หมอเห็นแล้วโกรธ...หลุดว่อน เอกสารไม่ฉีด 'ไฟเซอร์' ให้ด่านหน้า ชี้ไม่อยากรับ 'ซิโนแวค' ไร้ประสิทธิภาพ

สังคม

หมอเห็นแล้วโกรธ...หลุดว่อน เอกสารไม่ฉีด 'ไฟเซอร์' ให้ด่านหน้า ชี้ไม่อยากรับ 'ซิโนแวค' ไร้ประสิทธิภาพ

โดย thichaphat_d

5 ก.ค. 2564

695 views

โลกออนไลน์มีการเปิดเผยมติที่ประชุมร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการด้านวิชาการ คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะทำงานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน


โดยมีการแสดงความเห็นในที่ประชุมให้คัดค้านฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรทางการแพทย์ เพราะอาจเป็นการยอมรับว่าซิโนแวค ไม่มีผลในการป้องกันและจะแก้ตัวยากมากขึ้น


โดยคณะกรรมการวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 , คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและคณะทำงานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.64 ที่ผ่านมา โดยวาระในประชุมนั้นคือ พิจารณาการแนวทางการให้วัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์ในไทย


สาระสำคัญของการพิจารณา ไม่เพียงประสิทธิภาพป้องกันที่สูงในกลุ่มอายุน้อยมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะมีข้อมูลผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชาย


ในส่วนข้อเสนอแนวทางพิจารณาการให้วัคซีนไฟเซอร์ คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม จะได้วัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1.5 ล้านโดส และจะได้อีก 20 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยข้อมูลในหน้า 3 ของเอกสารสรุปการประชุม ระบุถึงกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ได้แก่


กลุ่ม 1) บุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี

กลุ่ม 2) กลุ่มเสี่ยงภัยที่ยังไม่ได้รับวัคซีน (ผู้สูงวัย/โรคเรื้อรัง/ผู้หญิงตั้งครรถ์) 

กลุ่ม 3) บุคลากรทางการแพทย์ (HCW-Healthcare workers) ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3)


ที่ประชุมยังได้ให้ข้อเสนอแนวทางวัคซีนไฟเซอร์ โดยแบ่งเป็น

ทางเลือกที่ 1 ให้กลุ่มเป้าหมายบุคคลอายุ 12-18 ปี ในพื้นที่ระบาดหนักอย่างกทม. ปริมณฑล (นนทบุรี,ปทุมธานี,สมุทรปราการ,สมุทรสาคร) 4 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา,นราธิวาส,ยะลา,ปัตตานี) และเมืองเศรษฐกิจอย่างภูเก็ต พังงาและสมุย ซึ่งแนวทางเลือกนี้มีข้อดีที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนเร็วขึ้น แต่ก็มีข้อกังวลต่อการเกิด myocarditis


ทางเลือกที่ 2 ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ได้รับวัคซีน เช่น ผู้สูงอายุ,สตรีตั้งครรถ์,โรคเรื้อรัง ในพื้นที่ที่มีการระบาดในโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยข้อดีสำหรับทางเลือกนี้คือ สร้างภูมิคุ้มกันได้เร็ว,ลดการป่วยรุนแรงกับกลุ่มเป้าหมายนี้และเพิ่มความครอบคลุม แม้จะมีข้อกังวลว่ากลุ่มเป้าหมายจะเลือกวัคซีน


ทางเลือกที่ 3 HCW(Healthcare Worker) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เข็ม 3) ในพื้นที่สถานพยาบาลรัฐ/เอกชนที่รับผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ โดยที่ให้ฉีดกลุ่มนี้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในการรับมือเชื้อกลายพันธุ์และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แนวหน้า แต่มีข้อกังวลในเรื่องไม่เพิ่มการครอบคลุมได้รับวัคซีน


นอกจากนี้ ข้อมูลในข้อที่ 10 ของข้อความเห็น มีหลายเสียงที่ให้มุมมองต่อการให้วัคซีนไฟเซอร์กับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าการฉีดในพื้นที่ระบาดป่วยตายก่อน สนับสนุนฉีดกลุ่ม2 และ3 แต่ 1 ในจำนวนนี้ ระบุว่า “ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงยอมรับว่า Sinovac (วัคซีนหลักที่ไทยใช้อยู่) ไม่มีผลในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น” แต่กระนั้นยังมีข้อเสนอที่ระบุ ควรให้เข็ม 3 กับบุคลากรทางการแพทย์เพราะมีความเสี่ยงสูง


ซึ่งจากเอกสารดังกล่าวที่ปรากฏ ทำให้โลกออนไลน์วิจารณ์เป็นวงกว้าง เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ


นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทวีตต่อกรณีดังกล่าวว่า เห็นรายงานการประชุมกรรมการวิชาการวัคซีนแล้วโกรธมาก คัดค้านการฉีด Pfizer vaccine กระตุ้นเข็มสามให้บุคลากรทางแพทย์ด้วยเหตุผลคือเป็นการยอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น คนพูดเป็นหมอหรือเปล่าครับ คุณทำงานด่านหน้าไหม จิตใจคุณทำด้วยอะไร


ข้อความจากรายงานการประชุมกรรมการ และการนำเอกสารชิ้นนี้หลุดมาถึงสื่อ คาดว่า

1. Comment 8 และ 10 น่าจะมาจากกรรมการที่ powerful มาก เพราะมี comment อื่นสนับสนุนแต่มติเป็นไปทาง 2 comments นี้

2. กรรมการที่ไม่เห็นด้วยคงทนไม่ได้ ยอมเสี่ยงปล่อยเอกสารนี้หลุดมายังสื่อ ขอบคุณมาก ๆ ครับ


ด้าน ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์ กรรมการแพทยสภา อดีตนายกแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เรียน นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ตามที่ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสในเดือนกค.-สค. 64 มานั้น ผมทราบมาว่ามติที่ประชุมของคณะกรรมการที่พิจารณาเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 30 มิย.64 ได้มีผู้เสนอให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ได้วัคซีนซิโนแวคสองเข็มไปแล้วระยะหนึ่งได้รับวัคซีนนี้ แต่ต่อมาที่ประชุมมีมติไม่ให้วัคซีนดังกล่าวแก่บุคลากรทางการแพทย์


ผมมีความเห็นว่าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะได้รับเชื้อรวมทั้งเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญสูงมากในขณะนี้ที่มีภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยทั้งหมด ถ้าหากกำลังคนที่สำคัญในภาวะวิกฤตินี้ติดเชื้อจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก


เพราะการที่คนใดคนหนึ่งในกลุ่มบุคลากรที่กำลังทำหน้าที่เพื่อชดเชยอัตรากำลังคนที่ขาดแคลนอย่างที่สุดในตอนนี้ติดเชื้อจะทำให้มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องถูกกักตัวเนื่องจากเป็นผู้ความเสี่ยงสูงอีกจำนวนมาก ดังที่ได้มีการประกาศปิดห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด หรือทั้งโรงพยาบาลมาเป็นระยะ ๆทำให้ผู้ป่วยและประชาชน มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกทั้งจากโควิดและภาวะฉุกเฉินอื่นๆ


ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อในบุคลกรกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญสูงสุดและจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประคองให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ฉีดวัคซีนดังกล่าวแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ ดูแลผู้ป่วยด้วยครับ ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์ กรรมการแพทยสภา อดีตนายกแพทยสภา



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/_5JKAS0Y7N0

คุณอาจสนใจ

Related News