จุฬาฯพัฒนาอวัยวะเทียมให้เหมาะสมกับคนไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

สังคม

จุฬาฯพัฒนาอวัยวะเทียมให้เหมาะสมกับคนไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

โดย panwilai_c

10 เม.ย. 2564

117 views

ตัวอย่างแผ่นอวัยวะเทียมจากวัสดุไทเทเนียม ที่ผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ซึ่งถูกนำมาใช้ทดแทนกระดูกบริเวณกะโหลกศีรษะ เป็นผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์จากภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกระบวนการการผลิตกระดูกเทียม ไม่เพียงมีความแข็งแรง ออกแบบด้วยความแม่นยำสูง เข้ากับการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับสรีระของผู้ป่วยแต่ละบุคคลแล้ว แต่ยังมีส่วนช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง


นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก ผลงานจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อวัยวะเทียมที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติในการเคลื่อนไหวมากกว่าเท้าเทียมที่ผลิตจากไม้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากประเทศเยอรมนี นำไปทดลองใช้จริงกับผู้ป่วยได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ยืนยันความสำเร็จได้จากผู้ป่วยรายหนึ่งที่สูญเสียอวัยวะตั้งแต่อายุ 20 ปี สามารถกลับมาเดินวิ่งได้อย่างคนปกติทั่วไปในรอบ 40 ปี


ผศ.ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาอวัยวะเทียมต้องนำเข้าเท่านั้น ซึ่งมีราคาสูงและขนาดอาจไม่เหมาะกับสรีระของคนไทย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นการช่วยยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/gTsdCRC2Vcc

คุณอาจสนใจ

Related News