'ชัยวัฒน์' ยื่นอุทธรณ์คำสั่งปลดออกจากราชการ ลั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่ปกป้องป่ามาทั้งชีวิต

สังคม

'ชัยวัฒน์' ยื่นอุทธรณ์คำสั่งปลดออกจากราชการ ลั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่ปกป้องป่ามาทั้งชีวิต

โดย thichaphat_d

7 พ.ค. 2564

116 views

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอดีตหัวหน้าชุดพญาเสือ เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) อุทธรณ์คำสั่งปลดออกจากราชการ


ยืนยันตนเองคือผู้บริสุทธิ์ การสั่งให้ออกจากราชการ โดยไม่มีการเรียกไปชี้แจง หรือสอบข้อมูลใดๆ เป็นการกระทำอย่างเร่งรีบ และถือว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่ทำงานปกป้องป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติมาตลอดชีวิต ที่สำคัญยังมีคดีความเกี่ยวกับทรัพยากรป่า ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องดำเนินการอีกกว่า 500 คดี


นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และอดีตหัวหน้าชุดพญาเสือ พร้อมด้วยนายพรชัย พฤกษ์ชัยเลิศ ทนาย เดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม(ก.พ.ค.) เพื่อยื่นหนังสือของอุทธรณ์ และ ทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการ อ.ก.พ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีคำสั่งปลอดออกตากราชการตามที่ ป.ป.ท.ชี้มูลความผิดทางอาญามาตรา 157 โดยให้เหตุผลว่านายชัยวัฒน์ เผาบ้านเรือนของกะเหรี่ยงบางกลอย


ซึ่งนายชัยวัฒน์ มองว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม การพิจารณาให้ออกจากราชการของ อ.ก.พ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กระทำการอย่างเร่งรีบ ไม่มีการเรียกตนเองมาสอบถามข้อเท็จจริง ดังนั้นจึงเข้ายื่นหนังสือของความเป็นธรรมในวันนี้ใน 2 ประเด็น คือ


การอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ และการขอทุเลาคำสั่ง ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม(ก.พ.ค.) ให้กลับเข้าไปรับราชการตามเดิม เนื่องจากยังมีคดีความในฐานะข้าราชการกรมอุทยานฯที่ต้องดำเนินการอีกกว่า 500 คดี คดีเพิ่งจะเสร็จสิ้นไปเพียง 60 กว่าคดี ยังเหลืออีกกว่า 400 กว่า หากตนเองไม่ได้ทำหน้าที่ต่อสู้คดี อาจส่งเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่ถูกบุกรุก


ทั้งนี้นายชัยวัฒน์ ได้ยื่นหนังสือสรุปข้อเท็จจริง ให้คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(ก.พ.ค.) ได้เห็นข้อเท็จจริงใน 4 ประเด็นหลัก คือ


1.ตามคำฟ้องศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คนอ้างว่าอาศัยอยู่พื้นที่ใจแผ่นดินและบางกลอนบน ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ขนาดเท่ากับพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามทั้งจังหวัด แต่ไม่ได้ระบุว่าเพิงพักของผู้ฟ้องคดีทั้งหกคนอยู่ที่ใด หรืออยู่ทิศใด ใกล้เคียงกับภูมิประเทศของใจแผ่นดิน หรือพิกัดส่วนใดที่มีการปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ตะนาวศรี คำกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นการกล่าวอ้างเลื่อนลอย เคลือบคลุม ไม่มีจุดหมาย ไม่รู้จุดเกิดเหตุที่มีการเผาเพิงพักอยู่ที่ใด โดยนายชัยวัฒน์ ไม่มีโอกาสชี้แจงในคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากนายชัยวัฒน์ มิได้เป็นผู้ถูกฟ้องเพราะเป็นการฟ้องกรมอุทยานฯและกระทรวงทรัพย์ฯ จึงไม่ได้นำข้อดท็จจริงและพยานหลักฐานมาชี้แจงได้


2.ผู้ฟ้องคดีทั้ง6คน ให้การขัดแย้งกันเองไม่น่าเชื้อถือ โดยอ้างว่าทั้ง 6 คนอาศัยอยู่พื้นที่ใจแผ่นดิน และบางกลอยบน แต่คำให้การของผู้ฟ้องทั้ง6 คนต่อศาลปกครองกลาง หน้าที่ 10 เคยให้การไว้ว่า "ผู้ฟ้องคดีทั้งหกคนตั้งบ้านเรือนและทำกินในป่าแก่งกระจาน แต่ต่อมาผู้ฟ้องทั้ง 6 คน กลับให้การขัดแย้งแตกต่างไปจากที่ฟ้อง ผู้ฟ้องที่ 1 อยู่บริเวณต้นน้ำเพชร ใกล้ลำห้วยบายีปุ - บายี่โป่ง ผู้ฟ้องคดีที่ 2 อยู่บริเวณต้นน้ำเพชร ใกล้กับลำห้วยที้โพ้ปี - ห้วยน้องเมีย - กระกลอง


