นักวิชาการ แนะรัฐนำเขาสุกรปลอดโรคจากยุโรป แก้ปัญหาหมูแพง

สังคม

นักวิชาการ แนะรัฐนำเขาสุกรปลอดโรคจากยุโรป แก้ปัญหาหมูแพง

โดย pattraporn_a

18 ม.ค. 2565

158 views

นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลการคาดการณ์ทางวิชาการ จากวิกฤติโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ทำให้ราคาสุกร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อนำเสนอปัญหาและทางออกแก่เกษตรและผู้บริโภค หนึ่งในนั้นคือข้อเสนอให้รัฐ รีบกำหนดแผนและลงมือแก้ปัญหาระยะสั้น และระยะยาว โดยเฉพาะการนำเข้าสุกร จากยุโรป ที่ปลอดจากโรคเพื่อลดภาระผู้บริโภค แต่ต้องควบคุมใกล้ชิดไม่ให้ผู้เลี้ยงในประเทศ


หนึ่งในประเด็นสำคัญ ในระหว่างการนำเสนอผลการคาดการณ์ทางวิชาการ "ทางเลือก ทางรอด หมูแพง ผู้เลี้ยงอยู่รอด ผู้บริโภคอยู่ได้ " คือการยืนยันถึงความจำเป็นที่ภาครัฐ ต้องนำเข้าเนื้อสุกรจากประเทศ เพื่อลดภาระผู้บริโภคที่เดือดร้อนหนักในตอนนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล พจนาประเสริฐ จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร นำเสนอว่าถ้าภาครัฐแกปัญหาสุกรราคาแพง โดนำเข้าจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ EU เพราะปลอดสารเร่งเนื้อแดง และปลอดโรค ASF


โดยคาดการณ์ราคาที่เหมาะสมว่ารัฐควรเปิดให้นำเข้าเมื่อราคาสุกรหน้าฟาร์ม 120 ต่อกิโลกรัม เพราะจะช่วยลดราคาขายปลีกจากกิโลกรัมละ 225 เหลือ 200 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งการนำเข้าดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 20 ของอปสงค์ในระบบ หรือประมาณ 2 หมื่นตันต่อเดือน แต่ควรจำกัดปริมาณ และติดตามตลาดใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบผู้เลี้ยงในประเทศ


ส่วน ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ จากคณะเศรษฐศาสตร์ นำเสนอข้อมูลโดยสรุป เป็น 2 ฝั่งคือ ภาครัฐควรเน้นสร้างเสถียรภาพราคาเพื่อให้ผู้บริโภคอยู่ได้ และหากภาครัฐตัดสินใจเปิดให้นำเข้าเนื้อสุกรจากต่างประเทศ ควรพิจารณาทั้งปริมาณและราคาที่นำเข้า โดยเน้นประคองสถานการณ์ผุ้บริโคในประเทศไม่ให้เดือดรอนหนัก ในระหว่างที่รอการแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาด และการเลี้ยงสุกรในประเทศให้ฟื้นตัว เพราะขณะนี้ที่สุกรหายไป ทำให้เงินหมุนเวียนหายไปกว่า 1.5 แสน ล้านบาท


ข้อมูลจากวงเสวนาคาดการณ์ว่า โรคระบาดทำให้สุกรขาดไปจากระบบราว 8 ล้านตัว นับจากปี 2564 เป็นต้นมา และในปี 2565 คาดการณ์ความต้องการสุกร จะมีประมาณ 17 ล้านตัว ขณะที่จำนวนสุกรที่มีอยู่หรือผลิตได้ราว 10-12 ล้านตัน จึงคาดการณ์ว่ายังขาดสุกรอยู่ราว 4.5 ล้านตัว คิดเป็น 2.7หมื่นตันต่อเดือน ภาครัฐจึงต้องตระหนักปัญหานี้ให้มาก โดยเฉพาะการส่งเสริม และพัฒนาการเลี้ยงสุกรในระยะยาว ทั้งในแง่โครงสร้างการขาย วิธีการเลี้ยงในระยะยาว ที่ต้องรับมือกับโรคระบาดอุบัติใหม่ให้ได้


คุณอาจสนใจ

Related News