สังคม

'กรมสุขภาพจิต' เผยกลุ่มคิดสั้นในปี 2560-2564 มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นช่วงวัยเรียน มากกว่าวัยทำงาน

โดย parichat_p

30 ส.ค. 2565

63 views

จำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จในระหว่างปี 2560 – 2564 พบว่าแนวโน้มที่สูงขึ้น คือกลุ่มวัยเรียน และวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวก็ระบุว่ากระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นความร่วมมือไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาความเครียดที่มากขึ้น ในกลุ่มวัยรุ่นที่อายุน้อยลง


ความเครียดจากการถูกกดดัน ด้านการศึกษา เป็นหนึ่งในสาเหตุความเครียดของวัยรุ่น ที่อยู่ในช่วงวัยการศึกษา ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต พบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และทำร้ายร่างกายตนเองในวัยเรียน มีอัตราเพิ่มขึ้น มากกว่าการทำร้ายและฆ่าตัวตายของคนในวัยทำงาน 4 เท่า ขณะที่อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่าเป็นปรากฎการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด แต่ครอบครัวสามารถเป็นทางออกที่ดีให้วัยรุ่นได้


ข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยโดยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ซึ่งรายงานข้อมูลที่มาจากศูนย์ป้องกัน การฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2560 ถึง 2564 พบว่าจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จของวัยเรียนและวัยทำงาน ช่วงอายุ15-34ปี มีอัตราเพิ่มขึ้น มากกว่า อัตราการเพิ่มของการฆ่าตัวตายของกลุ่มคนวัยทำงานที่อายุเกิน 34 ปีขึ้นไป ถึง 4 เท่า


แยกเป็นอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในกลุ่มวัยเรียนอายุ 15-24 ปี ในปี 2563 มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 428 คน และปี 2564 เสียชีวิต 439 คน ส่วนในกลุ่มวัยทำงาน ตอนต้น อายุ 25-34ปี พบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในปี 2564 จำนวน 956 คน มากกว่า ปี 2563 จำนวน 896 คน นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี 2564 คนไทยมีอัตราความเครียดสูง นำไปสู่การฆ่าตัวตาย สำเร็จอยู่ที่ 7.8 คน ต่อแสนประชากร หรือกว่า 5,000 คน


แพทย์หญิงอัมพร ยังระบุว่าแม้สถานการณ์โควิด19 จะทำให้คนไทยมีความเครียดสูง แต่จากการติดตามพบว่าอัตราการ ฆ่าตัวตายสำเร็จยังคงอยู่ที่ 7.8 คนต่อแสนประชากร ซึ่งรายงานจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จในระหว่างปี 2560 – 2564 พบว่าแนวโน้มที่สูงขึ้น คือกลุ่มวัยเรียน และวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวก็ระบุว่ากระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นความร่วมมือไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาความเครียดที่มากขึ้น ในกลุ่มวัยรุ่นที่อายุน้อยลง


อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังระบุว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีรายงานที่เห็นชัดในประญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ เพราะสถานการณ์เมื่อเดือนเมษายน มีผลกระทบ ต่อเนื่อง จากโควิด-19 ทำให้เด็กวัยรุ่น วัยเรียน ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเรียนออนไลน์ แทนในห้องเรียน ขณะที่ผู้ปกครอง ก็มีความเครียดจาก ภาระงาน และความรับผิด ชอบจึงมักส่งต่อความเครียดไปถึงบุตรหลาน ซึ่งแพทย์หญิงอัมพร ระบุว่าผู้ปครองต้องเข้าใจสุขภาพจิตของเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโต ยืดหยุ่นและแข็งแกร่ง ซึ่งจะทำให้ความ เครียดของเด็กวัยรุ่น คลี่คลายลงไปได้


สำหรับวัยรุ่นผู้ปกครอง หรือผู้ที่มีความเครียด กังวล หรือต้องการคำปรึกษา สามารถโทรศัพท์ติดต่อได้ที่หมายเลขสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 นอกจากนี้ ยังสามารถหารายละเอียด และขอปรึกษาได้ที่สมาคมสมาริตันส์แห่งประเทศไทย ทั้งหมายเลขโทรศัพท์และสายด่วนของสมาคม

คุณอาจสนใจ

Related News