม่เกินศักยภาพที่เทศบาลจะระบายออกได้



นอกจากขุดขยายคลองผันน้ำปะทาว ถึงสระเทวดา และขุดคลองเชื่อมลำปะทาวถึงห้วยดินแดงแล้ว ยังมีประตูระบายน้ำ ที่ใช้ทดน้ำลำปะทาว เข้าคลองขุดใหม่ ใช้ควบคุมฤดูน้ำหลากและกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งด้วย เพราะหลังจากที่คลองเชื่อมและประตูระบายน้ำเปิดใช้แล้ว 4 ตัว ทำให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากน้ำแล้วเช่นกัน



โครงการระยะบรรเทาอุทกภัยระยะที่ 1 คืบหน้าไปราวร้อยละ 25 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดเพราะสถานการณ์โควิด แต่เจ้าเจ้าหน้ที่ระบุว่าจะผลักดันให้แล้วเสร็จในปี 2568 จากนั้นยังจะมีโครงการอีกในระยะที่ 2 คือสร้างแหล่งกักเก็บเพื่อชะลอน้ำ ระยที่ 3 สร้างระบบผันน้ำห้วยยางบ่า-ถึงลำชีลอง เพื่อตัดยอดน้ำฝั่งตะวันตกของเมือง และระยะที่ 4 คือเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำที่ปลายทาง ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมืองชัยภูมิลงสู่แม่น้ำชีโดยเร็ว ซึ่งจะลดทั้งปริมาณน้ำและระยะเวลาที่ท่วมขังในตัวเมืองชัยภูมิได้ด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News