ไทยพบแล้ว 'โอมิครอน' คนแรก-รายที่ 47 ของโลก ชี้อาการน้อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากกว่าสายพันธุ์อื่น

สังคม

ไทยพบแล้ว 'โอมิครอน' คนแรก-รายที่ 47 ของโลก ชี้อาการน้อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากกว่าสายพันธุ์อื่น

โดย thichaphat_d

7 ธ.ค. 2564

102 views

วานนี้ (6 พ.ย.) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมกันแถลงข่าว กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอนรายแรกในประเทศไทย


โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ปกติแล้วประเทศไทยตรวจสอบเรื่องกลายพันธุ์ของโควิด19 ทุกสัปดาห์ จากการตรวจสอบผู้ป่วยจำนวน 800 คน พบว่าการระบาดส่วนใหญ่ในไทยเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา ถึง 99.87 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่พบติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟา


กรณีที่มีกระแสข่าวว่า มีการตรวจสอบพบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1 ราย ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน นั้น ขณะนี้สรุปได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจริง ซึ่งผลจากการตรวจห้องแล็บแบบ Whole genome sequencing ยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 99.92 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสาเหตุที่ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ตั้งแต่ช่วงแรกที่ตรวจพบผู้ป่วยโควิด-19 เพราะต้องส่งผลไปตรวจแบบละเอียด หรือตรวจ Whole genome sequencing ก่อน แต่ขณะนั้นผู้เชี่ยวชาญสรุปกันว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์โอมิครอน


สำหรับผู้ที่ตรวจพบโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นนักธุรกิจ เพศชาย ชาวอเมริกัน อายุ 35 ปี เดินทางมาจากสเปน ถึงไทยวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เข้ารับการตรวจโควิด-19


จากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ทางโรงพยาบาลแจ้งว่า พบเชื้อโควิด-19 ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ส่งตัวอย่างตรวจหาเชื้อยืนยันอีกครั้งเป็นรอบที่ 2 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลออกมาปรากฎว่า ลักษณะของสายพันธุ์ของผู้ป่วยโควิด 19 ตรงกับสายพันธ์โอมิครอนถึงร้อยละ 99.92


จึงสรุปได้ว่าขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อเควิ19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นรายแรกของไทยแล้ว ทั้งนี้ขอฝากประชาชนว่าศัตรูที่ทำร้ายเราคือ สายพันธุ์เดลตา จึงอยากฝากให้ประชาชนช่วยกันคิดและอย่าตระหนกกับสายพันธุ์โอมิครอนมากจนเกินไป


ด้านนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า แม้จะมีการพบการติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นรายแรกในประเทศไทย แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนแม้แต่รายเดียวเสียชีวิตจากโอมิครอน ทำให้ดูเหมือนว่าโอมิครอนจะรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า


ในเรื่องของการกลายพันธุ์ที่ต้องติดตามมี 4 ประการ คือ กลายพันธุ์แล้วสามารถแพร่ระบาดเร็วขึ้น การกลายพันธุ์แล้วความรุนแรงของโรคจะมากขึ้น การกลายพันธุ์แล้วดื้อต่อการรักษาของยาทั้งหลาย และข้อสุดท้ายกลายพันธุ์แล้วทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จนถึงขณะนี้สายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกยังติดตามอย่างใกล้ชิดคือสายพันธุ์เดลตา ที่มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้จำนวนมาก


สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน เป็นอีก 1 สายพันธุ์ที่พบการกลายพันธุ์ล่าสุด จนถึงขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบันคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ในอดีต คือเมื่อระบาดไปเยอะๆจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น นานๆไปความรุนแรงของโรคจะลดลง อย่างเช่น


สายพันธุ์โอมิครอน จากกการติดตามผู้ติดเชื้อทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่มีรายงาน ผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอน แม้แต่รายเดียว ซึ่งตรงกับหลายหน่วยงานที่ให้ข้อมูลมา ดูเหมือนว่าความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอน จะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้าค่อนข้างมาก ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไปแล้ว ทั้งหมด 46 ประเทศ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 47 ที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน


สำหรับการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รายแรกของไทยนั้น เป็นผู้ชาย อายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกา อาศัยในสเปนเป็นเวลา 1 ปี เป็นนักธุรกิจ ไม่มีอาการป่วย ซึ่งก่อนเดินทางเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ผู้ป่วยได้ไปตรวจหาเชื้อในประเทศต้นทางมาก่อนแต่ไม่พบเชื้อ จึงเดินทางมาประเทศไทย


เมื่อเดินทางมาถึงไทยในช่วงเที่ยงคืน ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน จึงทำการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง ผลปรากฎว่าวันที่ 1 ธันวาคม ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งอาการน้อยมากแทบไม่มีอาการ


จากการตรวจสอบพบว่าไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ผู้ป่วยระวังตัวตลอดเวลา ตอนนั่งเครื่องบินมาไทยก็นั่งคนเดียวไม่มีคนนั่งข้างๆ ตอนมาอยู่ในไทยก็ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่ผู้ที่มีประวัติว่าเคยเจอผู้ป่วย ก็ต้องสอบสวนควบคุมโรค และตรวจสอบหาเชื้อเพิ่มเติ่ม ซึ่งทุกคนที่สอบสวนโรคก็ปกติดี ไม่มีใครติดเชื้อเพิ่มเติม ยังต้องติดตามจนพ้นระยะฟักตัวของโลก


จากการติดตามสถานการณ์พบว่าสายพันธุ์โอมิครอน ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ประมาณ 2-5 เท่า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากกว่าสายพันธุ์อื่น เท่าที่มีรายงานจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน เสียชีวิต


ดังนั้นคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด สำหรับไทยได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 95 ล้านกว่าโดส โดยเฉพาะเข็ม 1 เกิน 75 เปอร์เซ็นต์แล้ว เข็ม 2 ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และจะเริ่มบูสเตอร์โดสเข็ม 3 ขอให้ประชาชนติดตาม คาดว่าจะประกาศให้ผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วมารับเข็มบูสเตอร์โดสเร็วๆ นี้ อาจจะเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พร้อมยืยันประเทศไทยมีมาตรการที่สามารถรองรับสายพันธุ์โอมิครอนได้


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/SKWYjo0mucA

คุณอาจสนใจ

Related News