สธ.ขานรับ "เปลี่ยนสูตรฉีดวัคซีน" สลับยี่ห้อ เข็ม1 "ซิโนแวค" เข็ม2 "แอสตราฯ"

สังคม

สธ.ขานรับ "เปลี่ยนสูตรฉีดวัคซีน" สลับยี่ห้อ เข็ม1 "ซิโนแวค" เข็ม2 "แอสตราฯ"

โดย pattraporn_a

12 ก.ค. 2564

130 views

วันนี้ (12 ก.ค.) คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ ให้ฉีดวัคซีนซิโนแวค สลับกับ แอสตร้าเซนเนก้า หวังเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์เดลต้า


ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน //นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข //นายแพยทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมติเห็นชอบการควบคุมโควิด-19 ใน 4 ประเด็น ซึ่ง 1 ใน 4 คือ


เห็นชอบการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด โดยเข็ม 1 คือ ซิโนแวค และเข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ระยะเวลา เข็ม 1 และเข็ม 2 ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสในระดับที่สูงและเร็วมากยิ่งขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ที่ไดก้ีับแอสตราเซนเนก้า 2 เข็ม ให้โรงพยาบาลดำเนินการได้ทันที


ส่วนในกรณีที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก เป็น แอสตราเซนเนก้า ก็ให้รับวัคซีนเข็ม 2 เป็นแอสตราเซนเนก้า เช่นเดียวกัน แต่ให้มีระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน


ส่วนการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือ Booster dose สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า โดยห่างจากเข็ม 2 นาน 3-4 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันให้สูงและเร็วที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มนานกว่า 3 เดือนแล้ว จึงควรกระตุ้นในเดือนกรกฎาคมได้ทันที ซึ่งอาจเป็นแอสตร้าเซนเนก้า หรือไฟเซอร์


ทางด้าน นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาเรื่องไวรัสกลายพันธุ์คือ สายพันธุ์เดลต้า ที่เข้ามาสู่กรุงเทพฯ มากกว่า 50% แล้วจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์นี้


นอกจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ผ่านมติ อนุญาตให้ใช้ วัคซีน Booster dose ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัสกลายพันธุ์ อาจจะเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนาก้า หรือ วัคซีนไฟเซอร์ก็ได้ แต่หลักการ คือ การให้วัคซีนจะต่างชนิดกัน


ทั้งนี้ ได้อนุมัติให้ปรับวิธีการฉีดวัคซีนใหม่ต่างชนิดกัน เช่น ถ้ามีการฉีดวัคซีนชนิดแรกเป็นวัคซีนเชื้อตาย สามารถเปลี่ยนวัคซีนอีกชนิดหนึ่งได้ คือ วัคซีนชนิดไวรัลเวคเตอร์ หรือ วัคซีนชนิด mRNA ได้ โดยจะฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเรื้อรัง ในกลุ่มนี้เป็นหลัก รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ด้วย เพราะสถิติ พบผู้เสียชีวิต 70-80% เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และมักจะมีโรคเรื้อรังหรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้คนไข้มีอาการหนักและเสียชีวิตได้ อย่างน้อยฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ 80% ไม่ให้เกิดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ และจะทำให้ระบบสาธารณสุขดูแลได้ต่อไป


ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า หลังมีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติให้ฉีดวัคซีน โควิด-19 สลับชนิดกันได้ในกลุ่มประชาชน โดยมีข้อมูลจากงานวิจัยรองรับแล้วว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าได้ โดยใช้วัคซีนเข็มที่หนึ่งเป็นวัคซีนซิโนแวค และหลังจากนั้นสามสัปดาห์ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นเอสตราเซนิกา จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อไวรัสอยู่ในระดับที่สูงและเร็วมากขึ้น แต่หาก คนที่รับวัคซีนเข็มที่หนึ่งเป็นวัคซีนเอสตราเซนิกา เข็มที่สองยังคงให้รับวัคซีนแอวตราเซนิกา เช่นเดิม เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงพอสำหรับการกลายพันธุ์ไวรัส



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/M5RjDmUsLFk 

คุณอาจสนใจ

Related News