ขอนแก่นจับมือทุนจีน เปิดตัว 'รถไฟฟ้ารางเบา' ฝีมือคนไทย คืบหน้าแล้วกว่า 70%

สังคม

ขอนแก่นจับมือทุนจีน เปิดตัว 'รถไฟฟ้ารางเบา' ฝีมือคนไทย คืบหน้าแล้วกว่า 70%

โดย pattraporn_a

30 พ.ย. 2564

728 views

บริษัทขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็มจำกัด ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเทศบาล 5 แห่งในจังหวัดขอนแก่น ประกาศเดินหน้าการพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา หรือLRT เพื่อเป็นระบบขนส่งมวลชนในเมืองขอนแก่น


ความคืบหน้าล่าสุดมีความร่วมมือกับบริษัท ซีอาร์อาร์ซี นานจิง ของจีน เพื่อให้เป็นผู้ประสานด้านการเงิน ขณะที่ตัวโบกี้ และตู้โดยสารของรถไฟฟ้ารางเบา หรือ TRAM ที่ผลิตขึ้นเองโดยฝีมือคนไทย ก็คืบหน้าไปมาก นักวิจัยตั้งเป้าจะประกอบทดลองวิ่งบนราง ในกลางปีหน้า


ตู้โดยสารของขบวนรถไฟฟ้ารางเบา หรือแทรม และเป็นสองตู้แรกที่ร่วมสร้างขึ้นโดยคนไทยทั้งหมด เริ่มจากที่ออกแบบ โดยทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จากนั้นก็ประกอบร่างขึ้น ที่บริษัท ช.ทวี จำกัด 


โดยนี่จะเป็นต้นแบบสำคัญของโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบาง ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ฝ่ายที่เกียวข้องได้เรียนรู้ ฝึกฝน และเมื่อชำนาญมากพอ ก็จะสร้างเพื่อจำหน่ายได้ในอนาคต


นักวิจัยไปศึกษาจากหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น จีน เยอรมัน จากนั้นจึงออกแบบ ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำแบบใด โครงสร้างหลักๆของตู้โดยสารแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 70 ที่เหลือจากนี้จะประตู ระบบไฟ และระบบเครื่องยนต์


ไม่เพียงเฉพาะตู้โดยสารที่คืบหน้า โบกี้รถไฟจำนวน 2 โบกี้ จากทั้งหมด 4 โบกี้ ก็คืบหน้าไปมาก ตอนนี้ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ที่นั่นมีรถไฟฟ้ารางเบา หรือแทรม ของญี่ปุ่น 1 ตู้ที่รับมอบมาเพื่อให้นักศึกษา และนักวิจัยได้เรียนรู้ ควบคู่ไปกับการออกแบบและสร้างใหม่


ขั้นตอนหลังจากนี้คือเคลื่อนย้ายโบกี้ไปประกอบร่าง กับตู้โดยสารที่บริษัท.ช.ทวี เมื่อแล้วเสร็จจะทดสอบการทำงาน โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในระยะยาวโครงการนี้จะพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคได้


ตอนนี้ CKKM จอยเวนเจอร์ นำโดยบริษัท ช.ทวี จำกัดมหาชน ชนะประมูลโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้ารางเบา ระยะที่ 1 สายเหนือใต้ ระหว่างเทศบาลตำบลสำราญ ถึงท่าพระ( 20 กม) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง กับบริษัท CRRC หนานจิง ฟู่เซิน ของจีน ให้เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินจัดหาแหล่งทุนระยะยาวตลอดทั้งโครงการ


ส่วน KKTS ต้องประสานส่วนราชการเพื่อส่งมอบพื้นที่ทำโครงการภายใน 1 ปี นับจากนี้ ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างตลอดสายหลายแห่ง เช่นศูนย์วิจัยข้าว และพื้นที่กลางถนนมิตรภาพ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะประสานเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้

คุณอาจสนใจ

Related News