ผู้ฟ้องที่ 3 อยู่บริเวณต้นน้ำเพชร ใกล้ลำห้วยเต่าดำ ผู้ฟ้องที่ 4 และ 5 อยู่บริเวณต้นน้ำเพชร ใกล้ลำห้วยสะโคละเลาะ - ห้วยหอย และผู้ฟ้องคดีที่ 6 อยู่บริเวณต้นน้ำเพชร ใกล้ลำห้วยก้าแม้ - ห้วยงาแยก ซึ่งบริเวณที่ทั้ง 6 กล่าวอ้างไม่ใช่พื้นที่ใจแผ่นดิน-บางกลอยบน แต่เป็นห้วยสามแพร่ง ที่เป็นบ้านนายหน่อแอะ มีมิ ที่ถูกจับอาวุธปืน หากเดินเท้าจากห้วยสามแพร่งไปยังใจแผ่นดินต้องใช้ เวลา 3-4 วัน ซึ่งเป็นคนละพื้นที่กัน


3. ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งของผู้ฟ้อง ที่อ้างว่าบ้านหรือเพิงพักถูกเผาช่วง 5-9 พฤษภาคม 2554 แต่ผู้ฟ้องคดีที่ 2-4 ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน พร้อมนางมินอ รักเจริญ ตามเอกสารท้ายอุทธรณ์หมายเลขที่ 42 และคลิปสัมภาษณ์ บุคคลทั้ง 3 ให้การว่า "บ้านหรือเพิงพัก ถูกเจ้าหน้าที่เผา ทำลาย หลังจากได้เกี่ยวข้าวเดือนตุลาคม 2554 เสร็จแล้วผ่านไป 1 เดือน ย่อมหมายถึงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม 2554 คำให้การดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ว่าเพิงพักของผู้ฟ้องคดีทั้งหกอยู่ที่พื้นที่ใจแผ่นดินและบางกลอยบน และถูกเผาวันที่ 5-9 พฤษภาคม 2554 ตามที่กล่าวอ้าง


4. ไม่มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานใดพิสูจน์ได้ว่าเพิงพักของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 มีอยู่จริงหรือไม่ อยู่ที่ใด ถูกเผาจริงเมื่อใด อย่างไร และใครเป็นคนเผาหรือได้รับคำสั่งจากใครให้เผา


ซึ่งในคดีนี้ ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า วันที่ 19 ตุลาคม 2558 นายคออี้ มิมิ ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ ตนเองในฐานะหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แก่งกระจาน ให้ดำเนินคดีข้อหาวางเพบิงเผาทรัพย์ โดยพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมด ว่า" เพิ่งพักของผู้ฟ้องคดีทั้ง6มีอยู่จริงหรือไม่ อยู่ที่ใด ถูกเผาจริงหรือไม่ เมื่อไร และใครเป็นคนเผาหรือได้รับคำสั่งให้เผา


ทั้งนี้ ป.ท.ท. รู้ข้อเท็จจริงมาแต่ต้นแล้วว่าไม่เคยมีใครเข้าตรวจสอบพื้นที่ ไม่มีการนำผู้เสียหายไปชี้ที่เกิดเหตุ ไม่มีการระบุพิกัด ไม่มีภาพถ่ายประกอบที่เกิดเหตุ ไม่มีการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง ไม่นำหน่วยพิสูจน์หลักฐานเก็บหลักฐาน ซึ่งเป็นสาระสำคัญต้องพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา จึงยังเป็นข้อสงสัยที่ไม่มีข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติรับฟังได้


แต่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กลับมีคำสั่งให้ออกจากราชการ ทั้งที่ไม่เคยเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ ไม่มีการชี้จุด ไม่ทำแผน ไม่ระบุพิกัด


ทั้งที่ตนเองรับสนองแผ่นดินมากว่า 30 ปี ไม่เคยทุจริต แต่ ป.ป.ท. กลับใช้เพียงข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความเสนอ

คุณอาจสนใจ

Related News