ศบค.ไฟเขียว นำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ เปิดด่านชายแดน 5 แห่ง

สังคม

ศบค.ไฟเขียว นำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ เปิดด่านชายแดน 5 แห่ง

โดย pattraporn_a

12 พ.ย. 2564

55 views

กระทรวงแรงงานเดินหน้านำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติตาม Mou หลัง ศบค อนุมัติตามข้อเสนอแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศ พร้อมเปิดด่านชายแดน 5 แห่ง และสถานที่กักตัว เพื่อคัดกรองโควิด-19


ปัญหาขาดแคลนแรงงาน นับจากการระบาดของโควิดตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ประมง หรือแม้แต่ SME ได้รับผลกระทบ แม้บางกิจการ จะยังเดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้การจัดโซน หรือมาตรการป้องกันการระบาด แต่จำนวนแรงงานในภาคอุตสหากรรมก็ยังไม่เพียงพอ


โดยเฉพาะหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้คาดการณ์ความต้องการแรงงานมามากถึง 4 แสนคน ทำให้เกิดปัญหาการนำพาแรงงานเข้าประเทศผิดกฎหมาย เสี่ยงต่อการระบาดโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานอีกรอบ


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงงาน ระบุว่า ศบค.ตอบรับข้อเสนอของกระทรวงแรงงานท ที่แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน และแรงงานผิดกฎหมาย ด้วยการเปิดให้นำเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ คือลาว เมียนมาร และกัมพูชา ซึ่งจะเริ่มให้นายจ้างแจ้งจำนวนแรงงานที่ต้องการได้หลัง 30 พ.ย. ส่วนจากนี้ถึงสิ้นเดือน ได้แจ้งให้นายจ้างที่รับแรงงานผิดกฎหมายอยู่ ให้นำแรงงานไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องก่อน


ขั้นตอนหลังจากนี้คือการเตรียมความพร้อมรับแรงงานใน 5 ด่านชายแดนคือ ระนอง, แม่สอด,หนองคาย, มุกดาหาร และสระแก้ว ซึ่งด่านเหล่านี้จะต้องมีความพร้อมพิเศษ โดยเฉพาะเงื่อนไขสถานที่กักตัวแรงงานที่ข้ามชาติที่เข้ามา จะต้องยืนยันได้ว่าควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ โดยคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดนั้นๆ จะพิจารณา ส่วนค่าใช้จ่าย ต่างๆ จะเป็นภาระของผู้ประกอบการหรือตัวแทนนำเข้าแรงงาน


ที่สำคัญคือการประกันโควิดวิดในระยะ 3-4 เดือนแรกที่เข้ามาทำงาน นายจ้างต้องทำให้เพื่อใช้เงินนี้รักษากรณีแรงานติดโควิด เพราะยังไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคม และไม่เป็นภาระทางภาษีด้วย


การนำเข้าแรงงานตาม mou มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณการ ตัวแรงงาน 1 คน อยู่ระหว่าง15,000-22,000 บาท เพื่อใช้เป็นค่าตรวจโควิด 2 ครั้ง, ตรวจลงตราวีซ่า (2 ปี),  ใบอนุญาตทำงาน 2 ปี, ตรวจสุขภาพ 6 โรค, ค่าประกันสุภาพรวมโรคโควิด-19, ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าสถานที่กักตัว ทั้งกรณี 7 วัน และกรณีต้องกัก 14 วัน


อย่างไรก็ตาม รายละเอียดที่ยังต้องรอใหแน่ชัดคือสถานที่กักตัว ตามจังหวัดที่มีด่าน จะเพียงพอหรือไม่ และสถานที่จะผ่านมาตรฐานสาธารณสุขหรือไม่ ยังเป็นประเด็นต้องควบคุมให้รัดกุม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีเล็ดลอดออกจากที่กักตัว ระหว่างที่รอคัดกรองโควิด-19

คุณอาจสนใจ

Related News