สัตวแพทย์เตือน หยุดให้หมากินใบกระท่อม ยังไม่มีวิจัยทางการแพทย์ อาจมีโอกาสได้รับพิษ

สังคม

สัตวแพทย์เตือน หยุดให้หมากินใบกระท่อม ยังไม่มีวิจัยทางการแพทย์ อาจมีโอกาสได้รับพิษ

โดย thichaphat_d

22 ก.ย. 2564

147 views

จากกรณีพบสุนัข 3 ตัว ชอบกินใบกระท่อม วันไหนไม่ได้กินจะหงุดหงิด จากการลงพื้นที่พบเจ้าของเล่าว่า สุนัขตัวแรกชื่อว่าน้อง อาโน ตัวใหญ่พันธุ์พิทบูลผสมบูลลี่อสีดำขาว เลี้ยงมา 3 ปี / น้องมีตังค์พันธุ์ผสมตัวเล็กเลี้ยงมา 7 ปี และน้องมารวย พันธุ์ไทยสีน้ำตาลขาวเลี้ยงมา 2 ปี


ถ้าวันไหนไม่ได้กินใบกระท่อม จะเกิดอาการหงุดหงิด เดินไปเดินมาในบ้าน แต่ถ้าวันไหนเจ้าของให้กินใบกระท่อมจะดีดอารมณ์ดีคึกคักวิ่งเล่นไปมาในบ้าน


โดยปกติแล้วไม่ได้ให้สุนัขกินเยอะ ถ้าไม่มาขอก็ไม่ให้ ถ้าเดินมาขอก็จะให้ตัวละ 1 ใบ แต่น้องอาโนจะต้องกินทุกวัน ส่วนอีก 2 ตตตัวกินบางวัน จึงอยากสอบถามผู้รู้ว่า ถ้าหมากินใบกระท่อมบ่อยๆจะมีผลกระทบต่อน้องไหม ถ้าหากมีผลกระทบก็จะให้เลิกกิน แต่ที่ผ่านมาทั้ง 3 ตัวยังไม่มีอาการอะไรและแข็งแรงดีทุกตัว


ด้าน สพ.ญ.ภัทรนันท์ สัจจารมณ์ กล่าวว่า สำหรับสัตว์เลี้ยง ทางสัตวแพทย์สภายังไม่มีการให้ข้อมูลถึงการใช้ใบกระท่อมกับสัตว์ ส่วนการวิจัยของเมืองนอกหรือการรักษาของเมืองนอก มีการใช้ใบกระท่อมในการรักษาจริง


โดยสรรพคุณของใบกระท่อมสามารถช่วยลดอาการไออย่างรุนแรง และช่วยของการลดอาการป่วยหรืออักเสบ แต่ต้องอยู่ในการแนะนำของแพทย์ ซึ่งทางสุนัขเราจะให้สารสกัดแปรรูปจากใบกระท่อมประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถ้าเกิดสุนัขได้รับในปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดอาการง่วงซึม อาเจียน ท้องเสีย และมีอาการชักได้


ส่วนประเทศไทยยังคงต้องศึกษา เรื่องของการนำกระท่อมมาแปรรูปเป็นยา เพื่อที่จะสามารถกำหนดมิลลิกรัมของตัวใบกระท่อมเองได้


ส่วนกรณีมีข่าวสุนัขกินใบกระท่อม ส่วนตัวคิดว่าทางสุนัขน่าจะติดใบกระท่อมไปแล้ว เพราะถ้าต้องกินทุกวัน หากไม่กินจะมีอาการหงุดหงิด ก็ควรให้อยู่ในการดูแลของแพทย์มากกว่า


เนื่องจากยังไม่สามารถควบคุมปริมาณในการให้ใบกระท่อมของเจ้าของได้ และการที่เจ้าของให้กินไปทั้งใบ อาจมีโอกาสที่จะได้รับพิษจากใบกระท่อมได้เช่น จะมีอาการมึนเมาเวียนหัว ซึ่งคนกินใบกระท่อมบ่อยๆก็จะทราบดี ถ้าไม่อยากให้อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับสุนัขก็แนะนำให้แปรรูปก่อน ถ้าได้รับมากไปก็จะมีการเสพติด


สุดท้ายแล้วฝากถึงเจ้าของสุนัข ให้หยุดให้กินใบกระท่อมก่อน เพราะว่ายังไม่มีการทำวิจัย และอาจส่งผลเสียให้สุนัขเกิดอาการตับพังหรือตับวายได้อีกด้วย แต่แนะนำว่าให้อยู่ในการดูแลของแพทย์จะดีกว่า และอาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ แม้จะไม่ตั้งใจก็ตาม


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/aNHak-PlLUM

คุณอาจสนใจ

Related News