ปัญหาอุตสาหกรรมประมงทรุดตัว เหตุขาดแรงงานมากถึง 3-5 หมื่นคน

สังคม

ปัญหาอุตสาหกรรมประมงทรุดตัว เหตุขาดแรงงานมากถึง 3-5 หมื่นคน

โดย pattraporn_a

20 พ.ย. 2564

31 views

นายมงคล สุขเจริญคณา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ออกมาชี้แจงถึงปัญหาแรงงานประมงขาดแคลน พร้อมกันนี้ญาติยังตามหาแรงงานประมงที่ออกเรือแล้วหายตัวไปตั้งแต่ปี 2562 บริเวณน่านน้ำประเทศมาเลเซีย



เมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ปี 2562 นางคำไสย์ คงเจริญ ชาวบ้านที่อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจที่สภ.กระนวน และขอความช่วยเหลือผ่านมูลนิธิกระจกเงา โดยระบุว่า ลูกชายคือนายภานุมาศ คงเจริญ อายุขณะนั้น 32 ปี ถูกชักชวนไปทำงานบนเรือประมงที่จังหวัดสมุทรสาคร ทางเพื่อนยืนยันว่า หายตัวไประหว่างออกหาปลาที่บริเวณนอกน่านน้ำมาเลเซีย


บันทึกการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทย 43 คน เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่ามา หลังถูกทางการมาเลเซียจับ ข้อหาไม่มีใบอนุญาตทำงาน และทำการประมงนอกน่านน้ำผิดกฎหมาย ทั้งหมดมาจากเรือ 3กลุ่ม มีเจ้าของเป็นคนไทย หลังถูกจับไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากนายจ้าง บอกว่า พวกเขาขึ้นเรือที่สมุทรสาคร โดยเรือทัวร์ พาไปส่ง บางคนทำงาน 11 เดือนและนานสุด10ปี



แต่เมื่อสอบถามผู้ควบคุมเรือและเจ้าของเรือ ก็อ้างว่าไม่รู้จักลูกเรือคนนี้ จึงไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆจนถึงวันนี้ จึงต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องเดินหน้าหาความจริงเรื่องนี้ต่อไป


นายมงคล สุขเจริญคณา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ระบุว่าปัจจุบันภาคประมงขาดแคลนแรงงาน 3 - 5 หมื่นคน เพราะแรงงานตาม MOU ที่กระทรวงแรงงงานจัดหา ไม่นิยมลงเรือประมงแต่จะเลือกไปโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า


ส่วนหนึ่งเพราะแรงงานมาเป็นครอบครัว แต่เรือประมงลงได้เฉพาแรงงานผู้ชาย อีกทั้งแรงงานที่จะลงเรือประมง ไม่ได้ผ่านกฎหมายแรงงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผ่านกฎหมายฉบับอื่นๆ เช่นกฎหมายเจ้าท่า กฎหมาย ต้องมี Sea book หรือหนังสือคนลงเรือ


นายมงคลยังระบุว่า เรือประมงอวนล้อมที่สมุทรสาคร 120 ลำ ตอนนี้มีแรงงานออกเรือได้เพียง 20 ลำ ส่วนที่ปัตตานี มีเรือกว่า 1 พันลำ ตอนนี้มีแรงงานออกเรือได้ไม่เกิน 300 ลำ  แนวทางที่เสนอ คือให้รัฐบาลให้ความสำคัญแก้ปัญหาแรงงานประมง ด้วยวิธีหรือกฎหมายเฉพาะ ที่แตกต่างจากแรงงานตาม MOU ทั่วไป


นายมงคลเสนอให้ รัฐบาลใช้มาตรา 83 พ.ร.ก.ประมง เพื่อแก้ปัญหาดแคลนแรงงาน ซึ่งตามระเบียบนี้จะลดขั้นตอนการจัดหาแรงงานเข้าสู่ภาคประมงได้ โดยสะท้อนปัญหาส่วนหนึ่งว่า รัฐบาลมักมองว่าอุตสาหกรรมประมง ทั้งที่หลายกรณีที่ตัวแรงงานมีปัญหา เช่นนายจ้างเสียค่าใช้จ่ายให้แรงงานคนละ2-3 หมื่น เพื่อให้ทำงานลงเรือ แต่ห้ามหักรายได้จากแรงงานซึ่งทำนายจ้างแบกต้นทุน และมีหลายกรณีที่แรงงาน หลบหนี หรือเปลี่ยนนายจ้าง ทำให้เงินที่นายจ้างดำเนินการให้สูญเปล่า


ปัญหาเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่ทำให้จัดหาแรงงานประมงได้ยาก หากไม่แก้ไข จะทำให้อุตสาหกรรมประมงทรุดตัวหนักยิ่งขึ้น

คุณอาจสนใจ