สังคม

เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัย วอนรัฐไทยปลดล็อกร่วมสัตยาบัน เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยกว่า 5 พันคน

โดย pattraporn_a

19 มิ.ย. 2565

64 views

เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐ จัดกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลก เล่าเรื่องผู้ลี้ภัย จากยูเครน ถึงประเทศไทย วอนรัฐไทย ปลดล็อก ร่วมสัตยาบัน เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยในเมืองที่มีในไทยกว่า 5 พันคน


ก่อนถึงวันผู้ลี้ภัยโลกในวันพรุ่งนี้ 20 มิถุนายน หลายองค์กรได้จัดกิจกรรมเพื่อผู้ลี้ภัย โดยเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ จัดกิจกรรม เล่าเรื่องผู้ลี้ภัย จากยูเครน ถึงประเทศไทย เสนอรัฐไทย ปลดล็อคร่วมรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ลี้ภัยในเมือง ที่มีในไทยกว่า 5 พันคน


ภาพถ่ายที่สะท้อนชีวิตผู้ลี้ภัยในเมือง หรือ Urban Refugees ที่ต่างมาแสวงหาความปลอดภัย และชีวิตที่ดีกว่าจากประเทศต้นทาง ที่ต้องยอมรับว่าในปี 2022 วิกฤตผู้ลี้ภัยทั่วโลกมีกว่า 100 ล้านคน สูงที่สุดในประวติศาสตร์โลก และยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานของคนทั่วโลก ปัญหาของผู้ลี้ภัยจึงเป็นปัญหาของทุกประเทศ ไม่เพียงปัญหาภัยสงคราม ยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการค้ามนุษย์ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการลี้ภัยได้ และประเทศไทย ก็เป็นประเทศหนึ่งที่เคยให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้าน และรุนแรงขึ้นจากสถานการณ์ภายในเมียนมา รวมถึงวิกฤตชาวโรฮิงญา รวมถึงอีกหลายประเทศ ที่อาจเข้ามาประเทศไทยเพื่อหวังให้มีชีวิตที่ปลอดภัย


ภาพถ่ายผู้ลี้ภัยที่นำมาจัดนิทรรศการ ถ่ายทอดชีวิตผู้ลี้ภัยในเมือง ที่เข้ามาประเทศไทย ผ่านความสามารถของผู้ลี้ภัยม้งในการทำลายปัก และการเพ้นท์จากผู้ลี้ภัยปากกีสถาน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยในเมือง ที่อยู่ในไทยกว่า 5,000 คน ที่ลงทะเบียนกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR แต่พวกเขาไม่สามารถเป็นผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยได้ เพราะไทยไม่ได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย จึงเป็นได้เพียงบุคคลที่อยู่ในความคุ้มรอง หรือ รอส่งไปยังประเทศที่ 3 เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ที่รวมกันขององค์กรที่ทำงานเพื่อผู้ลี้ภัยกว่า 10 องค์กร


จึงร่วมกันจัดกิจกรรม เล่าเรื่องผู้ลี้ภัย จากยูเครน ถึงประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดความยากลำบากของผู้ลี้ภัย ซึ่งจำนวนมากมีความสามารถที่พร้อมทำงาน เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ด้วยกฏหมายของไทยที่ไม่รับรองสถานะผู้ลี้ภัย ทำห้พวกเขาเป็นเพียงผู้หลบหนีเข้าเมือง แต่คาดหวังว่ากฏหมายใหม่ที่ไทยจะพิจารณาให้ความคุ้มครองกับคนที่ไม่สามารถกลับประเทศไทย จะเปิดทางไปสู่การจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยได้ดีขึ้น


ขณะที่ นายศักดา แก้วบัวดี นักแสดงที่นำพาตัวเองไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเมือง ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน ยอมรับว่าจุดที่ทำให้เขาตัดสินใจช่วยเหลือผู้ลี้ภัย จากการไปพบคนเหล่านั้นในห้องกัก ตม. และเข้าใจปัญหาจนหาทางช่วยเหลือให้ได้เดินทางไปประเทศที่ 3 ด้วยทุนส่วนตัวและจากเพื่อนๆ ได้กว่า 21 คน พบว่าทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นจากโอกาสได้ทำงาน และเห็นใจอีกหลายหมื่นคนที่ยังไม่มีโอกาส และอาจถูกกักขังในไทยแบบไม่รู้อนาคต จึงเห็นว่าไทยควรปลดล็อคด้วยการเข้าร่วมรับรองในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย เชื่อว่าผู้ลี้ภัยมีความสามารถที่จะเป็นพลเมืองทีดีได้


ตรงกับความรู้สึกของผู้ลี้ภัยในเมือง ที่ต่างคาดหวังจะได้โอกาสไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศที่ 3 หรือได้รับรองให้อย่างน้อยได้ทำงานในประเทศไทย เพราะบางคนไม่สามารถกลับบ้านเกิดได้เพราะไม่ปลอดภัย และคาดหวังให้ผู้คนมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ลี้ภัย 

คุณอาจสนใจ

Related News