นักกฏหมาย แนะ พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมานฯ มุ่งควบคุม "เจ้าหน้าที่" ไม่ให้ก่อเหตุ

สังคม

นักกฏหมาย แนะ พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมานฯ มุ่งควบคุม "เจ้าหน้าที่" ไม่ให้ก่อเหตุ

โดย pattraporn_a

15 ก.ย. 2564

16 views

มุมมองผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ต่อ พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมานฯ เสนอโมเดลต่างประเทศ มุ่งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุม ไม่ให้เจ้าหน้าที่ก่อเหตุซ้อมทรมาน ไม่ได้มุ่งเพียงลงโทษเมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว


ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ชี้ให้เห็นว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย จะสัมฤทธิ์ผลต่อสังคมอย่างแท้จริง ต้องมีบทบังคับอย่างน้อย 4 ข้อ คือ


ประเด็นที่ 1 มีกฎหมายบังคับให้เจ้าหน้าที่ชุดจับ ต้องมีกล้องบันทึกเหตุการณ์ขณะทำงานเสมอ และหากมีการร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมาน หน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริง คือเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่หน้าที่ผู้ถูกจับ


ประเด็นที่ 2 ที่ต้องปรากฎในกฎหมายคือ หากเจ้าหน้าที่จับผู้ต้องหา ต้องแจ้งหน่วยงานรัฐอื่นทราบเสมอ ซึ่งต่างประเทศจะกำหนดให้แจ้งอัยการ เพราะคือผู้พิจารณา ว่าจะนำคดีส่งฟ้องศาลหรือไม่ จึงมีหน้าที่รับรู้คดีตั้งแต่ต้น


ประเด็นที่ 3 หากเจ้าหน้าที่รัฐตกเป็นผู้ต้องหากรณีทรมาน ต้องให้หน่วยงานอื่นเป็นพนักงานสอบสวน 


ประเด็นที่ 4 คดีจับซ้อมทรมาน อุ้มหาย ต้องไม่มีสิ้นสุดอายุความ


ดร.น้ำแท้ ย้ำความเห็นว่าในหลายประเทศ มีข้อกำหนด 4 ประเด็นดังกล่าวในกฎหมายพื้นฐานแล้ว ทำให้ไม่มีกำหนดซ้ำ ในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันการซ้อมทรมาน แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีข้อกำหนด 4 เด็นดังกล่าวบังคับในกฎหมาย ต่อให้อนุวัตรกฎหมาย ขึ้นใหม่ตามอนุสัญญาฯ นี้ กฎหมายดังกล่าวก็แทบไร้ประสิทธิภาพ ที่จะป้องกันการซ้อมทรมานได้จริง




คุณอาจสนใจ

Related News