กรมวิทย์ แถลง โควิดสายพันธุ์ MU - c.1.2 ยังไม่พบในไทย แต่ต้องเฝ้าระวัง

สังคม

กรมวิทย์ แถลง โควิดสายพันธุ์ MU - c.1.2 ยังไม่พบในไทย แต่ต้องเฝ้าระวัง

โดย thichaphat_d

7 ก.ย. 2564

45 views

เมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดแถลงข่าว ประเด็นการติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งกรมวิทย์ฯ ได้ติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ ส่วนของประเทศไทย มีการเฝ้าระวังการระบาดของสายพันธุ์ต่างๆ โดย สายพันธุ์หลักที่มีการระบาดในขณะนี้ ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา


จากข้อมูล การสุ่มตรวจจาก 1523 ตัวอย่างทั่วประเทศ ในช่วง 28 สิงหาคม-3 กันยายน 2564 พบเป็นสายพันธุ์เดลตา 1047 ตัวอย่าง หรือ ร้อยละ 93 ส่วนที่เหลือ สายพันธุ์ อัลฟา เบตา ซึ่งพบการระบาดสายพันธุ์เดลตา ในทุกจังหวัดแล้ว ส่วนของสายพันธุ์ เบตา พบเฉพาะพื้นที่ภาคใต้จังหวัด ปัตตานี ยะลา


ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จาก 976 ตัวอย่าง ร้อยละ 97.6 เป็นสายพันธุ์เดลตา รองลงมาคือ อัลฟาร้อยละ 2.4


ส่วนการเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ นั้นมีการติดตาม จากที่ทั่วโลกให้ความสนใจสายพันธุ์ c.1.2 และ สายพันธุ์ B.1.621 โดยข้อมูลจากที่มีการรายงานโดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก สายพันธุ์ c.1.2 ยังไม่ถูกจัดลำดับชั้น แต่นักวิทยาศาสตร์พบมีจุดที่น่าสนใจคือ ตำแหน่งของการกลายพันธุ์เป็นจุดที่ทำให้เกิดการหลบภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดี โดยขณะนี้มีการรายงานข้อมูลพบในแอฟริกาใต้ 117 ตัวอย่างหรือร้อยละ 85 ในอังกฤษ 4 ตัวอย่างหรือร้อยละ 5 นิวซีแลนด์หนึ่งตัวอย่างและสวิตเซอร์แลนด์หนึ่งตัวอย่าง ซึ่งจากตำแหน่งที่มีการกลายพันธุ์ ทำให้สายพันธุ์ C.1.2 ต้องเฝ้าระวังเพราะมีอัตราการกลายพันธุ์สูงกว่าไวรัสตัวอื่นอื่น


ส่วนสายพันธุ์ B.1.621 (มิว ) พบข้อมูลว่ามีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่อาจทำให้โรคภูมิต้านทานของวัคซีนได้ดี โดยมีการรายงานพบในแอฟริกาใต้ 2400 ตัวอย่างหรือประมาณร้อยละ 37 ในโคลัมเบีย 965 ตัวอย่างร้อยละ 13 ในเม็กซิโก 367 ตัวอย่างในสเปนและในเอกวาดอร์ ยังไม่มีรายการงานการพบสายพันธุ์นี้ในทวีปเอเชีย


ซึ่งประเทศโคลัมเบีย ถือเป็นประเทศแรกที่มีการรายงานพบการระบาดของสายพันธุ์ B.1.621 กว่าร้อยละ 40 ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดของโคลัมเบีย แต่ยังไม่มีข้อมูลสรุปแน่ชัดถึงความสามารถในการแพร่เชื้อและความรุนแรงของอาการป่วย


ทั้งนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เตรียมความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายห้องปฏิบัติการในการตรวจสายพันธุ์และถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว จีโนม ให้ได้กว่า 10,000 ตัวอย่างเพื่อการติดตามลักษณะการกลายพันธุ์โดยทุกข้อมูลที่มีการตรวจสอบจะแจ้งผลรายงานไปยัง WHO ซึ่งอาจจะทำให้เป็นการตรวจพบสายพันธุ์ใหม่ใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศเราก็เป็นได้



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/qLw4KCOUlEo

คุณอาจสนใจ

Related News