ตร.ไซเบอร์ แจงกลโกงหลอกถอนเงินในบัญชี ชี้หากคนร้ายอยู่ ตปท.ดำเนินการยาก

สังคม

ตร.ไซเบอร์ แจงกลโกงหลอกถอนเงินในบัญชี ชี้หากคนร้ายอยู่ ตปท.ดำเนินการยาก

โดย thichaphat_d

19 ต.ค. 2564

445 views

กรณีประชาชนหลายราย ถูกขโมยเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว โดยมียอดเงินครั้งละน้อยๆแต่หลายๆครั้งต่อเนื่องกัน โดยพบบางราย ถูกขโมยเงินจากบัญชีไปสูงสุด หลักแสนบาท ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง


ในส่วนของ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ สอท. ก็แถลงข่าวเตือนประชาขนกับเหตุการณ์นี้


โดย พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผบก.ตอท. ร่วมกันแถลงข่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่แอปพิเคชั่นดูดเงิน แต่เป็นเรื่องเดิมๆ เคยเตือนกับการใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต ในการซื้อของออนไลน์ หรือมีการนำไปเปิดเผยข้อมูล


ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์ได้ร่วมประชุมกับสภาธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อหาแนวทางความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบมีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคน ยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มาก แต่หลายบาท หลายครั้ง


โดยจากการตรวจสอบเชื่อว่า คนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียวและมาจากหลายกลุ่มใช้วิธีหลายรูปแบบ และอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกัน หากพบว่าอยู่ในประเทศไทย ตำรวจไซเบอร์จะดำเนินการจับกุมทันที


แต่หากอยู่ต่างประเทศก็ยอมรับว่าค่อนข้างลำบาก แต่ตำรวจไซเบอร์ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในการพยายามขยายผล โดยหากพบว่าบัญชีที่ถูกหักเงินไปนั้น ถ้าเกิดจากร้านค้าหรือแพลิเคชั่นช้อปปิ้งขื่อดัง ก็จะมีการ เรียกร้านค้า มาสอบถาม เพื่อขยายผล สำหรับพฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก


1. เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต / บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ


2. การฟิชชิ่ง หรือ การส่ง sms หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ เข่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย กลวิธีเดิมๆทึ่เคยทำ


3. การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปรูดจ่าย สินค้าและบริการ ต่างๆ หรือการเติมใช้น้ำมัน ซึ่งช่วงจังหวะนี้ อาจจะมีการขโมยหมายเลขบัตรไปขายให้กับกลุ่มคนร้าย กลุ่มนี้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงแบบไม่รู้ตัว ตราบใดที่เลขบัตร16ตัว และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ไม่ถูกขโมย กลุ่มคนร้ายก็ทำอะไรได้ยากขึ้น


ตอนนี้ตำรวจพยายามเร่งสืบสวน คนร้ายกลุ่มนี้ แต่สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือ ประชาชนอย่าผูกบัตรเครดิต บัตรเดบิตกับแอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่น่าเชื่อถือ ไม่คลิกลิงก์ใน sms หรืออีเมลแปลกที่ไม่รู้จัก และควรลบหรือปิดเลข CVC เลข 3 ตัวหลังบัตร เพื่อความปลอดภัย


และจากนี้ ผบ.ตร.ได้มีคำสั่งแล้ว ให้ตำรวจทุกพื้นที่รับแจ้งความจากผู้เสียหาย โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องไปแจ้งพื้นที่ ที่เปิดบัญชีเท่านั้น ผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุหรือที่สะดวกทั่วประเทศไทย และให้ข้อมูลกับตำรวจไซเบอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการติดตามคนร้าย



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/jDlqUSsjttY

คุณอาจสนใจ