คุณต้องการล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด?
13 ชม. ที่ผ่านมา
79 view
14 ชม. ที่ผ่านมา
33 view
15 ชม. ที่ผ่านมา
389 view
15 ชม. ที่ผ่านมา
495 view
15 ชม. ที่ผ่านมา
969 view
15 ชม. ที่ผ่านมา
23 view
16 ชม. ที่ผ่านมา
211 view
16 ชม. ที่ผ่านมา
777 view
16 ชม. ที่ผ่านมา
250 view
16 ชม. ที่ผ่านมา
52.3K view
16 ชม. ที่ผ่านมา
1.3K view
01 ธ.ค. 2563
1.1K view
ออกอากาศ: ช่อง 33 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 05.30 - 08.00 น.
วันที่ 30 พ.ย. เปิดไทม์ไลน์ 2 หญิงไทย จ.เชียงราย อายุ 23 ปี และ 26 ปี ที่พบติดโควิด-19 เพิ่ม พบทำงานที่สถานบันเทิงใน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เมื่อรู้ว่าหญิงเชียงใหม่ วัย 29 ปี ซึ่งเป็นเพื่อนติดโควิด-19 จึงลักลอบกลับไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ และต่อมาพบว่าติดโควิด-19 เช่นเดียวกัน
โดยที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป แถลงความคืบหน้าการติดตามผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 กรณีพบเชื้อโควิด-19 ใน 2 หญิงไทย จ.เชียงราย ที่เดินทางกลับจากประเทศเมียนมา
กรณีที่ 2 รายนี้ ไม่กักโรค 14 วัน มีโอกาสที่จะแพร่เชื้อขนาดไหน นพ.โสภณ ระบุว่า หากดูช่วงเวลาที่ 2 รายนี้ อยู่ใน จ.เชียงราย โอกาสการแพร่เชื้อค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีคนเกี่ยวข้อง ในกลุ่มความเสี่ยงสูงไม่มากนัก และส่วนใหญ่อยู่ในที่พัก แต่ต้องไม่ประมาท คนที่เกี่ยวข้องต้องกักตัว 14 วัน แต่เมื่อเทียบกับรายหญิงไทย อายุ 29 ปี จ.เชียงใหม่ ที่ติดเชื้อก่อนหน้านี้ รายนี้มีความเสี่ยงสูงมากกว่า เนื่องจากมีผู้สัมผัสกว่าร้อยคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งกรณีพบผู้ป่วยโควิด-19 คนไทยที่ลักลอบเข้าประเทศมาจากเมียนมา จำนวน 3 ราย ที่เชียงใหม่และเชียงราย ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ (super spreader) หรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วการจะเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์นั้น จะมี 2 ทาง คือ ต้องมีเชื้อมาก และอยู่ในที่มีความเสี่ยงแพร่เชื้อ เช่น รถบัส สถานบันเทิง เป็นต้น
แต่กรณีเคสเชียงใหม่ที่ไปสถานบันเทิง จากการตรวจสอบยังไม่พบเชื้อ ซึ่งการจะเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์จะมีการแพร่เชื้อจนมีการติดต่อโรค 10 รายขึ้นไป ขณะที่ จ.เชียงใหม่ ไม่มีหลักฐานว่าเข้าข่ายซูเปอร์สเปรดเดอร์ แต่พฤติกรรมถือว่ามีความเสี่ยงเกิดซูเปอร์สเปรดดิ้ง อีเวนท์ (superspreading event)
เมื่อถามว่าการลักลอบเข้าเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค มีความผิดอย่างไร นพ.โสภณ กล่าวว่า โดยปกติการเข้าเมืองจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์การระบาดโควิด-19 (ศบค.) คือ 1.ตรวจร่างกายและตรวจหาเชื้อก่อนเดินทางเข้ามาในประเทศ เช่น Fit to Fly 2.มีใบอนุญาตจากสถานทูต 3.กำหนดสถานที่ วันและเวลาในการเข้าพักกันกันโรค
ดังนั้น การเข้ามาโดยลักลอบ จะผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ข้อกำหนดการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ (พ.ร.ก.) ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ เนื่องจากไม่ได้รายงานตัวก่อนเข้ามาในประเทศ ในกรณีนี้ไม่ได้เป็นการจงใจแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการลักลอบเข้ามาในประเทศ
ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/m5pgHcNXZ84