เสียงสะท้อนชาวบ้านคลิตี้ หลังสารตะกั่วรั่วจากเหมืองสู่สายน้ำ 22 ปีผ่านไปยังฟื้นฟูไม่สำเร็จ

สังคม

เสียงสะท้อนชาวบ้านคลิตี้ หลังสารตะกั่วรั่วจากเหมืองสู่สายน้ำ 22 ปีผ่านไปยังฟื้นฟูไม่สำเร็จ

โดย

27 ก.ย. 2563

1.3K views

ปัญหาคุณภาพชีวิตชาวบ้านคลิตี้ จ.กาญจนบุรี มักถูกพูดถึงหลายครั้งเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาห้วยคลิตี้ ที่เป้นลำน้ำสายสำคัญของชุมชน ที่สารตะกั่วรั่วไหลมาจากโรงแต่งแร่ตะกั่ว แม้คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ปี 56 จะเป้นบรรทัดฐานใหม่ในแง่ที่ว่า ผู้กระทำให้เกิดมลพิษ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กลับสู่สภาพแวดล้อมเดิม เสียงสะท้อนจากชาวบ้าน ว่า เมื่อใช้ประโยชน์จากลำห้วยไม่ได้ ต้นทุนการดำรงชีพยิ่งสูงขึ้น และไม่ได้มีส่วนร่วมมากนักในแผนฟื้นฟู
สารคดีที่มีชื่อว่า สายน้ำติดเชื้อ ชื่อภาษาอังกฤษว่า By the river ถูกนำมาฉายให้ผู้ร่วมเวทีเสวนาได้รับชม ในระหว่างการเสวนาเมื่อบ่ายวันนี้ ประเด็น "หลายปีผ่านไป สายน้ำ ยังติดเชื้อ" โดยสะท้อนถึงการปนเปื้อนตะกั่ว หมู่บ้านกะเหรี่ยงคลิตี้ กาญจนบุรี และเวทีเสวนาวันนี้ เป็นหนึ่งในหลายประเด็นของกิจกรรม สุดสัปดาห์แม่โขงอาเซียน 2020 สิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และชีวิตที่โยงใยกันในภูมิภาค 
ชลาลัย นาสวนสุวรรณ ตัวแทนเยาวชนบ้านคลิตี้ล่าง คือหนึ่งในผู้สะท้อนปัญหา จากที่ครอบครัวแบกรับความเดือดร้อน ผลกระทบจากโรงแต่งแร่ตะกั่ว จากรุ่นพ่อ ถึงรุ่นลูก โดยสิ่งที่ชลาลัยสะท้อน คือคุณภาพชีวิตคนที่นั่นเปลี่ยนไปสิ้นเชิง เมื่อลำห้วยใช้ไม่ได้ น้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำในแปลงผัก หรือผักธรรมชาติริมห้วย ก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน ทุกอย่างกลายเป็นต้นที่สูงขึ้น 
หนึ่งในประเด็นที่ชลาลัยย้ำวันนี้ ว่าแผนการฟื้นฟูตามคำสั่งศาลชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมมากนัก ทั้งที่เป็นผู้ต้องได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าการฟื้นฟูจะสำเร็จ หรือล้มเหลว ชาวบ้านก็ต้องแบกรับท
ผู้อำนวยการส่วนน้ำเสียชุมชน กรมควบคุมมลพิษ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาวันนี้ ระบุว่ามีหลายกลไกและแนวทางที่เจ้าหน้าที่รัฐ พยายามจะเข้าไปแก้ปัญหาให้ตรงจุด และตรงความต้องการชาวบ้านมากที่สุด โดยจะเห็นว่าคณะกรรมการแก้ปัญหาทุกชุด มีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมด้วยทุกชุดเช่นกัน แต่ขั้นตอนของบริษัทเอกชน ที่รับผิดชอบบางช่วงก็ล่าช้า ซึ่งกรมได้กำชับไปแล้ว
นายชยาวีร์ สะท้อนข้อกฎหมายบางประการว่า ในหลายๆประเทศ กำหนดแนวทางฟื้นฟูชัดเจน กรณีมีสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งปนเปื้อน รวมถึงกำหนดให้กิจการที่จะมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมต้องซื้อประกัน หรือวางเงินประกัน และกำหนดให้ใช้ฟื้นฟูได้ทันทีหากเกิดปัญหา
ขณะผู้ร่วมเสวนาจากกลุ่มดินสอสี รวมถึงสื่อมวลชนที่ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดสะท้อนว่า กรณีบ้านคลิตี้ ควรจะเป็นทั้งบทเรียนและแบบอย่างได้ ให้โครงการอื่นๆ ที่รัฐ พิจารณาหรือจะอนุมัติว่า การป้องกันควรจะเข้างวดและสำคัญมากกว่าแผนที่จะมาฟื้นฟูในภายหลัง ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นเรื่องยากที่เมื่อเกิดผลกระทบแล้ว จะฟื้นฟูให้ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมโดยรวม กลับไปเหมือนเดิมได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