‘กรรชัย’ ซัก 11 ขวบ ขาขาด รอผลโควิดจนตาย ถือว่าไม่เร่งด่วน? แพทย์แจง แม้ต้องรอผลแต่ห้ามเลือด-ให้น้ำเกลือ รักษาเบื้องต้นแล้ว

สังคม

‘กรรชัย’ ซัก 11 ขวบ ขาขาด รอผลโควิดจนตาย ถือว่าไม่เร่งด่วน? แพทย์แจง แม้ต้องรอผลแต่ห้ามเลือด-ให้น้ำเกลือ รักษาเบื้องต้นแล้ว

โดย JitrarutP

7 มิ.ย. 2564

1.6K views

วันที่ 7 มิ.ย. 64 รายการโหนกระแส พูดคุยกับ พ่อของน้องวัย 11 ขวบ ที่ประสบอุบัติเหตุจนขาขาด นำตัวส่งรพ. แต่รพ.แจ้งว่าให้ตรวจโควิด-19 ก่อน ให้รอผลตรวจก่อนรักษาจนสุดท้ายน้องเสียชีวิต โดยมี นพ.สุระ เจตน์วาที แพทย์เวชศาสตร์การบิน และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, นพ.เอกโชติ พีรธรรมานนท์ รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมให้สัมภาษณ์


คุณเอ็ม พ่อผู้เสียหาย เหตุการณ์เกิดขึ้นวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ขณะกำลังเดินทางจาก ชลบุรี ไป ระนอง เกิดวูบหลับทำให้รถเสียหลักชนเสาไฟฟ้า ลูกสาววัย 11 ปี มีสติ ไม่ร้องไห้ แล้วหันมาบอกตนว่าขาขาด เมื่อถึง รพ. เจ้าหน้าที่ได้ทำแผล ให้เลือด ให้น้ำเกลือ เป็นการเบื้องต้น แต่ยังไม่ได้ทำการผ่าตัดเพราะเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อน


คุณทราย ผู้ติดต่อประสานกู้ภัยฯ เห็นขณะตนขี่จักรยานยนต์อยู่บนถนน เห็นรถคันดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ จึงรีบไปช่วยเหลือและพาไป รพ. และเห็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่บอกให้รอผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 จริง


นพ.สุระ เจตน์วาที แพทย์เวชศาสตร์การบิน และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน น้อง 11 ปี ที่ ถือว่าอยู่ในกลุ่มสีแดง ขาขาด แพทย์ได้ให้การรักษาเบื้องต้น ให้น้ำเกลือ ห้ามเลือด ตามขั้นตอนของผู้ป่วยฉุกเฉิน


นพ.เอกโชติ พีรธรรมานนท์ รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ หลัง “หนุ่ม กรรชัย” ผู้ดำเนินรายการ ตั้งคำถามว่า ผู้ป่วยขาขาดนั้นอาการหนักกว่าถูกยิงหรือไม่ เหตุใดถึงต้องรอผลตรวจโควิด-19 ออกมาก่อนรักษา แพทย์สามารถสวมชุด PPE รักษาไปก่อนได้หรือไม่


โดยให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงนี้ จ.เพชรบุรี มีการระบาดของโควิด-19 เคสดังกล่าวแพทย์ได้เร่งให้การรักษา ทำความสะอาดแผล ห้ามเลือด ทำให้คนไข้ชะลอการเสียเลือดไว้ก่อนแล้ว แต่ต้องรอผลตรวจโควิดเพราะ ทาง รพ. สร้างระบบเพื่อเซฟหน่วยงานให้ปลอดภัย มิเช่นนั้นจะกระทบต่อผู้ป่วยทั้งจังหวัด


ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ทิ้งท้ายว่า ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินจะดูคนไข้เป็นหลัก การส่งโควิด-19 ไปตรวจสามารถทำได้ ทำคู่ขนานกันได้ เรื่องการสื่อสารระหว่าง แพทย์และคนไข้ สำคัญที่สุดแพทย์ต้องรายงานผลให้กับญาติผู้ป่วยเป็นระยะๆ ระหว่างรอผลตรวจก็ต้องดูผู้ป่วยเป็นระยะเช่นกัน


คุณอาจสนใจ

Related News